สำหรับคุณแม่ตั้งครรภ์ที่สูบบุหรี่ พิษของบุหรี่จะเข้าไปในกระแสเลือดและเข้าไปในรก ลูกน้อยในครรภ์มีชีวิตและเติบโตได้เพราะได้รับอาหารและสิ่งจำเป็นต่อชีวิตต่าง ๆ เช่น ออกซิเจน ผ่านมาทางรก เมื่อสารพิษจากบุหรี่ผ่านไปในรก เด็กในท้องก็รับเอาสารพิษนี้เข้าไปด้วย สารพิษในบุหรี่จะทำให้การเจริญเติบโตของเซลล์ต่าง ๆ ของเด็กในท้องช้าลง มีข้อมูลยืนยันออกมาว่า ยิ่งแม่สูบบุหรี่มากลูกที่คลอดออกมาก็จะยิ่งตัวเล็กลง และการทำงานของอวัยวะต่าง ๆ ของร่างกาย โดยเฉพาะอย่างยิ่งสมอง เกิดความบกพร่องได้
แม่ที่สูบบุหรี่ยังจะประสบปัญหาน้ำนมน้อยมากกว่าแม่ที่ไม่สูบ เพราะว่านิโคตินจะไปลดโปรแลกตินในกระแสเลือด และหากแม่สูบบุหรี่ในระหว่างให้นม ก็จะทำให้ลูกมีอัตราเสี่ยงสูงที่จะมีอาการ “โคลิค” คือ ปวดท้อง ลำไส้บีบรัดตัวเป็นพัก ๆ การสูบบุหรี่ของคุณแม่ยังอาจจะลดภูมิต้านทานของลูกต่อโรคไหลตายหรือการตายอย่างเฉียบพลัน รวมถึงลดภูมิคุ้มกันต่อการติดเชื้อของต่อมไทรอยด์ และปัญหาทางสมองอีกด้วย เพราะนิโคตินจะไปลดไอโอดีนในนมแม่ นอกจากนี้นิโคตินในนมแม่ยังทำให้เกิดตะคริวของกล้ามเนื้อหน้าท้อง ท้องเสีย และอาการคลื่นไส้อาเจียนในทารกด้วย
ผลการศึกษายืนยันออกมาว่า คุณแม่ที่สูบบุหรี่มีอัตราที่จะให้ลูกหย่านมเร็วขึ้น เพราะคุณแม่นักสูบหันไปให้ลูกกินนมผสมแทน ด้วยเกรงว่าสารพิษจากบุหรี่จะถ่ายทอดไปยังลูก ถ้าคุณจะเลิกให้นมลูกด้วยเหตุผลดังกล่าว ก็คงจะบอกได้เลยว่าคุณคิดผิด เพราะแม้ว่าการเลี้ยงลูกด้วยนมของคุณแม่นักสูบ ก็ยังมีความเสี่ยงในการติดเชื้อและโรคต่าง ๆ ที่ต่ำกว่าทารกที่ถูกเลี้ยงด้วยนมผสมเพราะสารอาหารหลายชนิดในนมแม่ไม่สามารถทดแทนได้ในนมผสมทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณแม่นักสูบ คงไม่ใช่การเลิกให้นมลูก แต่เป็นการ “เลิกสูบ” ต่างหาก ..และทางออกที่ดีที่สุดสำหรับคุณแม่ที่กำลังตั้งท้อง ก็คือ “เลิกสูบบุหรี่” เช่นกัน
ผู้หญิงที่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์มีโอกาสเสี่ยงที่ส่งผลกระทบต่อทารกในครรภ์ มีโอกาสแท้งบุตรและสูญเสียบุตรได้ เพราะสารพิษจากบุหรี่ที่ถ่ายทอดจากกระแสเลือดของแม่ผ่านทางรกมายังทารกได้โดยตรง ผลจากการได้รับสารพิษจากควันบุหรี่ ไม่ว่าทางตรงหรือทางอ้อม (บุหรี่มือสอง) ก็ล้วนเกิดความเสียหายต่อตนเองและคนรอบข้าง เลิกสูบบุหรี่ตั้งแต่วันนี้ ก่อนที่บุหรี่จะทำร้ายคุณ และคนที่คุณรัก
ตั้งครรภ์ และเลิก บุหรี่ไม่ได้ จะมีโอกาสเกิดฟันผุและเหงือกอักเสบ ง่ายกว่าผู้ที่ไม่ได้ตั้งครรภ์ เพราะการสูบบุหรี่จะยิ่งทำให้โรคในช่องปากรุนแรงมากขึ้น ควันบุหรี่ระคายเคืองต่ออวัยวะในช่องปาก สารพิษในควันบุหรี่ ประเภททาร์และนิโคตินจะเพิ่มความเสี่ยงต่อการเกิดโรคในช่องปาก เช่น โรคปริทันต์มะเร็งในช่องปาก การอักเสบและหนาตัวของเนื้อเยื่ออ่อนในช่องปาก เหงือก กระพุ้งแก้มและท่อเปิดต่อมน้ำลาย รวมทั้งทำให้ปากสกปรกฟันเหลือง และมีกลิ่นปากการสูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ทำให้ได้รับสารนิโคติน และคาร์บอนมอนอกไซด์จากควันบุหรี่ทำให้เส้นเลือดหดตัว ส่งผลให้ทารกได้รับสารอาหารน้อยกว่าปกติ เพิ่มความเสี่ยงต่อการแท้งลูกทารกแรกคลอดตัวเล็กน้ำหนักน้อยและเลือดที่ผ่านรกน้อยลง ทำให้ออกซิเจนที่จะเข้าสู่สมองลดลงด้วย และหากสารนิโคตินแทรกซึมผ่านเข้าสู่รกจะส่งผลต่อสมองสติปัญญา และพฤติกรรมทารกในครรภ์ด้วย ที่ร้ายไปกว่านั้นคือ การสูบบุหรี่ของหญิงส่งผลให้ทารกในครรภ์มีโอกาสเกิดปากแหว่ง เพดานโหว่มากกว่าทารกที่มารดา ไม่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์ถึง 2 เท่า และหากแม่ยังคงสูบบุหรี่ ควันบุหรี่ยังส่งผลกระทบโดยตรงทำให้ทารกป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจตอนล่าง หอบหืด และหูชั้นกลางอักเสบหญิงตั้งครรภ์ที่ยังสูบบุหรี่ควรคำนึงถึงเรื่องนี้เป็นสำคัญ ด้วยการเลิกสูบบุหรี่เด็ดขาด
เพื่อลดโอกาสเสี่ยงที่ลูกในครรภ์จะผิดปกติหรือไม่แข็งแรง 3-4 เดือนของการตั้งครรภ์ อัตราเสี่ยงต่างๆที่มีผลต่อทารกจะลดลงมาก วิธีการเลิกบุหรี่สำหรับหญิงตั้งครรภ ์และผู้หญิงทุกคนที่ดีที่สุด คือ ต้องพยายามเลิกด้วยตนเองก่อนการใช้ยา เพราะถึงแม้ว่าปัจจุบันจะมียาหลายชนิดให้ผู้ที่ต้องการเลิกบุหรี่ ทั้งยาที่มีนิโคตินทดแทนบุหรี่ ยาที่ไม่มีนิโคติน และยาสมุนไพรหญ้าดอกขาวที่จะช่วยให้การเลิกบุหรี่สำเร็จมากขึ้น แต่การตัดสินใจใช้ยาทุกชนิดควรปรึกษาแพทย์หรืออยู่ภายใต้คำแนะนำของแพทย์หรือเภสัชกรจะดีที่สุด
การสูบบุหรี่ของหญิงตั้งครรภ์จะส่งผลให้ทารกในครรภ์มีโอกาสเกิด เพดานโหว่ มากกว่าทารกที่มารดาไม่สูบบุหรี่ขณะตั้งครรภ์2เท่าและหากแม่ยังคงสูบบุหรี ควันบุหรี่ยังส่งผลกระทบโดยตรงทำให้ทารกป่วยเป็นโรคระบบทางเดินหายใจตอนล่าง หอบหืด และหูชั้นกลางอักเสบ
โรคที่มีส่วนเกี่ยวข้องจากการสูบบุหรี่
• โรคเกี่ยวกับระบบทางเดินหายใจ
• โรคหัวใจและหลอดเลือด
• โรคมะเร็ง
• ผลต่อผู้ตั้งครรภ์
• โรคที่ขาดเลือดไปเลี้ยงส่วนปลายนิ้วมือ และนิ้วเท้า
• โรคต้อกระจก หรือต้อแก้วตา ที่อาจส่งผลให้ตาบอดได้
• ความรู้สึก ความรับรู้เสื่อมลง
• มีปัญหาเกี่ยวกับการย่อยอาหาร
• มีปัญหาเกี่ยวกับช่องปากและฟัน
ที่มา