ออสเตรเลีย พัฒนาวัคซีนป้องโควิด ด้วยนาโนเซลลูลาร์ ต้านเดลตาได้สูง
logo ข่าวอัพเดท

ออสเตรเลีย พัฒนาวัคซีนป้องโควิด ด้วยนาโนเซลลูลาร์ ต้านเดลตาได้สูง

ข่าวอัพเดท : วันที่ 9 ก.ย.64 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ดร.เจนนิเฟอร์ แม็กเดียร์มิด และฮิมันชู พราหมณ์ภัตต์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ ออสเตรเลีย,วัคซีน,โควิด,นาโนเซลลูลาร์,เดลตา

1,169 ครั้ง
|
09 ก.ย. 2564
วันที่ 9 ก.ย.64 สำนักข่าวต่างประเทศรายงานว่า ดร.เจนนิเฟอร์ แม็กเดียร์มิด และฮิมันชู พราหมณ์ภัตต์ ผู้ร่วมก่อตั้งบริษัทเทคโนโลยีชีวภาพ EnGeneIC ของออสเตรเลีย เปิดเผยว่า ได้พัฒนาวัคซีนป้องกันโควิดด้วยเทคโนโลยีนาโนเซลลูลาร์ หรือที่เรียกว่า EDV โดยได้ทำการทดลองในสัตว์เรียบร้อยแล้ว พบว่าสามารถกระตุ้นการตอบสนองภูมิคุ้มกันได้ มีประสิทธิภาพในการป้องกันโควิดหลายสายพันธุ์โดยเฉพาะสายพันธุ์เดลตา
 
จากการทดลองในสัตว์พบว่า วัคซีนมีมีประสิทธิภาพในการป้องกันสายพันธุ์เดลตาได้มากกว่า 95 เปอร์เซ็นต์ และวัคซีนโควิด EDV ของ EnGeneIC ยังสามารถเก็บไว้ที่อุณหภูมิห้อง และมีอายุการเก็บรักษานานกว่า 3 ปี ทำให้สามารถเคลื่อนขนส่งไปยังพื้นที่ทั่วโลกได้อย่างสะดวก แต่ยังไม่มีข้อมูลว่าวัคซีน EDV นี้ต้องใช้ฉีดทั้งหมดกี่เข็ม
 
ขณะนี้ วัคซีนดังกล่าวยังได้เริ่มทำการทดลองทางคลินิกระยะที่ 1 ในอาสาสมัครผู้ใหญ่ 2 คน ซึ่งจะทดสอบความปลอดภัยและการตอบสนองของภูมิคุ้มกัน โดยวัคซีนของ EnGeneIC จะถูกบรรจุด้วยโมเลกุล 3 ชนิดที่ไม่ซ้ำกัน ได้แก่
 
1.โมเลกุลที่ผลิตโปรตีนหนามของเชื้อไวรัส กระตุ้นการตอบสนองของแอนติบอดี
 
2. โมเลกุลที่กระตุ้นเซลล์ในระบบภูมิคุ้มกัน
 
3. โมเลกุลที่เปลี่ยนการตอบสนองของแอนติบอดีต่อต้านไวรัสให้เป็นเหมือนตีนตุ๊กแก เพื่อรับมือเชื้อที่กลายพันธุ์
 
ก่อนหน้านี้วัคซีนเทคโนโลยีนาโนเซลลูลาร์ได้พัฒนาเพื่อการรักษามะเร็ง และปัจจุบันยังไม่มีวัคซีนโควิดที่พัฒนาขึ้นเพื่อผู้ที่มีภูมิคุ้มกันบกพร่อง ผู้ที่เป็นมะเร็ง โรคภูมิคุ้มกันทำลายตนเอง โรคเรื้อรังต่างๆ หรือแม้แต่ผู้สูงวัย ซึ่งเป็นกลุ่มเสี่ยงในการติดเชื้อ และมีแนวโน้มที่จะไม่ตอบสนองต่อวัคซีนโควิดที่มีอยู่ในปัจจุบัน และถ้าการทดลองได้แสดงผลในเชิงบวก จะแสดงให้เห็นว่า วัคซีนมีความปลอดภัยมาก ไม่เป็นอันตรายต่อเซลล์ที่มีสุขภาพ