ปคบ.-อย.เตือน! พบไส้กรอกมรณะ กระจายหลายจังหวัด ใส่สารกันบูดมากถึง 2,000 มิลลิกรัม
logo ข่าวอัพเดท

ปคบ.-อย.เตือน! พบไส้กรอกมรณะ กระจายหลายจังหวัด ใส่สารกันบูดมากถึง 2,000 มิลลิกรัม

ข่าวอัพเดท : วันที่ 3 ก.พ.65 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) , สำนักงานคณะกรรม ไส้กรอก,สารปนเปื้อน,สารกันบูด,ไส้กรอกมรณะ,โรงงาน,ชลบุรี

1,574 ครั้ง
|
04 ก.พ. 2565
       วันที่ 3 ก.พ.65 กองบัญชาการตำรวจสอบสวนกลาง กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (ปคบ.) , สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) ร่วมกันแถลงผลจับกุมแหล่งผลิตไส้กรอกปนเปื้อนในพื้นที่ จ.ชลบุรี โดยสามารถตรวจยึดของกลางได้ 32 รายการ มูลค่ากว่า 700,000 บาท
 
        การจับกุมครั้งนี้สืบเนื่องจากเจ้าหน้าที่ตำรวจกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภคได้รับการประสานจากสำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา (อย.) กรณีพบผู้บริโภคซึ่งเป็น
เด็กหลายรายเข้ารักษาตัวในโรงพยาบาลเนื่องจากการรับประทานไส้กรอกและเกิดภาวะ methemoglobinemia (เมธฮีโมโกลบินนีเมีย)  มีอาการซีด เขียว หายใจลำบาก เหนื่อยง่าย จึงประสานสำนักงานสาธารณสุขจังหวัด (สสจ.) เชียงใหม่ , สระบุรี , เพชรบุรี และตรัง เพื่อสืบทราบแหล่งจำหน่ายและขยายผลทำการสืบสวนจนทราบแหล่งผลิตผลิตภัณฑ์ดังกล่าว
 
         ต่อมาวันที่ 2 กุมภาพันธ์ 2565 ได้ร่วมกับ อย.และ สสจ.ชลบุรี ลงพื้นที่ตรวจสอบโรงงานเป้าหมายใน จ.ชลบุรี จากการตรวจค้นพบ นางสาว ร. (นามสมมติ) แสดงตนเป็นเจ้าของกิจการผลิตผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์ เช่น ไส้กรอก ลูกชิ้น หมูยอ โดยรับว่าทำการผลิตโดยไม่ได้รับอนุญาตแต่อย่างใด และฉลากผลิตภัณฑ์ไส้กรอกหลายรายการตรงกับฉลากผลิตภัณฑ์ที่ได้ข้อมูลจากผู้ป่วยว่าบริโภคแล้วเกิดอาการผิดปกติดังกล่าวโดยฉลากดังกล่าวไม่แสดงเลขสารบบอาหาร และเป็นการแสดงฉลากไม่ถูกต้อง โดยได้มีการส่งขายให้กับตลาดนัดพื้นที่ จ.ชลบุรี และ ตลาดมหาชัย ก่อนจะกระจายไปยังแหล่งขายอื่นๆ
 
           จากการตรวจสอบสถานที่ผลิตแห่งนี้ตามหลักเกณฑ์ GMP ที่กฎหมายกำหนด พบว่าไม่ผ่านเกณฑ์ (ได้คะแนนรวม 19 คะแนนคิดเป็นร้อยละ 16.67) และพบข้อบกพร่องได้แก่ ไม่มีการควบคุมการผลิตในกรณีที่มีการใช้วัตถุเจือปนอาหารอย่างเหมาะสม เช่นใส่สารไนเตรต-ไนไตรต์ มากถึง 2,000 มิลลิกรัม/กก. ซึ่งมากกว่าที่กฎหมายกำหนด ซ้ำยังพบว่า นำเอาเนื้อไก่มาแปรรูปเป็นไส้กรอกหมู และหมูยอ รวมถึงขั้นตอนการผลิตไม่เข้าข่ายโรงงานตามกฎหมาย
 
         ทั้งนี้ได้เก็บตัวอย่างอาหารเพื่อตรวจวิเคราะห์หากพบสารต้องห้ามในอาหาร จะเป็นความผิดตาม พ.ร.บ.อาหาร พ.ศ.2522 มาตรา 25 ฐาน "ผลิตอาหารไม่บริสุทธิ์" ต้องระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกินสองหมี่นบาท หรือทั้งจำทั้งปรับ และหากเป็นอาหารปลอมต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่หกเดือนถึงสิบปี และปรับตั้งแต่ห้าพันบาทถึงหนึ่งแสนบาท
 
          เหตุนี้จึงได้ตรวจยึดของกลางนำส่งพนักงานสอบสวนกองกำกับการ 4 กองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค เพื่อดำเนินคดีตามกฎหมายความผิดตามพระราชบัญญัติอาหาร พ.ศ.2522 ฝ่าฝืนสถานที่ผลิตอาหารไม่เป็นไปตามหลักเกณฑ์วิธีการผลิตที่ดี (GMP) โทษปรับไม่เกินหนึ่งหมื่นบาท และฝ่าฝืนมาตรา 6(10) ผลิตภัณฑ์อาหารแสดงฉลากไม่ถูกต้อง โทษปรับไม่เกินสามหมื่นบาท
 
          พ.ต.อ.เนติ วงษ์กุหลาบ อนันต์ ผกก.4.ปคบ. เผยว่า ประชาชนท่านใดที่ซื้อสินค้าประเภทไส้กรอกลูกชิ้นที่ไม่มีสลากเครื่องหมาย อย. ขอให้หยุดบริโภค รวม ถึงบรรดาพ่อค้าแม่ค้าที่รับของที่ไม่ได้มาตรฐานมาขายควรหยุดพฤติกรรมดังกล่าวทันที
 
          สำหรับครอบครัวที่ได้รับความเสียหายเกี่ยวกับการบริโภคไส้กรอกที่ไม่ได้มาตรฐานสามารถนำใบรับรองแพทย์เข้าไปแจ้งความที่สถานีตำรวจในพื้นที่ได้เลย

ข่าวที่เกี่ยวข้อง