"พระวิษณุกรรม" หน้าวิทยาลัยฯหายปริศนา สงสัยโดนใบสั่งจากเซียนพระ
logo TERO HOT SCOOP

"พระวิษณุกรรม" หน้าวิทยาลัยฯหายปริศนา สงสัยโดนใบสั่งจากเซียนพระ

3,416 ครั้ง
|
04 ม.ค. 2563

 

    วันที่ 4 มกราคม 2563 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากนายพิมะ แสงมณี นายก อบต.นาคู่ อ.นาแก จ.นครพนม ว่า บริเวณหน้าวิทยาลัยการอาชีพนาแก ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.นาคู่ มีพระวิษณุกรรมที่ประดิษฐานไว้ที่ด้านหน้าวิทยาลัยฯหายปริศนา คาดว่าจะถูกขโมยไปในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ โดยนายพิชัย วาจนสุนทร ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนาแก หลังทราบเรื่องจึงร่วมกับแกนนำชาวบ้านประสานเจ้าหน้าที่ ตำรวจ สภ.นาแก ลงพื้นที่ตรวจสอบเก็บหลักฐาน


นายพิชัยฯ ผอ.วท.การอาชีพนาแก เปิดเผยว่าพระวิษณุกรรม มีขนาดความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร หน้าตักกว้างประมาณ 30 เซนติเมตร หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ซึ่งทางวิทยาลัยการอาชีพนาแก ได้อัญเชิญมาประดิษฐานคู่กับพระพุทธรูปไว้เป็นสิริมงคล ตั้งแต่ปี 2555 แต่ไม่คาดคิดว่าจะถูกขโมยหายไปอย่างปริศนา คาดว่าคนร้ายอาศัยเวลากลางคืนในช่วงวันหยุด เนื่องจากบริเวณที่ประดิษฐานด้านหน้าวิทยาลัย เป็นเส้นทางเปลี่ยว ไม่มีคนพลุกพล่านจึงเป็นโอกาสของพวกหัวขโมยไปขาย เพราะเป็นทองสัมฤทธิ์ ที่นำไปขายได้เงินหลายบาท โดยพระวิษณุกรรม เนื้อทองสัมฤทธิ์นี้ มีมูลค่าประมาณ 40,000 – 50,000 บาท คนร้ายต้องนำไปขายตามตลาดมืด หรือรับใบสั่งจากเซียนพระ จึงประสานทางตำรวจ สภ.นาแก เร่งติดตามองค์พระวิษณุกรรมมาคืน และจับกุมคนร้ายมาดำเนินคดี


ด้าน นายพิมะ แสงมณี นายก อบต.นาคู่ เปิดเผยว่า สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าว ถือว่า เป็นครั้งแรก ที่เกิดปัญหาขโมยทรัพย์สินทางราชการในพื้นที่ ต.นาคู่ เป็นการ กระทำที่เย้ยกฎหมาย และกระทบต่อจิตใจชาวบ้าน เนื่องจากสิ่งที่หายไปคือ องค์พระวิษณุกรรม ที่มีคุณค่าทางจิตใจ และนำมาประดิษฐานไว้ตั้งแต่ปี 2555 ไม่เคยมีปัญหา โดยทาง อบต.นาคู่ ร่วมกับ แกนนำชาวบ้าน ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง มีการ ตรวจสอบป้องกันดูแลมาตลอด ทั้งสิ่งของ ทรัพย์สิน ชาวบ้าน และทรัพย์สินทางราชการ ไม่คิดว่าจะมาหายไปอย่างปริศนา


เบื้องต้นจากการตรวจสอบ สันนิษฐานว่าคนที่ก่อเหตุน่าจะมีคนในพื้นที่รู้เห็น เพราะปกติจะมีครูเวรอยู่ทุกวัน โดยอาคารเรียนอยู่ห่างจากที่ประดิษฐานองค์พระวิษณุกรรมประมาณ 100 เมตร ทำให้ง่ายต่อการฉวยโอกาสในช่วงปลอดคน และไม่มีกล้องวงจรปิดในที่เกิดเหตุ คาดว่าอาจเป็นกลุ่มมิจฉาชีพที่ติดยาเสพติด และขโมยไปขาย เพื่อนำเงินไปเที่ยวฉลองปีใหม่ อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้มาตรวจสอบ เก็บหลักฐาน เร่งติดตามกลับมาคืน และฝากไปยังผู้พบเบาะแส สามารถแจ้งมาได้ที่ อบต.นาคู่ หรือ แจ้งทาง เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ปกครอง เพื่อช่วยกันติดตามมาคืน ให้เร็วที่สุด


พระวิศวกรรม หรือ พระวิษณุกรรม หรือ พระเพชรฉลูกรรม ตามตำนานกล่าวว่า เป็นเทวดานายช่างใหญ่ของพระอินทร์  เป็นผู้สร้างเครื่องมือ สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น และเป็นแบบอย่างให้กับมนุษย์สืบมา โดยพระวิศวกรรมรับเทวโองการต่าง ๆ จากพระอินทร์ เพื่อสร้าง อุปกรณ์ สิ่งของ อาคาร ต่าง ๆ มากมาย และเป็นผู้นำวิชาช่างมาสอนแก่มนุษย์ นับแต่นั้นมามนุษย์จึงรู้จักการสร้างและใช้งานสิ่งของต่าง ๆ จนมีการพัฒนารูปแบบมาจนถึงปัจจุบันนี้

ดังนั้นช่างไทยแขนงต่าง ๆ ให้ความเคารพบูชาพระวิศวกรรมในฐานะครูช่าง หรือเทพแห่งวิศวกรรมของไทย โดยมักพบเห็นรูปจำลององค์ท่านได้บ่อย ๆ ตามสถานศึกษาทางช่างทุกสถาบัน และนิยมสร้างอยู่สองท่าคือ ท่าประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือผึ่ง (จอบสำหรับขุดไม้) และอีกข้างถือดิ่ง และท่าประทับยืนมือขวาถือไม้เมตรหรือไม้วา มือซ้ายถือลูกดิ่งและไม้ฉาก


ที่มาขององค์พระวิษณุกรรมทั้ง 2 ท่านี้ พอขยายความได้ว่าหากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพช่างก่อสร้าง มักอยู่ในท่ายืนมือถือลูกดิ่งและไม้เมตรหรือไม้วาอันเป็นเครื่องมือของช่างก่อสร้างมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งช่างทั้งหลายทราบดีว่าเป็นเครื่องมือสำหรับวัดระยะ วัดความเที่ยงตรง แต่สิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นยังแฝงไปด้วยปรัชญาในการดำเนินชีวิต คือความแม่นยำ เที่ยงตรง ไม่เอนเอียงในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่มาของช่างที่ดี คือความมีคุณธรรมประจำใจ หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ช่างก่อสร้างอยู่ด้วย มักจะใช้ท่านั่ง เข้าใจว่าผู้สร้างคงจะชี้ให้เห็นเด่นชัดถึงสถาบันผู้ผลิตช่างก่อสร้าง อันเป็นช่างเก่าแก่มีมาแต่ก่อนแล้ว

    วันที่ 4 มกราคม 2563 ผู้สื่อข่าวได้รับแจ้งจากนายพิมะ แสงมณี นายก อบต.นาคู่ อ.นาแก จ.นครพนม ว่า บริเวณหน้าวิทยาลัยการอาชีพนาแก ซึ่งตั้งอยู่ในพื้นที่ ต.นาคู่ มีพระวิษณุกรรมที่ประดิษฐานไว้ที่ด้านหน้าวิทยาลัยฯหายปริศนา คาดว่าจะถูกขโมยไปในช่วงวันหยุดเทศกาลปีใหม่ โดยนายพิชัย วาจนสุนทร ผู้อำนวยการวิทยาลัยการอาชีพนาแก หลังทราบเรื่องจึงร่วมกับแกนนำชาวบ้านประสานเจ้าหน้าที่ ตำรวจ สภ.นาแก ลงพื้นที่ตรวจสอบเก็บหลักฐาน


นายพิชัยฯ ผอ.วท.การอาชีพนาแก เปิดเผยว่าพระวิษณุกรรม มีขนาดความสูงประมาณ 50 เซนติเมตร หน้าตักกว้างประมาณ 30 เซนติเมตร หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ ซึ่งทางวิทยาลัยการอาชีพนาแก ได้อัญเชิญมาประดิษฐานคู่กับพระพุทธรูปไว้เป็นสิริมงคล ตั้งแต่ปี 2555 แต่ไม่คาดคิดว่าจะถูกขโมยหายไปอย่างปริศนา คาดว่าคนร้ายอาศัยเวลากลางคืนในช่วงวันหยุด เนื่องจากบริเวณที่ประดิษฐานด้านหน้าวิทยาลัย เป็นเส้นทางเปลี่ยว ไม่มีคนพลุกพล่านจึงเป็นโอกาสของพวกหัวขโมยไปขาย เพราะเป็นทองสัมฤทธิ์ ที่นำไปขายได้เงินหลายบาท โดยพระวิษณุกรรม เนื้อทองสัมฤทธิ์นี้ มีมูลค่าประมาณ 40,000 – 50,000 บาท คนร้ายต้องนำไปขายตามตลาดมืด หรือรับใบสั่งจากเซียนพระ จึงประสานทางตำรวจ สภ.นาแก เร่งติดตามองค์พระวิษณุกรรมมาคืน และจับกุมคนร้ายมาดำเนินคดี


ด้าน นายพิมะ แสงมณี นายก อบต.นาคู่ เปิดเผยว่า สำหรับเหตุการณ์ดังกล่าว ถือว่า เป็นครั้งแรก ที่เกิดปัญหาขโมยทรัพย์สินทางราชการในพื้นที่ ต.นาคู่ เป็นการ กระทำที่เย้ยกฎหมาย และกระทบต่อจิตใจชาวบ้าน เนื่องจากสิ่งที่หายไปคือ องค์พระวิษณุกรรม ที่มีคุณค่าทางจิตใจ และนำมาประดิษฐานไว้ตั้งแต่ปี 2555 ไม่เคยมีปัญหา โดยทาง อบต.นาคู่ ร่วมกับ แกนนำชาวบ้าน ผู้นำชุมชน เจ้าหน้าที่ฝ่ายปกครอง มีการ ตรวจสอบป้องกันดูแลมาตลอด ทั้งสิ่งของ ทรัพย์สิน ชาวบ้าน และทรัพย์สินทางราชการ ไม่คิดว่าจะมาหายไปอย่างปริศนา


เบื้องต้นจากการตรวจสอบ สันนิษฐานว่าคนที่ก่อเหตุน่าจะมีคนในพื้นที่รู้เห็น เพราะปกติจะมีครูเวรอยู่ทุกวัน โดยอาคารเรียนอยู่ห่างจากที่ประดิษฐานองค์พระวิษณุกรรมประมาณ 100 เมตร ทำให้ง่ายต่อการฉวยโอกาสในช่วงปลอดคน และไม่มีกล้องวงจรปิดในที่เกิดเหตุ คาดว่าอาจเป็นกลุ่มมิจฉาชีพที่ติดยาเสพติด และขโมยไปขาย เพื่อนำเงินไปเที่ยวฉลองปีใหม่ อย่างไรก็ตามเจ้าหน้าที่ตำรวจ ได้มาตรวจสอบ เก็บหลักฐาน เร่งติดตามกลับมาคืน และฝากไปยังผู้พบเบาะแส สามารถแจ้งมาได้ที่ อบต.นาคู่ หรือ แจ้งทาง เจ้าหน้าที่ตำรวจ เจ้าหน้าที่ปกครอง เพื่อช่วยกันติดตามมาคืน ให้เร็วที่สุด


พระวิศวกรรม หรือ พระวิษณุกรรม หรือ พระเพชรฉลูกรรม ตามตำนานกล่าวว่า เป็นเทวดานายช่างใหญ่ของพระอินทร์  เป็นผู้สร้างเครื่องมือ สิ่งของต่าง ๆ ให้เกิดขึ้น และเป็นแบบอย่างให้กับมนุษย์สืบมา โดยพระวิศวกรรมรับเทวโองการต่าง ๆ จากพระอินทร์ เพื่อสร้าง อุปกรณ์ สิ่งของ อาคาร ต่าง ๆ มากมาย และเป็นผู้นำวิชาช่างมาสอนแก่มนุษย์ นับแต่นั้นมามนุษย์จึงรู้จักการสร้างและใช้งานสิ่งของต่าง ๆ จนมีการพัฒนารูปแบบมาจนถึงปัจจุบันนี้

ดังนั้นช่างไทยแขนงต่าง ๆ ให้ความเคารพบูชาพระวิศวกรรมในฐานะครูช่าง หรือเทพแห่งวิศวกรรมของไทย โดยมักพบเห็นรูปจำลององค์ท่านได้บ่อย ๆ ตามสถานศึกษาทางช่างทุกสถาบัน และนิยมสร้างอยู่สองท่าคือ ท่าประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ข้างหนึ่งถือผึ่ง (จอบสำหรับขุดไม้) และอีกข้างถือดิ่ง และท่าประทับยืนมือขวาถือไม้เมตรหรือไม้วา มือซ้ายถือลูกดิ่งและไม้ฉาก


ที่มาขององค์พระวิษณุกรรมทั้ง 2 ท่านี้ พอขยายความได้ว่าหากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพช่างก่อสร้าง มักอยู่ในท่ายืนมือถือลูกดิ่งและไม้เมตรหรือไม้วาอันเป็นเครื่องมือของช่างก่อสร้างมาแต่สมัยโบราณ ซึ่งช่างทั้งหลายทราบดีว่าเป็นเครื่องมือสำหรับวัดระยะ วัดความเที่ยงตรง แต่สิ่งที่นอกเหนือไปจากนั้นยังแฝงไปด้วยปรัชญาในการดำเนินชีวิต คือความแม่นยำ เที่ยงตรง ไม่เอนเอียงในทางปฏิบัติ ซึ่งเป็นที่มาของช่างที่ดี คือความมีคุณธรรมประจำใจ หากสถาบันใดเปิดสอนวิชาชีพสาขาอื่นๆ ที่ไม่ใช่ช่างก่อสร้างอยู่ด้วย มักจะใช้ท่านั่ง เข้าใจว่าผู้สร้างคงจะชี้ให้เห็นเด่นชัดถึงสถาบันผู้ผลิตช่างก่อสร้าง อันเป็นช่างเก่าแก่มีมาแต่ก่อนแล้ว