นายวิชา มหาคุณ อดีตกรรมการ ป.ป.ช. ในฐานะประธานกรรมการตรวจสอบข้อเท็จจริง และข้อกฎหมายกรณีอัยการสูงสุดสั่งไม่ฟ้อง ในคดี ที่นายวรยุทธ หรือ "บอส อยู่วิทยา" ขับรถชน ดาบตำรวจวิเชียร เสียชีวิต เมื่อปี 2555 พบ มีการร่วมมือกันอย่างเป็นระบบของเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรม เจ้าหน้าที่ของรัฐ ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ทนายความ พยาน และบุคคลทั่วไป ในการเข้าแทรกแซงกระบวนการยุติธรรมมาอย่างต่อเนื่องตั้งแต่ช่วงเริ่มต้นของการดำเนินคดีจนถึงปัจจุบัน โดยใช้ช่องโหว่ของกฎหมายใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบ ใช้อิทธิพลบังคับ และการสร้างพยานหลักฐานอันเป็นเท็จ เพื่อช่วยเหลือผู้ต้องหาให้รอดพ้นจาก การถูกดำเนินคดีตามกฎหมาย ดังนี้
- พฤติการณ์ของผู้ต้องหา
ข้อมูลตามเอกสารรายงานระบุว่า พฤติการณ์ของผู้ต้องหาที่ชนแล้วไม่หยุดรถลงมาช่วย และพาร่างผู้ตายไปไกลกว่า 60 เมตร ทำให้เกิดข้อสงสัยว่าผู้ต้องหาน่าจะกระทำผิด *ฐานฆ่าคนตายโดยเจตนาเล็งเห็นผล*เพราะวิสัยวิญญูชนเมื่อขับชนคนต้องหยุดรถทันทีเพื่อตรวจสอบความเสียหายหรือไม่ความช่วยเหลือ
- ความผิดปกติในชั้นการสอบสวน
นายวิชา มหาคุณ กล่าวว่า คดีนี้ใช้เวลาถึง 6 เดือนในการสอบสวน แต่ไม่สามารถเอาตัวผู้ต้องหามาส่งฟ้องศาลได้ มีการเปิดช่องให้ผู้ต้องหาร้องขอความเป็นธรรมถึง 14ครั้ง มีการตั้งรูปคดีเพื่อให้ผู้ต้องหาหลุดจากข้อกล่าวหา ไม่มีความจริงใจในการทำสำนวน พนักงานสอบสวนไม่ได้ทำงานด้วยความเป็นมืออาชีพ มีหลักฐานทางวิทยาศาสตร์ชัดว่า พบปริมาณแอลกอฮอฮอล์ในเลือดและบ่งชี้ถึงสารเสพติดในร่างกาย แต่กลับไม่นำมาใส่ไว้ในสำนวน และยังพลิกให้กลายเป็นการเมาหลังขับ มีการสร้างพยานเท็จ โดย สารวัตรปราบปราม สน. ทองหล่อ นำตัวคนใช้บ้านผู้ต้องหามามอบตัว มีการตั้งข้อหาเท็จต่อ ดาบตำรวจวิเชียร ผู้ตาย ให้เป็นผู้ต้องหาร่วม เพื่อให้รูปคดีเสียหาย ทำให้ผู้ต้องหาพ้นผิด
- ความผิดปกติในชั้นอัยการ
นายวิชากล่าวว่า คดีนี้ผู้ต้องหาร้องขอความเป็นธรรม ถึง 14 ครั้ง เปิดช่องให้ผู้ต้องหาประวิงคดี ทำให้หลายคดีขาดอายุความ และอัยการหลายคนปฏิเสธรับเรื่องไปแล้วถึง 3 ครั้ง โดย อสส.พงษ์นิวัฒน์ 1ครั้ง และ รอง อสส. นิภาพร 2ครั้ง แต่ครั้งสุดท้ายครั้งที่ 14 รองอัยการสูงสุด( น.)กลับมารับเรื่องและนำพยานที่ถูกปฏิเสธ มาเป็นพยานหลัก ทั้งที่คนในสำนักงานอัยการหลายคนไม่เห็นด้วย โดยเฉพาะ อดีตอัยการสูงสุด 4 ท่าน ที่ให้ข้อมูลว่าการจะพลิกคดีจากสั่งฟ้องเป็นสั่งไม่ฟ้องจะต้องมีพยานหลักฐานใหม่ ไม่ใช่นำพยานหลักฐานเก่ามา ถือเป็นการร่วมมือกัน อย่างผิดปกติ
- จุดพลิกคดีนี้
คณะกรรมการตรวจสอบ ยังพบว่าในคดีนี้ พ.ต.อ.ธนสิทธิ์ แตงจั่น ตำรวจพิสูจน์ หลักฐานที่วัดความเร็วได้ 177 กม./ชม. และ ดร.สายประสิทธิ์ เกิดนิยม นักวิชาการ ที่วัดความเร็ว ได้ 79.23 กม./ชม. ถูกกดดันอย่างหนัก และยอมรับว่า วันสอบปากคำที่ในสำนวนระบุวันที่ 26 ก.พ.และ 2 มี.ค. 2559 นั้นเป็นเท็จ โดยวันสอบจริงคือ 29 ก.พ.2559 และมีหลักฐานยืนยันชัดเจน ซึ่งหลังเปิดเผยเรื่องนี้แล้ว ทั้ง2 คน ได้ จอเข้าสู่กระบวนการคุ้มครองพยาน เพราะกลัวมาก ดังนั้นเหตุการณ์ที่เกี่ยวข้องกับ อดีต ผบ.ตร. คนหนึ่ง ในวันที่ 26 ก.พ. ที่ทราบก่อนหน้านี้จริงๆ คือวันที่ 29 ก.พ. แต่มีความพยามตั้งใจระบุวันที่เท็จ เมคขึ้นมาให้เป็นวันที่ 26 ก.พ. ซึ่งวันดังกล่าวอดีต ผบ.ตร. ไม่อยู่ในประเทศไทย แต่ข้อเท็จจริงอดีต ผบ.ตร. กลับไทยมาตั้งแต่วันที่ 27 ก.พ. ซึ่งในรายงานมีท่อนหนึ่งระบุว่า การลงวันที่สอบปากคำเท็จจาก 29 ก.พ. เป็น 26 ก.พ. ในรายงานระบุด้วยว่า เพื่อกันบุคคลบางคนออกจากเรื่องนี้
และคดีนี้มีการร่วมมือกันอย่างเป็นระบบ ของเจ้าพนักงานในกระบวนการยุติธรรม เจ้าหน้าที่รัฐ *ผู้ดำรงตำแหนางทางการเมือง ทยานความ พยานและบุคคลทั่วไป แทรกแซงกระบวนการยุติธรรมในคดีนี้ เพราะปรากฎหลักฐานชัดเจนว่า มีบุคคลจำนวนหนึ่งร่วมกันจัดให้ ดร.สายประสิทธิ์ ได้พบกับพ.ต.อ.ธนสิทธิ์ เพื่อนำเสนอวิธีเปลี่ยนความเร็วใหม่ และมีการสอบพยาน พ.ต.อ.ธนสิทธิ์ เพิ่มภายใต้การของพนักงานอัยการคนหนึ่ง มีการใช้อิทธิพลกดดัน ให้ พ.ต.อ.ธนสิทธิ์ เปลี่ยนความเร็วรถของผู้ต้องหา เพื่อให้สอดคล้องกับการคำนวณของ ดร.สายประสิทธิ์
- ประเด็น กรรมาการ สนช.
ในรายงานยังระบุด้วยว่า ความพยายามทั้งหมดตั้งแต่ต้น เป็นความพยายามใช้หลักฐานเท็จในการร้องขอความเป็นธรรม แต่ก็ยังไม่สำเร็จ ผู้ต้องหา และทีมทนาย และกลุ่มบุคคลที่เกี่ยวข้อง ยังได้ร่วมกันใช้อิทธิพบทางการเมืองกดดันกระบวนการยุติธรรม โดยการร้องขอความเป้นธรรม กับ กรรมาธิการ สนช. ซึ่งมีบุคคลที่มีตำแหน่งระดับสูงอยู่ในกรรมาธิการ ทั้ง ทหาร ตำรวจ ข้าราชการซึ่งกรรมาธิการบางคน ยังได้อ้างหลักฐานเท็จเกี่ยวกับความเร็ว ที่มีการดำเนินการมา เพื่อสนับสนุนการร้องขอความเป็นธรรม และกรรมาธิการคนดังกล่าวยังไปเป้นพยานให้ปากคำสนับสนุนฝั่งผู้ต้องหาด้วย
- ประเด็นความเร็วรถ
อ.วิชา กล่าวว่า แม้นายสายประสิทธิ์ จะให้ข้อมูลทำให้เกิดข้อบิดผันในกระบวนการ แต่ยืนยันว่าเป็นหลักเกณฑ์การคำนวนทางวิศวกร และยอมรับว่าไม่ได้ไปที่เกิดเหตุจริง คำนวนบนกระดาษ และสำนวนที่ไม่ได้นำเอาเอกสารทดสอบอื่นมาเข้าสำนวน ใช้แต่คำเบิกความของ พ.ต.อ.ธนสิทธิ์ ชี้ให้เห็นถึงการหยิบยกพยานหลักฐานที่สร้างขึ้นมาด้วยความเป็นเท็จ แล้วร่วมมือกันระหว่างเจ้าหน้าที่ของรัฐ ทนายความ และปรากฎว่ามีอัยการ 1 คน ที่อยู่ในกระบวนการนี้ด้วย ซึ่ง นายประสงค์ เลิศรัตนวิสุทธิ์ รู้ดีกว่าเป็นใคร ขอให้ไปถามนายประสงค์ ได้เลย
- สรุป
กรรมการจึงเห็นว่า การใช้อำนาจรื้อคดีร้องขอความเป็นธรรม และพลิกคำสั่งฟ้องเป็นสั่งไม่ฟ้องของรองอัยการสูงสุด ขณะนั้นเป็นการใช้อำนาจและดุลพินิจที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายและน่าเชื่อว่ามีเจตนาช่วยเหลือผู้ต้องหามิให้ได้รับโทษ
ส่วนผู้ช่วยผู้บัญชาการตำรวจแห่งชาติ ในขณะนั้น ที่ไม่แย้งคำสั่งฟ้องของอัยการ ถือว่ามีความบกพร่อง เพราะไม่พิจารณษคำสั่งไม่ฟ้องด้วยความรอบคอบก่อให้เกิดผลเสียแก่การบริหารราชการแผ่นดิน
นายวิชากล่าวว่า “กรรมการเห็นตรงกันว่าในกระบวนการคดีนี้นี้มีการทำสำนวนสมยอมไม่สุจริตร่วมมือกัน ตามทฤษฎีสมคบคิดทำให้สำนวนนั้นเสียไปตั้งแต่ต้น เหมือนคำพูดที่ว่า ต้นไม้พิษ สร้างผลไม้ที่เป็นพิษ บริโถคไม่ได้ ต้องเสียงไปทั้งหมด ต้องฟันต้นไม้พิษทิ้งไปให้หมด” จึงเห็นสมควรให้มีการสอบสวนใหม่ และเสนอว่าจะต้องแก้กฎหมายโดยเร่งด่วน และให้อายุความหยุดลงตาม ที่ผู้ต้องหาหลบหนี ในลักษณะเดียวกับคดีทุจริต จนกว่าจะได้ตัวมา สำหรับบุคคลที่อยู่ในตำแหน่งสูง และเป็นผู้นำ ที่อาจจะไม่ถึงอาญา วินัย แต่สามารถดำเนินการได้ทางจริยธรรม และอาจจะให้พ้นจากตำแหน่งได้ โดยศาลฎีกาแผนกคดีอาญาของผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองได้
- ข้อเสนอ
คณะกรรมการฯได้มีข้อเสนอต่อนายกรัฐมนตรี ดังนี้
1. ต้องเริ่มกระบวนการสอบสวนใหม่ให้ถูกต้องในข้อหาที่ยังไม่ขาดอายุความ โดยเฉพาะข้อหาเสพยาเสพติดให้โทษ ข้อหาขับขี่รถในขณะเมาสุราและเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย ข้อหากระทำโดยประมาทเป็นเหตุให้ผู้อื่นถึงแก่ความตาย
2. จะต้องมีการดำเนินการวินัยและทางอาญาต่อเจ้าหน้าที่ของรัฐและบุคคลอื่นที่ร่วมในขบวนการนี้กล่าวคือ
- พนักงานสอบสวนซึ่งเกี่ยวข้องกับสำนวน
- พนักงานอัยการซึ่งปฏิบัติหน้าที่โดยมิชอบ
- ผู้บังคับบัญชาซึ่งแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่
- สมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งรัฐ ซึ่งแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่
- ผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมือง ซึ่งแทรกแซงการปฏิบัติหน้าที่
- ทนายความซึ่งกระทำผิดกฎหมาย
- พยานซึ่งให้การเป็นเท็จ
- ตัวการ ผู้ใช้ และผู้สนับสนุนในการกระทำผิดกฎหมายดังกล่าว
ธีรวัฒน์ ซ้วนตั้น
รายงาน