ทำไมเราถึงนอนกรน? ค้นหาสาเหตุและวิธีจัดการ เพื่อการนอนหลับที่ดีขึ้น
logo ข่าวอัพเดท

ทำไมเราถึงนอนกรน? ค้นหาสาเหตุและวิธีจัดการ เพื่อการนอนหลับที่ดีขึ้น

ข่าวอัพเดท : เชื่อว่าหลาย ๆ คนต้องเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการนอนกรน ซึ่งการนอนกรนเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในสังคมปัจจุบัน และอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพก นอนกรน,อันตรายของการนอนกรน,ปัญหาสุขภาพ,ปัญหาการนอน,ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ

24,601 ครั้ง
|
13 ก.ย. 2567

เชื่อว่าหลาย ๆ คนต้องเคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับการนอนกรน ซึ่งการนอนกรนเป็นปัญหาที่พบได้ทั่วไปในสังคมปัจจุบัน และอาจมีผลกระทบต่อคุณภาพการนอนหลับของทั้งตัวเองและคนรอบข้าง

แม้ว่าหลายคนจะมีอาการนอนกรน จนเหมือนเป็นเรื่องปกติ แต่อาการนอนกรนถือเป็นภาวะที่ไม่ควรมองข้าม โดยเฉพาะรายที่มีอาการมาก นอนทีไรเป็นต้องกรนทุกที ยิ่งไปกว่านั้น หากการนอนกรนที่เป็นอยู่ มีภาวะหยุดหายใจขณะหลับร่วมด้วย ควรได้รับการรักษาอย่างถูกวิธี เนื่องจากจะส่งผลเสียต่อร่างกายได้ในระยะยาวได้

สาเหตุของการนอนกรน

  • มีไขมันในช่องคอมากทำให้ช่องทางเดินหายใจตีบแคบ
  • น้ำหนักตัวเกินกว่าเกณฑ์มาตรฐาน ซึ่งวัดได้จากค่าดัชนีมวลกาย (BMI)
  • มีก้อนในช่องทางเดินหายใจ เช่น ต่อมทอนซิล หรือต่อมอะดีนอยด์โต
  • สาเหตุทางกรรมพันธุ์ หากมีคนในครอบครัว เช่น พ่อ แม่ นอนกรน ลูกก็จะมีความเสี่ยงที่จะนอนกรนและมีภาวะหยุดหายใจขณะหลับสูงกว่าคนปกติ
  • ดื่มเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์เป็นประจำ ก็ทำให้กล้ามเนื้อหย่อนได้
  • ความเหนื่อยที่สะสมในแต่ละวัน
  • มีช่องคอที่แคบโดยกำเนิด หรือมีโครงหน้าที่เป็นอุปสรรคต่อทางเดินหายใจ เช่น คางสั้น โคนลิ้นใหญ่ ช่องจมูกคด

นอนกรนอันตรายไหม ?

อาการนอนกรนนั้น ทางการแพทย์สามารถแบ่งออกได้เป็น 2 ประเภทหลัก ๆ คือ นอนกรนแบบธรรมดา และการนอนกรนแบบอันตราย

  • นอนกรนแบบธรรมดา คือ การนอนกรนประเภทที่มีแต่เสียงดังน่ารำคาญ แต่ไม่ได้เกิดผลเสียร้ายแรงต่อร่างกาย เกิดจากการตีบแคบของช่องทางเดินหายใจเพียงบางส่วน แต่ไม่ได้ปิดสนิททั้งหมด ดังนั้นยังมีอากาศไหลผ่านเข้าสู่ร่างกายเราได้ ซึ่งมีผลคือความรำคาญต่อผู้ที่นอนร่วมห้องด้วยเท่านั้น หรืออย่างมากอาจมีอาการคอแห้งตอนตื่นมาได้ครับ
  • นอนกรนแบบอันตราย คือ ภาวะนี้จะเรียกว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับชนิดอุดกั้น หรือส่วนมากจะนิยมเรียกกันง่าย ๆ ว่า ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือ OSA จะส่งผลให้เกิดภาวะแทรกซ้อนที่เสี่ยงต่อการเสียชีวิตได้

การแก้ไขปัญหาการนอนกรนเบื้องต้น

ปรับพฤติกรรมการใช้ชีวิต ช่วยป้องกันหรือบรรเทาอาการนอนกรนได้

  • ออกกำลังกายเป็นประจำ แต่พยายามเลือกเวลาให้ห่างจากช่วงก่อนนอน
  • นอนหลับให้เป็นเวลาจนติดเป็นนิสัย และควรนอนให้ได้อย่างน้อย 6 ชั่วโมง
  • รับประทานอาหารว่างเล็กน้อยก่อนนอน แต่ไม่ควรรับประทานอาหารหนัก
  • งดชา กาแฟ บุหรี่ ในช่วงบ่าย
  • หลีกเลี่ยงเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ ยากล่อมประสาท การใช้ยานอนหลับ เพราะมีผลต่อความตึงตัวของกล้ามเนื้อ จะกระทบอาการนอนกรนมากขึ้นได้
  • คุมอาหาร ลดน้ำหนัก โดยเฉพาะในกลุ่มที่มีภาวะอ้วน หรือมีค่า BMI เกินมาตรฐาน เพราะมวลไขมันที่เพิ่มขึ้นอาจทำให้เกิดการตีบลงของอวัยวะในช่องคอได้
  • ปรึกษาแพทย์ทันทีเมื่อมีปัญหาเกี่ยวกับการนอนหลับ

การนอนกรนอาจเป็นปัญหาที่ทำให้คุณภาพการนอนหลับลดลง และอาจส่งผลกระทบต่อสุขภาพและความสัมพันธ์ของคุณการเข้าใจสาเหตุและการจัดการปัญหานี้ด้วยวิธีที่เหมาะสมสามารถช่วยให้คุณและคนรอบข้างมีการนอนหลับที่ดีขึ้นและสุขภาพที่ดีขึ้นได้

แต่หากคุณพบว่าการนอนกรนเป็นปัญหาที่ส่งผลกระทบต่อชีวิตประจำวันของคุณการปรึกษาแพทย์หรือผู้เชี่ยวชาญด้านการนอนหลับเป็นทางเลือกที่ดีในการหาวิธีการรักษาที่เหมาะสม

อ้างอิง

https://www.nksleepcenter.com/snoring-sleep-apnea/

https://www.vitalsleepclinic.com/sleep-snoring-treatment/

https://www.bkksleepcenter.com/snoring/

https://www.petcharavejhospital.com/th/Article/article_detail/Snoring