Screen NIPTs การตรวจคัดกรองข้อบกพร่องของโครโมโซมทารกตั้งแต่ในครรภ์
logo ข่าวอัพเดท

Screen NIPTs การตรวจคัดกรองข้อบกพร่องของโครโมโซมทารกตั้งแต่ในครรภ์

ข่าวอัพเดท : เมื่อรู้ตัวว่าตนเองตั้งครรภ์ ความปลอดภัยสมบูรณ์ของลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกที่คุณแม่คุณพ่อหลายคนนึกถึง แต่ทารกในอายุครรภ์เริ่มแรก แม่และเด็ก,nifty test,ตรวจครรภ์,ตรวจเลือด,ทารก,ตั้งครรภ์,พ่อแม่

437 ครั้ง
|
28 ก.ย. 2566
เมื่อรู้ตัวว่าตนเองตั้งครรภ์ ความปลอดภัยสมบูรณ์ของลูกน้อยเป็นสิ่งสำคัญลำดับแรกที่คุณแม่คุณพ่อหลายคนนึกถึง แต่ทารกในอายุครรภ์เริ่มแรกอาจจะยังไม่สามารถตรวจเช็กผ่านระบบอัลตราซาวด์ได้ 100% เป็นความกังวลของคุณพ่อ คุณแม่ทุกคน การอัลตราซาวด์อย่างเดียวอาจจะไม่เพียงพอ แต่ในปัจจุบันนี้ด้วยเทคโนโลยีที่ก้าวหน้าจึงทำให้มีการตรวจเช็กข้อบกพร่องของทารกในครรภ์ที่มีอายุครรภ์น้อยได้แล้วเพื่อตรวจหาปัญหาและเป็นแนวทางในการแก้ปัญหาหากเกิดข้อบกพร่องกับทารกในครรภ์ได้อย่างไม่สายเกินไป
 
การตรวจ NIPT หรือ Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) คือการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์จากเลือดมารดา
 
ข่าวอัพเดท : Screen NIPTs การตรวจคัดกรองข้อบกพร่
 
การตรวจ NIPT หรือ Non-Invasive Prenatal Testing (NIPT) คือการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมทารกในครรภ์จากเลือดมารดาที่ส่งผลให้เกิดความพิการ ไม่สมประกอบทั้งด้านร่างกาย เช่น ปากแหว่งเพดานโหว่ ภาวะไทรอยด์บกพร่อง หัวใจพิการแต่กำเนิด โรคดาวน์ซินโดรม การทดสอบโดยปกติ เลือดของมารดาจะมีชิ้นส่วนสารพันธุกรรมจากรกปน การทดสอบ NIPT นี้เป็นการตรวจคัดกรองที่ใช้ตัวอย่างเลือดมารดาเพียงเล็กน้อย การทดสอบนี้ไม่มีความเสี่ยงที่จะเกิดอันตรายต่อทารกในครรภ์ ระยะรอผลการทดสอบภายใน 14 วัน โดยการผลการตรวจ NIPT นั้นแม่นยำมากกว่า 90% เลยทีเดียว
 
กลุ่มคุณแม่ตั้งครรภ์ที่ควรตรวจ

1. หญิงตั้งครรภ์ที่มีอายุตั้งแต่ 35 ปีขึ้นไป

2. หญิงตั้งครรภ์ที่ครอบครัวมีประวัติความผิดปกติของโครโมโซม 21,18 และ 13

3. หญิงตั้งครรภ์ที่เคยมีประวัติคลอดบุตรที่มีโครโมโซมผิดปกติ

4. หญิงตั้งครรภ์ที่ทำอัลตราซาวด์แล้วพบว่าทารกมีโอกาสที่จะมีโครโมโซมผิดปกติ

 
กลุ่มคุณแม่ตั้ครรภ์ที่ไม่เหมาะสมในการตรจ

1. เป็นมะเร็ง

2. มีความผิดปกติของโครโมโซมชนิด trisomy

3. ได้รับเลือดภายในระยะเวลา 12 เดือนที่ผ่านมา

4. ผ่านการบำบัดด้วยสเต็มเซลล์หรือการรักษาด้วยภูมิคุ้มกันบำบัด

5. ได้รับการผ่าตัดปลูกถ่ายอวัยวะ

การตรวจ NIPT คัดกรองโรคใดได้บ้าง ?
การตรวจ NIPT สามารถประเมินความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะมีความผิดปกติของกลุ่มอาการดาวน์ (มีโครโมโซมคู่ที่ 21 เกินมา 1 แท่ง หรือ Trisomy 21) กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ด (มีโครโมโซมคู่ที่ 18 เกินมา 1 แท่ง หรือ Trisomy 18) และกลุ่มอาการพาทัว (มีโครโมโซมคู่ที่ 13 เกินมา 1 แท่ง หรือ Trisomy 13) กลุ่มอาการเอ็ดเวิร์ดและกลุ่มอาการพาทัว พบได้น้อยกว่ากลุ่มอาการดาวน์ แต่มีความรุนแรงและทารกมีโอกาสเสียชีวิตสูง
 
ผลการตรวจจะแสดงผลลัพธ์เป็นระดับความเสี่ยง
ค่าความเสี่ยงต่ำ : หมายความว่าทารกในครรภ์มีความเสี่ยงที่เกิดความผิดปกติน้อยมาก
ค่าความเสี่ยงสูง : หมายความว่า ทารกในครรภ์นั้นมีความเสี่ยงที่จะเกิดความผิดปกติของโครโมโซมมาก จำเป็นต้องมีการติดตามผลและวินิจฉัยเพิ่มเติม เช่น เจาะน้ำคร่ำเพิ่มเติม หรือตรวจชิ้นเนื้อรก
ไม่มีผลลัพธ์ : หมายความว่า ปริมาณดีเอ็นเอของทารกในครรภ์อาจจะไม่เพียงพอต่อการวิเคราะห์ จำเป็นต้องเจาะเลือดเพิ่มต่อไป 
 
การตรวจ NIPT ให้ผลการตรวจ ที่มีความถูกต้องถึง 99% นอกจากนี้ ยังสามารถตรวจเพศของทารกในครรภ์ได้ ในบางกรณีที่ข้อมูลในการวิเคราะห์เพศไม่เพียงพอ อาจมีการรายงานผลว่าไม่สามารถตรวจทราบเพศของทารกในครรภ์ได้ แต่ไม่มีผลกระทบต่อผลการตรวจคัดกรองความผิดปกติของโครโมโซมคู่ที่ 21, 18 และ 13
 
 
อ้างอิงข้อมูล