สบส. มีมติแจ้งความ รพ.พระราม 2 หลังพบ 5 ความผิด กรณีไม่รักษาสาวถูกสาดน้ำกรด
logo ข่าวอัพเดท

สบส. มีมติแจ้งความ รพ.พระราม 2 หลังพบ 5 ความผิด กรณีไม่รักษาสาวถูกสาดน้ำกรด

ข่าวอัพเดท : วันที่ 20 พ.ย. 61 นายแพทย์ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พร้อมด้วยนายแพทย์ประภาส จิตตาศิรินุวัตร รองอธิบดี ส สบส,โรงพยาบาลพระราม 2,มติแจ้งความโรงพยาบาลพระราม 2

9,008 ครั้ง
|
20 พ.ย. 2561
วันที่ 20 พ.ย. 61 นายแพทย์ณัฐวุฒิ ประเสริฐสิริพงศ์ อธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ พร้อมด้วยนายแพทย์ประภาส จิตตาศิรินุวัตร รองอธิบดี สบส. แถลงข่าว กรณีชมรมช่วยเหลือเหยื่ออาชญากรรมได้มายื่นหนังสือร้องเรียนโรงพยาบาลพระราม 2 ว่าปฏิเสธการรักษาและมีบริการทางการแพทย์ที่ไม่เป็นไปตามมาตรฐานจนทำให้หญิงอายุ 38 ปี ซึ่งได้รับบาดเจ็บจากการถูกสาดน้ำกรดเสียชีวิต
 
คณะอนุกรรมการการพิจารณาเรื่องร้องเรียนซึ่งประกอบด้วยคณะกรรมการผู้ทรงคุณวุฒิจากภาครัฐและเอกชน อาทิ สำนักงานคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภคสำนักงานอัยการสูงสุด และสมาคมโรงพยาบาลเอกชนทำการตรวจสอบข้อเท็จจริง มีมติให้ส่งเรื่องจากคณะกรรมการเปรียบเทียบคดีดำเนินการเปรียบเทียบปรับในความผิดที่มีอัตราโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปีและพนักงานสอบสวนดำเนินคดีอาญาในความผิดที่มีอัตราโทษเกิน 1 ปีขึ้นไปในความผิดตามพระราชบัญญัติสถานพยาบาลพ. ศ. 2541 ใน 5 กรณีที่เข้าข่ายการกระทำผิด คือ 
 
1. พยาบาลวิชาชีพเป็นผู้กำหนดประเมินวินิจฉัยอาการและให้การรักษาเบื้องต้นผู้ป่วยโดยไม่ได้รับความเห็นจากแพทย์ เข้าข่ายกระทำผิดตามมาตรา 34 (1) และ (2) ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 
 
2. ผู้ดำเนินการได้สั่งการให้รับผู้ป่วยเข้ารับการรักษาเป็นผู้ป่วยใน ซึ่งหมายความว่าต้องผ่านการตรวจวินิจฉัยโดยแพทย์ แต่ไม่ได้ควบคุมให้ขั้นตอนเกิดขึ้น จึงเข้าข่ายกระทำผิดตามมาตรา 34 (2) ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 
 
ซึ่ง 2 กรณีนี้ ต้องแจ้งความกล่าวโทษแก่ผู้ดำเนินการสถานพยาบาล เนื่องจากมีอัตราโทษจำคุก
 
3. ไม่ได้ให้การช่วยเหลือเยียวยาผู้ป่วยฉุกเฉิน และตรวจคัดแยกความฉุกเฉินตามมาตรฐาน เข้าข่ายความผิดตามประกาศกระทรวงสาธารณสุขและพระราชบัญญัติสถานพยาบาลตามมาตรา 35 (3) และ (4) ระวางโทษจำคุกไม่เกินหนึ่งปีหรือปรับไม่เกิน 20,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ
 
4. ไม่ได้ดูแลให้การช่วยเหลือเยียวยาแก่ผู้ป่วย ซึ่งอยู่ในสภาพอันตรายและจำเป็นต้องได้รับการรักษา เข้าข่ายผู้ได้รับอนุญาตและผู้ดำเนินการสถานพยาบาลไม่ควบคุมและดูแลให้มีการช่วยเหลือเยียวยา แก่ผู้ป่วยจนพ้นจากขีดอันตราย ระวางโทษจำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ ตามมาตรา 36 
 
5. การส่งต่อผู้ป่วยที่ไม่ได้มาตรฐาน เข้าข่ายกระทำผิด ตามมาตรา 36 วรรค 3 จำคุกไม่เกินสองปีหรือปรับไม่เกิน 40,000 บาทหรือทั้งจำทั้งปรับ 
 
โดยผู้ต้องรับโทษคือผู้ได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการสถานพยาบาลและผู้ดำเนินการสถานพยาบาล 
 
 
 
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง