“Chewing Ice” พฤติกรรมการเคี้ยวน้ำแข็ง อันตรายหรือไม่ ?
logo ข่าวอัพเดท

“Chewing Ice” พฤติกรรมการเคี้ยวน้ำแข็ง อันตรายหรือไม่ ?

ข่าวอัพเดท : ในประเทศไทยที่มีเพียงฤดูร้อนเพียงฤดูเดียวนั้น เชื่อว่าหลาย ๆ คนต้องชอบ “การเคี้ยวน้ำแข็ง” แน่ ๆ เพราะด้วยความเย็น และสัมผัสที่กรุบกร ปัญหาช่องปาก,เคี้ยวน้ำแข็ง,บทความสุขภาพ,ปัญหาสุขภาพ

68,545 ครั้ง
|
13 ก.ย. 2567

ในประเทศไทยที่มีเพียงฤดูร้อนเพียงฤดูเดียวนั้น เชื่อว่าหลาย ๆ คนต้องชอบ “การเคี้ยวน้ำแข็ง” แน่ ๆ เพราะด้วยความเย็น และสัมผัสที่กรุบกรอบ ที่ช่วยให้สดชื่น หืมมม…ฟินนน

การเคี้ยวน้ำแข็งถือเป็นพฤติกรรมที่หลายคนทำเพื่อความรู้สึกสดชื่นหรือคลายเครียด แต่การเคี้ยวน้ำแข็งมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายในหลาย ๆ ด้าน วันนี้เราจะพามาดูกันว่ามีอะไรบ้าง

ปัญหาทางด้านสุขภาพฟัน

การเคี้ยวน้ำแข็งเป็นพฤติกรรมที่อาจทำให้เกิดความเสียหายต่อฟัน เช่น การแตกหักของฟัน การทำลายสารเคลือบฟัน และอาการเหล่านี้ก่อให้เกิดอาการปวดฟันหรือปัญหาสุขภาพเหงือกได้

การเสี่ยงต่อปัญหาทางเดินอาหาร

การเคี้ยวหรือกินน้ำแข็ง อาจเสี่ยงมีอาการท้องเสีย ท้องร่วงได้ เนื่องจากน้ำแข็งอาจมีเชื้อโรคปนเปื้อนระหว่างการผลิตและการขนส่ง นอกจากนี้การกินน้ำแข็งที่มีขนาดใหญ่มากเกินไปหรือการเคี้ยวอย่างรุนแรง อาจทำให้เกิดการบาดเจ็บในปาก ลำคอและกล่องเสียงได้

การเสี่ยงต่อสภาวะขาดสารอาหาร

การเคี้ยวน้ำแข็งบ่อย ๆ สามารถนำไปสู่การเสพติดได้ หากเคี้ยวน้ำแข็งบ่อย ๆ จนเกิดอาการเสพติดจะทำให้เรามีสภาวะขาดสารอาหารที่จำเป็นต่อร่างกาย เพราะน้ำแข็งไม่มีสารอาหารใด ๆ

สัญญาณโรคแทรกซ้อน

การเคี้ยวน้ำแข็งบ่อย ๆ เป็นสัญญาณปัญหาสุขภาพที่ซับซ้อน เช่น ภาวะการขาดธาตุเหล็ก (iron deficiency anemia) ซึ่งมักทำให้เกิดความรู้สึกอยากเคี้ยวน้ำแข็ง

หากใครที่มีปัญหาการชอบเคี้ยวน้ำแข็งเป็นชีวิตจิตใจ ควรรีบไปพบแพทย์เพื่อตรวจร่างกายอย่างละเอียด เพราะอาจมีปัญหาสุขภาพอื่น ๆ แทรกซ้อนได้

 

อ้างอิง https://www.chiangmai-hospital.com/th/knowledges/chewing-ice-is-more-dangerous-than-you-think