WHO แนะให้ใช้ 'ยาโมลนูพิราเวียร์' ช่วยลดอัตราเสียชีวิต 30% เตรียมแจกจ่ายรพ.สัปดาห์หน้า
logo ข่าวอัพเดท

WHO แนะให้ใช้ 'ยาโมลนูพิราเวียร์' ช่วยลดอัตราเสียชีวิต 30% เตรียมแจกจ่ายรพ.สัปดาห์หน้า

ข่าวอัพเดท : WHO แนะ ให้ใช้ ยาโมลนูพิราเวียร์ ในผู้ป่วยโควิด19 ที่มีความเสี่ยงสูง ช่วยลดความรุนแรงของโรค และลดอัตราเสียชีวิตถึง 30% สัปดาห์หน้า แ ยาฟาวิพิราเวียร์,โมลนูพิราเวียร์,หยุดนำเข้าฟาวิพิราเวียร์,ผู้ป่วยโควิดเสี่ยงสูง,เสียชีวิตจากโควิด19,ลดตาย,ลดความรุนแรงโรค,ยาชนิดกิน,ยาต้านไวรัสโควิด

1,269 ครั้ง
|
16 มี.ค. 2565
WHO แนะ ให้ใช้ 'ยาโมลนูพิราเวียร์' ในผู้ป่วยโควิด19 ที่มีความเสี่ยงสูง ช่วยลดความรุนแรงของโรค และลดอัตราเสียชีวิตถึง 30% สัปดาห์หน้า แจกจ่ายยาให้โรงพยาบาล นพ.มนูญ ระบุ ถึงเวลาหยุดนำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์ 
 
            วันที่ 15 มี.ค. 2565 นพ.มนูญ ลีเชวงวงศ์ แพทย์เฉพาะทางด้านโรคระบบการหายใจ เปิดเผยข้อมูลผ่านเฟซบุ๊กส่วนตัว โดยระบุว่า องค์การอนามัยโลก (WHO) แนะนำให้ใช้ยาโมลนูพิราเวียร์ ของบริษัทเมอร์ค ในคนไข้ที่เพิ่งจะติดเชื้อไวรัสโควิด-19 ไม่เกิน 5 วัน ยังมีอาการน้อย แต่มีความเสี่ยงสูงที่โรคจะดำเนินต่อไปเข้าขั้นรุนแรง ทำให้มีโอกาสเสียชีวิตได้ ซึ่งยานี้เป็นยาต้านไวรัสตัวใหม่ชนิดกิน ขนาด 200 มิลลิกรัม กิน 4 เม็ดทุก 12 ชั่วโมง นาน 5 วัน สามารถให้กินเป็นคนไข้นอก ช่วยลดความรุนแรงของโรค และลดการเสียชีวิตประมาณ 30%
 
            ยาโมลนูพิราเวียร์เข้าประเทศไทยแล้ว กำลังกระจายไปตามโรงพยาบาลต่างๆ ในสัปดาห์หน้า ยานี้มีจำนวนจำกัด ต้องใช้ตามข้อบ่งชี้เท่านั้น ให้กับคนที่มีความเสี่ยงสูง คือคนที่ไม่เคยได้รับวัคซีน คนสูงอายุ คนที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น เบาหวาน และคนที่มีภูมิคุ้มกันต่ำ ไม่ใช่ให้กับคนทั่วไป และห้ามให้ยาโมลนูพิราเวียร์กับหญิงตั้งครรภ์ หรืออาจจะตั้งครรภ์ และหญิงที่กำลังให้นมบุตร เพราะอาจทำให้ทารกผิดปกติ และไม่ควรใช้กับเด็ก
 
            หมอมนูญ ระบุด้วยว่า ยานี้อาจมีผลข้างเคียง เช่น ตามทฤษฎีเป็นไปได้อาจก่อให้เกิดโรคมะเร็ง ซึ่งยังไม่มีใครทราบ อาจก่อให้เกิดเชื้อไวรัสโควิด-19 ดื้อยา อาจกระตุ้นให้เกิดเชื้อกลายพันธุ์ ต้องติดตามระยะยาวต่อไป
 
            ทั้งนี้อย่าแปลกใจทำไมองค์การอนามัยโลกไม่เคยแนะนำให้ประเทศต่างๆ ใช้ยาฟาวิพิราเวียร์ เพราะไม่มีข้อมูลจากการศึกษายืนยันว่ายาฟาวิพิราเวียร์สามารถลดการป่วยหนักและเสียชีวิตจากโรคโควิด-19 อย่างมีนัยสำคัญทางสถิติได้ เมื่อไรที่เรามียาโมลนูพิราเวียร์ และยาต้านไวรัสตัวใหม่แพกซ์โลวิด ของบริษัทไฟเซอร์ ที่กำลังจะเข้าประเทศไทยเดือนหน้าจำนวนมากเพียงพอ ถึงเวลาแล้วที่องค์การเภสัชกรรมควรจะหยุดผลิต และนำเข้ายาฟาวิพิราเวียร์อีกต่อไป
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง