ย้อนเส้นทาง 18 ปี การบินไทย กว่าจะบักโกรก เทียบชัดรัฐบาลไหนกำไรพุ่ง ขาดทุนสะบัด
logo TERO HOT SCOOP

ย้อนเส้นทาง 18 ปี การบินไทย กว่าจะบักโกรก เทียบชัดรัฐบาลไหนกำไรพุ่ง ขาดทุนสะบัด

TERO HOT SCOOP : ท่ามกลางกระแสลุ้นแผนฟื้นฟู บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หลังฐานะบริษัทบักโกรกขาดทุนขาดสภาพคล่อง จนทำเอาคนทั้งชาติกุมขมับ หล การบินไทย,การบินไทยล้มละลาย,การบินไทยขาดทุน,การบินไทยปัญหา,การบินไทย เจ๊ง,การบินไทย ทักษิณ,การบินไทย ประยุทธ์

200,576 ครั้ง
|
13 พ.ค. 2563
ท่ามกลางกระแสลุ้นแผนฟื้นฟู บริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) หลังฐานะบริษัทบักโกรกขาดทุนขาดสภาพคล่อง จนทำเอาคนทั้งชาติกุมขมับ
 
หลายเสียง โดยเฉพาะคนการบินไทย เสียงแข็งหัวชนฝา พร้อมระบุว่า “การบินไทยเป็นสายการบินแห่งชาติ จำเป็นต้องมีอยู่ และต้องเป็นหนึ่งเดียวเท่านั้น!” 
 
 
ในขณะที่ประชาชนคนไทยตาดำๆ ที่เริ่มรู้สึกตะหงิดใจ ต่างออกมาตั้งคำถามว่า ในเมื่อประชาชนไม่มีส่วนได้ส่วนเสียเวลาการบินไทยทำกำไร แล้วทำไมเวลาขาดทุน ต้องเอาภาษีของประชาชนไปหมุน เพื่อเสริมสภาพคล่องให้การบินด้วย?
 
TERO HOT SCOOP : ย้อนเส้นทาง 18 ปี การบินไทย กว่
 
ทีมข่าวช่อง 3 ออนไลน์ ไล่เรียงผลกำไร-ขาดทุน ของบริษัท การบินไทย จำกัด (มหาชน) โดยยึดจากข้อมูลงบการเงินที่แสดงต่อสาธารณะ 18 ปีย้อนหลัง ซึ่งมีรายละเอียดอันน่าสนใจ ดังต่อไปนี้
 

- ยุครัฐบาลทักษิณ (ปี 2545-2549)

การบินไทย เคยทำกำไรจำนวนมากในยุคของรัฐบาล "ทักษิณ ชินวัตร" โดยทำกำไรติดต่อกันได้หลายปีซ้อน 
ปี 2545 – กำไร 10,181.91 ล้านบาท
ปี 2546 - กำไร 12,453.49 ล้านบาท
ปี 2547 – กำไร 10,076.83 ล้านบาท
ปี 2548 – กำไร 6,776 ล้านบาท
หมายเหตุ : ปี 2548 เป็นปีที่มีการชุมนุมประท้วงของกลุ่มพันธมิตรประชาชนเพื่อประชาธิปไตย(คนเสื้อเหลือง) เรียกร้องให้ ดร.ทักษิณ ชินวัตร ลาออกจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรี
 
ปี 2549 - กำไร 8,991.59 ล้านบาท
หมายเหตุ : ปี 2549 เป็นปีที่มีการเปลี่ยนแปลงทางการเมือง เกิดรัฐประหาร ระหว่างที่ ดร.ทักษิณ เดินทางไปต่างประเทศ และมีการจัดตั้งรัฐบาลชุดใหม่ โดยให้ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรี
TERO HOT SCOOP : ย้อนเส้นทาง 18 ปี การบินไทย กว่
 

- ยุครัฐบาลขิงแก่ พล.อ.สุรยุทธ์ จุลานนท์ (ปลายปี 2549-2550)

ปี 2550 – กำไร 1,839.07 ล้านบาท
หมายเหตุ : ปี 2550 กำไรลดลงจากปีก่อนมาก ซึ่งเริ่มมีปัญหาการชุมนุมประท้วงภายในประเทศอีกครั้ง โดยกลุ่มแนวร่วมประชาธิปไตยต่อต้านเผด็จการแห่งชาติ (นปช.) ออกมาชุมนุมประท้วงตามสถานที่ต่างๆ ต่อต้านการลงประชามติรับร่างรัฐธรรมนูญปี 2550 ซึ่งเกิดมาจากคณะรัฐประหาร และเป็นจุดเริ่มต้นของ “คนเสื้อแดง”
 

- ยุครัฐบาลสมัคร สุนทรเวช - รัฐบาลสมชาย วงศ์สวัสดิ์ (ปี 2551)

ปี 2551 – ขาดทุน 21,314 ล้านบาท
หมายเหตุ : ปี 2551 การบินไทย มีผลขาดทุนสุทธิ 21,314 ล้านบาท สูงสุดเป็นครั้งแรกในรอบ 43 ปี จากอายุของการบินไทยที่ก่อตั้งมา 48 ปี ซึ่งเป็นผลมาจากวิกฤตการณ์ต่างๆ ทั้งราคาน้ำมันที่ปรับตัวสูงขึ้น เศรษฐกิจโลกที่ชะลอตัว และความไม่สงบทางการเมืองภายในประเทศ
 
ด้วยความที่ผลประกอบการและสถานะทางการเงินไม่ดี พนักงานการบินไทยส่วนหนึ่งได้ร่วมกันยื่นหนังสือพลอากาศเอกณรงค์ศักดิ์ สังขพงศ์ ปฏิบัติหน้าที่ กรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย (ดีดี การบินไทย) เพื่อขอความชัดเจนเรื่องการปรับขึ้นเงินเดือนของพนักงานประจำปี และเงินโบนัส แต่สุดท้ายมีมติงดขึ้นเงินเดือน งดจ่ายเงินโบนัสปี 2551
 
TERO HOT SCOOP : ย้อนเส้นทาง 18 ปี การบินไทย กว่
 

- ยุครัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ (ปี 2552 – 2554)

ปี 2552 - กำไร 7,415.82 ล้านบาท
หมายเหตุ : ปี 2552 การบินไทยสามารถพลิกกลับมาทำกำไร ภายหลังจากที่การบินไทยปรับปรุงการบริหารงานบางเรื่อง เช่น การประกันความเสี่ยงราคาน้ำมัน การกำหนดราคาตั๋วโดยสาร การใช้ Fuel Surcharge(ค่าธรรมเนียมเชื้อเพลิง) การปรับเส้นทางบิน การลดต้นทุนฟุ่มเฟือยบางอย่าง การประหยัดค่าใช้จ่ายบางรายการ ประกอบกับการท่องเที่ยวไทยขยายตัวมาก และราคาน้ำมันลดต่ำลงจากวิกฤติแฮมเบอร์เกอร์ 
 
โดยในปีนี้มี นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ เข้ามารับตำแหน่งกรรมการผู้อำนวยการใหญ่ บริษัท การบินไทย(ดีดี การบินไทย) เมื่อวันที่ 18 มิ.ย. 2552
 
ปี 2553 – กำไร 15,397 ล้านบาท
 
ปี 2554 – ขาดทุน 10,162.11 ล้านบาท
หมายเหตุ : ปี 2554 ผลประกอบการของการบินไทย มีลักษณะผันผวนตามปัจจัยต้นทุนน้ำมันโลก ประกอบกับปัญหาน้ำท่วม
 

- ยุครัฐบาลยิ่งลักษณ์ ชินวัตร (กลางปี 2554 - 2557)

ปี 2555 – กำไร 6,510.22 ล้านบาท 
หมายเหตุ : ในปี 2555 การบินไทยพลิกกลับมาทำกำไร โดยบอร์ดการบินไทยมีมติปลด นายปิยสวัสดิ์ อัมระนันทน์ ออกจากตำแหน่ง ดีดี การบินไทย จนเกิดปฏิกิริยาจากโลกโซเชียลอย่างกว้างขวาง โดยหลายเว็บไซต์ได้นำเอาภาพ นายปิยสวัสดิ์ กับ น.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี มาเปรียบเทียบผลงาน พร้อมกับตั้งคำถามว่า “ใครสมควรถูกปลดมากกว่ากัน”
 
ต่อมา พนักงานการบินไทย ประมาณ 500-600 คน รวมตัวประท้วงมติที่ประชุมคณะกรรมการ(บอร์ด) การบินไทยที่จ่ายโบนัสประจำปี 2555 จำนวน 1 เดือน และปรับขึ้นเงินเดือนไม่เกิน 4 % โดยพนักงานเห็นว่า มติดังกล่าวไม่เป็นธรรมกับพนักงาน
 
 
ปี 2556 - ขาดทุน 12,047 ล้านบาท
หมายเหตุ : สำหรับสาเหตุการขาดทุนในปี 2556 มาจากหลายปัจจัย ไม่ว่าจะเป็นการแข็งค่าของเงินบาท อุตสาหกรรมการบินมีการแข่งขันอย่างรุนแรง และเหตุการณ์ความไม่สงบทางการเมืองในประเทศ 
 
ปี 2557 - ขาดทุน 15,572.55 ล้านบาท
 
TERO HOT SCOOP : ย้อนเส้นทาง 18 ปี การบินไทย กว่
 

- ยุครัฐบาลประยุทธ์ จันทร์โอชา (กลางปี 2557-ปัจจุบัน)

ปี 2558 - ขาดทุน 13,046.93 ล้านบาท
หมายเหตุ : สาเหตุที่การบินไทยประสบปัญหาขาดทุนมากขึ้น เนื่องจากในปีนั้นๆ การบินไทยมีค่าใช้จ่ายพิเศษในไตรมาส 2 สูงถึง 7,827 ล้านบาท ซึ่งมาจากการดำเนินงานปรับลดพนักงาน ทำให้มีค่าใช้จ่ายในรายการผลตอบแทนพนักงานตามโครงการร่วมใจจากองค์กร และ Golden Handshake(เงินก้อนใหญ่ มอบให้พนักงานที่ลาออก) จำนวน 3,722  ล้านบาท 
 
นอกจากนี้ ยังการขาดทุนจากการด้อยค่าของสินทรัพย์และเครื่องบิน และการขาดทุนจากอัตราแลกเปลี่ยนเงินตราต่างประเทศหลายพันล้านบาท
 
ปี 2559 – กำไร 15 ล้านบาท (กำไรสุทธิส่วนที่เป็นของบริษัทใหญ่)
หมายเหตุ : สาเหตุที่ปี 2559 มีกำไรนั้น หลักๆ มาจากค่าใช้จ่ายรวมลดลง ค่าน้ำมันเครื่องบินลดลง และการบินไทยเดินหน้าแผนปฏิรูปองค์กร โดยมีกลยุทธ์ในการดำเนินงาน 4 ด้าน คือ 1.เน้นเพิ่มรายได้ในทุกๆ ด้าน 2.ลดค่าใช้จ่าย 3.สร้างศักยภาพเพื่อการเติบโตอย่างยั่งยืน และ 4.สร้างความเป็นเลิศในการบริการ
 
ปี 2560 – ขาดทุน 2,072.05 ล้านบาท
 
ปี 2561 – ขาดทุน 11,569.13 ล้านบาท
 
ปี 2562 – ขาดทุน 12,016.47 ล้านบาท
 
TERO HOT SCOOP : ย้อนเส้นทาง 18 ปี การบินไทย กว่
 
ปัจจุบัน การบินไทย ประสบพบเจอกับพิษ “โควิด-19” ทำเอาสถานะง่อนแง่น ไม่มีรายได้เข้า พนักงานอยู่บ้าน และไม่ได้รับเงินเดือน บางคนไม่ถึงกับแย่ พอได้เงินเดือนอยู่บ้าง แต่ก็ไม่เต็มเม็ดเต็มหน่วยเหมือนเก่า
 
ขณะที่ นายกอร์ปศักดิ์ สภาวสุ อดีตเลขาธิการนายกรัฐมนตรี อดีตรองนายกรัฐมนตรีฝ่ายเศรษฐกิจในรัฐบาลของนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ ได้ออกมาให้ความเห็นในเรื่องนี้ว่า “หนี้การบินไทย 245,000 ล้านบาท สินทรัพย์ 257,000 ล้านบาท ขายทุกอย่างที่มีอาจไม่พอชำระหนี้...” 
 
และ ณ ขณะนี้ คนไทยค่อนประเทศต่างมีคำถามต่อการบินไทยว่า “ตอนกำไรไม่เห็นได้ประโยชน์อะไรกับสายการบินนี้ ถ้าไม่มีเงินเหลือๆ ก็ไม่เคยได้ขึ้น แต่พอขาดทุนไปต่อไม่ไหว ทำไมคนไทยต้องเข้าไปอุ้ม!?”.