“โรคอ้วน” สาเหตุและผลกระทบต่อสุขภาพ น้ำหนักเท่าไหร่ถึงเรียกว่าอ้วน ?
logo ข่าวอัพเดท

“โรคอ้วน” สาเหตุและผลกระทบต่อสุขภาพ น้ำหนักเท่าไหร่ถึงเรียกว่าอ้วน ?

ข่าวอัพเดท : ที่เราพูดกันว่า “อ้วน” แท้จริงแล้วเราอ้วนจริงไหม ? เท่าไหร่ถึงจะเลี่ยงว่าอ้วน เพราะส่วนใหญ่เรามักจะวัดกันที่รูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้นท โรคอ้วน,อ้วน,BMI,ค่าดัชนีมวลกาย

37,346 ครั้ง
|
11 ต.ค. 2567

ที่เราพูดกันว่า “อ้วน” แท้จริงแล้วเราอ้วนจริงไหม ? เท่าไหร่ถึงจะเลี่ยงว่าอ้วน เพราะส่วนใหญ่เรามักจะวัดกันที่รูปลักษณ์ภายนอกเท่านั้นทำให้เกณฑ์การตัดสินของคำว่าอ้วนในแต่ละคนไม่เท่ากัน โดยที่เราไม่รู้ค่าดัชนีมวลกายของตนเอง และอาจจะไม่ทราบถึงปัญหาของโรคอ้วนที่กำลังจะเกิดขึ้นอีกด้วย

องค์กรอนามัยโลกได้ให้คำนิยามของคำว่าความอ้วน หรือ โรคอ้วนไว้ว่า เป็นปัจจัยเสี่ยงหรือเป็นสาเหตุให้เกิดโรคที่ส่งผลต่อสุขภาพ ความเจ็บป่วย และอาจะเป็นเหตุให้เสียชีวิตได้

ค่าดัชนีมวลกายBody Mass Index (BMI) = น้ำหนักตัว [กิโลกรัม] ÷ ส่วนสูง [เมตร] ยกกำลังสอง ยกตัวอย่างเช่น ผู้หญิง น้ำหนัก 65 กิโลกรัม ส่วนสูง 155 เซนติเมตร = 65 ÷ [1.55 x 1.55] ดัชนีมวลกาย (BMI) = 27.05

< 18.5 = น้ำหนักน้อย

18.5 – 24.9 = น้ำหนักปกติ

25 – 29.9 = น้ำหนักเกิน

30 – 34.9 = โรคอ้วนระดับที่ 1

35 – 39.9 = โรคอ้วนระดับที่ 2

40 = โรคอ้วนระดับที่ 3 หรือ โรคอ้วนทุพพลภาพ

ข่าวอัพเดท : “โรคอ้วน” สาเหตุและผลกระทบต่อสุขภาพ

รูปภาพจาก : งานสื่อสารองค์กร ศุนย์การแพทย์กาญจนาภิเษก

โรคอ้วนทำให้เกิดโรคความดันโลหิตสูง, ภาวะไขมันในเลือดผิดปกติ, โรคเบาหวาน, โรคหัวใจและหลอดเลือด, โรคไตเรื้อรัง, โรคมะเร็ง (มะเร็งเยื่อบุมดลูก, รังไข่, มะเร็งเต้านม, มะเร็งลำไส้) ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ, กรดไหลย้อน, โรคข้อเข่าเสื่อม, โรคประจำเดือนผิดปกติ

การรักษาโรคอ้วน การควบคุมน้ำหนักตัว ด้วยการหลีกเลี่ยงเครื่องดื่มที่มีปริมาณน้ำตาลหรือแอลกอฮอล์สูง กินอาหารแต่ละมื้อให้ปริมาณลดลง ค่อยๆ ลดโดยเฉพาะอาหารประเภทแป้งและไขมัน เพิ่มอาหารประเภทเส้นใย เช่น ผักและผลไม้ที่ไม่หวาน , ไม่กินจุกจิก เคลื่อนไหวร่างกายในชีวิตประจำวันให้มากขึ้น เช่น ใช้บันไดแทนลิฟต์ พยายามออกกำลังกายทุกวันอย่างน้อย 30 นาที ตรวจร่างกายเพื่อดูว่ามีโรคแทรกซ้อนที่เกิดจากความอ้วนหรือยัง เช่น เบาหวาน , ไขมันในเลือดสูง หรือการใช้ยาเพื่อลดน้ำหนักตัว

อ้างอิง

https://www.gj.mahidol.ac.th/main/knowledge-2/morbid-obesity/

https://www.ram-hosp.co.th/news_detail/2187