'เซอร์กิตเบรกเกอร์' ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศ คือสัญญาณบ่งบอกอะไร? เกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจไทย?
logo TERO HOT SCOOP

'เซอร์กิตเบรกเกอร์' ที่ตลาดหลักทรัพย์ฯ ประกาศ คือสัญญาณบ่งบอกอะไร? เกิดอะไรขึ้นกับเศรษฐกิจไทย?

TERO HOT SCOOP : Circuit Breaker คือ การปิดการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นเวลาชั่วคราว ในสำหรับกรณีที่สภาวะการซื้อขายมีความผันผวนรุนแรง เพื่อใ Circuit Breaker,ปิดการซื้อขายหุ้น,ตลาดหลักทรัพย์,รอบ 11 ปี,วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์,ตลาดหุ้นไทย,วิกฤตการณ์ซับไพรม์

12,246 ครั้ง
|
12 มี.ค. 2563
จากกรณีที่มีการประกาศจาก นายภากร ปีตธวัชชัย กรรมการและผู้จัดการ ตลาดหลักทรัพย์แห่งประเทศไทยแถลงข่าวเกี่ยวกับภาวะตลาด หลังจากเช้าวันนี้ ( 12 มี.ค. 63) ตลาดหุ้นไทยร่วงลงหลุดแนวรับสำคัญที่ 1,200 จุด จากสถานการณ์ของโควิด -19 จนเกิดปรากฎการณ์ที่เรียกว่า 'เซอร์กิตเบรกเกอร์' 
 
 
อะไรคือ 'เซอร์กิตเบรกเกอร์' 
 
เซอร์กิตเบรกเกอร์ (Circuit Breaker)  คือ การปิดการซื้อขายหุ้นในตลาดหลักทรัพย์เป็นเวลาชั่วคราว ในสำหรับกรณีที่สภาวะการซื้อขายมีความผันผวนรุนแรง เพื่อให้นักลงทุนมีเวลาในการตรวจสอบข้อมูลข่าวสารที่มีผลกระทบต่อการลงทุนอย่างครบถ้วน ก่อนจะทำการซื้อขายอีกครั้งซึ่งทางตลาดหลักทรัพย์จะหยุดทำการซื้อขายโดยอัตโนมัติเป็นการชั่วคราว ตามหลักเกณฑ์ดังนี้
 
 
ครั้งที่ 1 เมื่อ SET Index เปลี่ยนแปลงลดลงถึง 10%  ของราคาในตลาดหลักทรัพย์วันก่อน โดยจะทำการปิดซื้อขายเป็นเวลา 30 นาที
 
 
ครั้งที่ 2 เมื่อ SET Index เปลี่ยนแปลงลดลงถึง 20% ของราคาในตลาดหลักทรัพย์วันก่อน โดยจะทำการปิดซื้อขายเป็นเวลา 1 ชั่วโมง 
 
 
โดยหลังจากการทำงานครั้งที่ 2 ของ Circuit Breaker แล้วตลาดหลักทรัพย์จะเปิดให้ทำการซื้อขายต่อไป จนถึงเวลาปิดทำการตามปกติโดยไม่มีการหยุดพักการซื้อขายอีก อย่างไรก็ตามหากระยะเวลาในรอบการซื้อขายที่ Circuit Breaker ทำงานนั้นเหลือไม่ถึง 30 นาที หรือ 1 ชั่วโมง ก็ให้หยุดพักการซื้อขายเพียงระยะเวลาที่เหลือในรอบการซื้อขายนั้น แล้วเปิดให้ซื้อขายหลักทรัพย์ได้ตามปกติในรอบการซื้อขายถัดไป
 
 
 
ปรากฎการณ์ 'เซอร์กิตเบรกเกอร์' ในไทย
 
ซึ่งในประวัติศาสตร์ตลาดหุ้นไทย เคยเกิดปรากฏการณ์ Circuit Breaker เป็นจำนวน 3 ครั้งด้วยกัน 
 
 
ครั้งที่ 1 เกิดขึ้นในวันที่ 19 ธันวาคม 2549 ธปท. มีนโยบายกันเงินสำรองจากต่างชาติ 30 %  
 
ส่วนของครั้งที่ 2 เกิดขึ้นในวันที่ 10 ตุลาคม 2551 ในช่วงของ 'วิกฤตการณ์ซับไพรม์' หรือที่รู้จักกันอย่างแพร่หลายว่า 'วิกฤตแฮมเบอร์เกอร์' ที่หุ้นสหรัฐปิดที่จุดต่ำสุดในรอบ 5 ปี
 
และครั้งที่ 3 เกิดขึ้นในวันที่ 27 ตุลาคม ของปีเดียวกัน เป็นความต่อเนื่องจากการปิดครั้งที่ 2 ซึ่งตลาดหุ้นทั่วโลกปรับตัวลงจึงกังวลว่าจะเกิดเศรษฐกิจต่ำตกอย่างหนักทั่วโลก และครั้งนี้ถือว่าเป็นครั้งที่ 4 ในรอบ 11 ปีของตลาดหุ้นไทย 
 
 
 
ขอบคุณข้อมูลจาก : ลงทุนแมน, ประชาชาติธุรกิจ