เคี้ยวน้ำแข็ง เสี่ยงฟันแตกและปัญหาสุขภาพในอนาคต
logo ข่าวอัพเดท

เคี้ยวน้ำแข็ง เสี่ยงฟันแตกและปัญหาสุขภาพในอนาคต

ข่าวอัพเดท : ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอาการร้อนยิ่งช่วงนี้ที่เป็นฤดูร้อน เรามักหาเครื่องดื่มที่เย็นชื่นใจมาดับความร้อนให้กับร่างกาย โดยเครื่องดื่ม เคี้ยวน้ำแข็ง,น้ำแข็ง,ฟันแตก

8,953 ครั้ง
|
22 เม.ย. 2567

ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีอาการร้อนยิ่งช่วงนี้ที่เป็นฤดูร้อน เรามักหาเครื่องดื่มที่เย็นชื่นใจมาดับความร้อนให้กับร่างกาย โดยเครื่องดื่มบางชนิดจะมาพร้อมกับน้ำแข็งเมื่อดื่มน้ำจนหมดบางคนยังเอาก้อนน้ำแข็งมาเคี้ยวต่อจนกลายเป็นนิสัย แต่รู้หรือไม่การเคี้ยวน้ำแข็งส่งผลเสียให้กับร่างกายได้หลายทางเลยทีเดียว

การเคี้ยวน้ำแข็งเป็นหนึ่งในวิธีการแสดงออกเพื่อสนองความต้องการของตนเอง หรือทำเพื่อคลายเครียดของผู้ที่มีอาการทางจิตบางชนิด เช่นเดียวกับอาการดึงผม กัดเล็บ การเสพติดการเคี้ยวน้ำแข็งมีชื่อเรียกทางการแพทย์ว่า Pagophagia มีรากศัพท์มาจากภาษากรีก คือ Pagos แปลว่าน้ำแข็ง และ Phago แปลว่ากิน

อาการเบื้องต้นของโรคติดน้ำแข็ง ได้แก่ อยากกัดน้ำแข็งตลอดเวลา ผิวเริ่มซีด เล็บเปราะบาง ใบหน้าและลิ้นบวม ร่างกายรู้สึกไม่มีเรี่ยวแรง เจ็บหน้าอก หายใจถี่ขึ้น วิงเวียนศีรษะ มือและเท้ารู้สึกชา เย็น รวมทั้งอาจมีอาการตะคริวร่วม

นิสัยการเคี้ยวน้ำแข็งส่งผลโดยตรงกับช่องปาก เช่น เหงือกอักเสบ ฟันแตก ฟันบิ่น ทำลายเคลือบฟันทำให้ฟันผุได้ง่ายขึ้น ซึ่งหากฟันเกิดการแตกหรือผุแล้วไม่ได้รับการรักษาก็จะส่งผลไปสู่รากฟันในที่สุด

นอกจากนี้ยังสามารถส่งผลถึงปัญหาทางสุขภาพจิต เช่น ความเครียด พฤติกรรมย้ำคิดย้ำทำ หรือพัฒนาการผิดปกติในเด็ก ซึ่งหากพบอาการแทรกซ้อนเหล่านี้ให้เข้าพบแพทย์ทันที การเคี้ยวน้ำแข็งมีงานวิจัยว่าเป็นหนึ่งในพฤติกรรมของผู้ป่วยโลหิตจางจากการขาดธาตุเหล็ก สำหรับคนที่ตั้งครรภ์อยู่ อาจส่งผลอันตรายต่อเด็กทารก เพราะการขาดสารอาหารจะส่งผลกระทบกับแม่ของเด็กและไปถึงเด็ก อาจทำให้มีความเสี่ยงคลอดก่อนกำหนด

วิธีแก้พฤติกรรมการเคี้ยวน้ำแข็ง
1.ค่อย ๆ ลดขนาดของน้ำแข็งและความถี่ในการเคี้ยว
2.เปลี่ยนประเภทของน้ำแข็งให้เป็นน้ำแข็งเกล็ดหิมะแทนเพื่อสัมผัสที่อ่อนนุ่มกว่า
3.ค่อย ๆ เปลี่ยนจากการเคี้ยวน้ำแข็ง ไปเคี้ยวอย่างอื่นที่มีลักษณะคล้ายกันแทน เช่น แตงกวา แอปเปิ้ล แครอท ซึ่งมีประโยชน์กับร่างกายมากกว่า

ที่มา : Hello คุณหมอ, Colgate, TDH Dental

ข่าวที่เกี่ยวข้อง