หลายวันมานี้ข่าว โรคอาร์เอสวีระบาด มิหนำซ้ำยังมีการระบุด้วยว่า โรคนี้รุนแรงกว่าโควิด-19 เสียอีก รายการรอดไปด้วยกันจะสรุปว่าโรคนี้คืออะไร ติดได้อย่างไร ใครคือกลุ่มเสี่ยง และมีความอันตรายอย่างไรบ้าง
ประเทศไทยปีนี้เรียกได้ว่าหนักหน่วงเลือดสาดตั้งแต่ต้นปียันปลายปี โดยเฉพาะวิกฤตโควิด-19 สร้างผลกระทบสั่นสะเทือนไปทุกวงการ แต่ยังไม่พอ ล่าสุด เพจ ‘Infectious ง่ายนิดเดียว’ โพสต์ข้อความระบุว่า “ไทยระบาดหนักกว่าโควิดก็ RSV อาการหนัก ระบาดหนักช่วงนี้ คนไข้เด็กทั่วประเทศ ทั้ง รพ.รัฐ เอกชน คลินิก รพ.สต. ป่วยด้วยไข้หวัด หลอดลมอักเสบ ปอดอักเสบจากเชื้อไวรัส RSV (อาร์เอสวี) เยอะมากๆ แน่นทุก รพ. อาการไข้ ไอ เสมหะ น้ำมูก บางรายอาการหนัก มีหอบเหนื่อย หายใจมีเสียงหวีด”
โรคอาร์เอสวี พบมากในเด็กทุกกลุ่มอายุ ส่วนมากอาการไม่รุนแรงมักหายป่วยภายใน 1-2 สัปดาห์ แต่อาจจะพบว่ามีอาการรุนแรงได้ในเด็กเล็ก โดยเฉพาะถ้าเป็นเด็กอายุน้อยกว่า 1 ปี กลุ่มเสี่ยง คือ เด็กเล็กอายุน้อยกว่า 5 ปี ยิ่งอายุน้อยยิ่งรุนแรง คลอดก่อนกำหนด มีโรคประจำตัวเช่น ปอด หัวใจ
สำหรับการรักษา รักษาตามอาการ ไม่มียาต้านไวรัสเฉพาะ ดังนั้น วิธีการรักษาคือ พ่นยา ดูดเสมหะ ให้ออกซิเจน ให้สารน้ำ ยาลดไข้ อาการหลักๆ คือ หลอดลมบวม ตีบแคบ ทำให้หายใจหอบเหนื่อย ลมเข้าปอดได้ แต่ออกลำบาก เด็กจึงต้องหายใจเร็วและแรง หลอดลมไวและตีบได้ ไวต่อสิ่งกระตุ้น และสารคัดหลั่งในหลอดลมมาก และอุดหลอดลม หายใจลำบาก ต้องดูดเสมหะช่วย บางรายรุนแรงถึงขั้นต้องให้ออกซิเจน หรือใส่ท่อช่วยหายใจใน icu
สำหรับอาการต้องสงสัย มีตั้งแต่เป็นหวัด ไอ น้ำมูก จนไปถึงปอดอักเสบ หายใจล้มเหลว ไวรัสตัวนี้ หายดีแล้วมีโอกาสเป็นซ้ำ ร่วมกับถ้ามีประวัติภูมิแพ้ในครอบครัว พ่อหรือแม่ อนาคตเด็กอาจจะเป็นโรคหอบหืดตามมาได้ หากใครมีอาการเหล่านี้ ให้ต้องพึงระวังตนเองเป็นพิเศษ
การป้องกันโรคอาร์เอสวี
1. หลีกเลี่ยงไปชุมชนคนเยอะ หรือเลี่ยงการอยู่ใกล้ผู้ใหญ่ และเด็กที่ป่วย ถ้าป่วยต้องอยู่บ้าน หยุดเรียน พบแพทย์
2. วัคซีนโรคอื่นๆ ที่ป้องกันร่วมได้ เช่น ไข้หวัดใหญ่ วัคซีนไอพีดี เป็นทางเลือกสามารถฉีดได้
3. รักษาความอบอุ่นของร่างกาย ช่วงนี้อากาศเย็น หนาว ไวรัสชอบ
4. คนมีโรคประจำตัวเช่น หอบหืด โรคหัวใจ โอกาสติด RSV แล้วอาการรุนแรงกว่าเด็กทั่วไป ต้องระวังอย่าขาดยา และถ้าป่วยต้องรีบมาพบแพทย์
5. ล้างมือ สวมหน้ากาก รักษาระยะห่าง ป้องกัน RSV ไข้หวัดใหญ่ ปอดอักเสบได้ มาตรการเดียวกับป้องกันโรคโควิด-19
+ อ่านเพิ่มเติม