อย. เผย 'อังกฤษ' พบเด็กป่วยอื้อหลังเจอเชื้ออันตรายจากช็อกโกแลต ไทยยันไม่พบการนำเข้า
logo ข่าวอัพเดท

อย. เผย 'อังกฤษ' พบเด็กป่วยอื้อหลังเจอเชื้ออันตรายจากช็อกโกแลต ไทยยันไม่พบการนำเข้า

ข่าวอัพเดท : อังกฤษพบเด็กล้มป่วยจากการกินช็อกโกแลต Kinder Surprise อึ้ง! เจอเชื้อซัลโมเนลลาปนเปื้อนในอุจจาระ อย.ไทยยืนยันไม่พบการนำเข้าผลิตภัณฑ์ด อย.,ช็อกโกแลต,Kinder Surprise,เชื้อซัลโมเนลลา,สำนักงานมาตรฐานอาหารของประเทศอังกฤษ,คินเดอร์เซอร์ไพรส์,ช็อคโกแลต,คินเดอร์ช็อกโกแลต,รองเลขาธิการอย.,FSA,เฟอเรโร,ช็อกโกแลตนมรูปไข่,สายด่วนอย.,บรรจุภัณฑ์,อาหารและยา

522 ครั้ง
|
21 เม.ย. 2565

อังกฤษพบเด็กล้มป่วยจากการกินช็อกโกแลต Kinder Surprise อึ้ง! เจอเชื้อซัลโมเนลลาปนเปื้อนในอุจจาระ อย.ไทยยืนยันไม่พบการนำเข้าผลิตภัณฑ์ดังกล่าวเข้ามา

เมื่อวันที่ 20 เม.ย.2565 รองเลขาธิการสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา หรือ อย.เปิดเผยว่า กรณีมีข่าวพบเด็กอังกฤษวัย 3 ขวบล้มป่วยจากการบริโภคช็อกโกแลตคินเดอร์ เซอร์ไพรส์ โดยพบเชื้อซัลโมเนลลาปนเปื้อนในอุจจาระ 

ซึ่งเชื้อซัลโมเนลลาทำให้เกิดการป่วยสองแบบ แบบแรก โรคระบบทางเดินอาหาร ได้แก่ อาเจียน ท้องร่วง ตะคริว และมีไข้ โดยทั่วไปอาการจะเป็นอยู่ประมาณสองวันและค่อยๆ หายไปในหนึ่งสัปดาห์ แบบที่สอง ความเจ็บป่วยเกี่ยวกับไทฟอยด์ จะมีอาการคล้ายกันแต่มีไข้สูง ปวดศีรษะ ซึม และมีผื่นเป็นครั้งคราว อาการป่วยแบบนี้มีความรุนแรงกว่ามาก มักจะติดโรคมาจากการดื่มน้ำหรือพืชผลที่ใช้น้ำที่ปนเปื้อนน้ำเสียมากกว่าแทนที่จะมาจากอาหาร 

โดย อย.ได้ทำการตรวจสอบแล้วและยืนยันว่า ไม่มีการนำเข้าช็อกโกแลตดังกล่าว เข้ามาในประเทศไทย โดยก่อนหน้านี้สำนักงานมาตรฐานอาหารของประเทศอังกฤษ (FSA) ได้ประกาศเตือนผู้บริโภคกรณีบริษัทผู้ผลิตเรียกคืนผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตเฟอเรโร ที่ผลิตจากเบลเยียม รุ่นคินเดอร์ เซอร์ไพรส์

ขณะเดียวกัน อย.ได้ตรวจสอบพบว่า ผลิตภัณฑ์คินเดอร์ช็อกโกแลต ตรา เฟอเรโร มีการนำเข้ามาจำหน่ายในประเทศไทยหลายรุ่น โดยผู้นำเข้า 2 บริษัท คือ บริษัท เอส.จี.ฟาร์อีสเทิร์น จำกัด และบริษัท ซีโน-แปซิฟิคเทรดดิ้ง (ไทยแลนด์) จำกัด ซึ่งไม่มีการนำเข้าผลิตภัณฑ์คินเดอร์ เซอร์ไพรส์

จากการตรวจสอบข้อมูลการอนุญาต พบว่า คินเดอร์ เซอร์ไพรส์ ช็อกโกแลตนมรูปไข่ สถานะผลิตภัณฑ์สิ้นสภาพตั้งแต่วันที่ 31 ธ.ค.2558 ซึ่งด่านอาหารและยา อย. มีการเฝ้าระวังไม่ให้ผลิตภัณฑ์สุขภาพที่มีปัญหาหรืออาจก่อให้เกิดอันตรายต่อผู้บริโภคหลุดรอดเข้ามาในประเทศได้

รองเลขาธิการ อย. กล่าวอีกว่า ผู้บริโภคควรเลือกซื้อผลิตภัณฑ์ช็อกโกแลตที่บรรจุภัณฑ์ไม่มีรอยแตกหรือฉีกขาด มีฉลากแสดงข้อมูล เช่น ชื่ออาหาร เลขสารบบอาหาร ชื่อและที่ตั้งของผู้ผลิตหรือผู้นำเข้า น้ำหนักสุทธิ ปริมาณน้ำตาลและ/หรือวัตถุที่ให้ความหวานแทนน้ำตาลเป็นร้อยละของน้ำหนักโดยประมาณ เดือนและปีที่ผลิต หรือวันเดือนและปีที่หมดอายุ ข้อความแสดงการใช้วัตถุกันเสีย สี หรือการแต่งกลิ่นรสถ้ามีการใช้ แล้วแต่กรณี

หากพบเห็นผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ไม่ได้มาตรฐาน หรือไม่ได้รับความปลอดภัยจากการบริโภค ร้องเรียนได้ที่สายด่วน อย. โทร. 1556 หรือสำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ