ผลเลือกตั้งสภาฝรั่งเศส พรรคสายกลางของ "มาครง" คว้าชัย เดินหน้าปฏิรูปครั้งใหญ่ - พรรคหลักร่วง!
logo ข่าวอัพเดท

ผลเลือกตั้งสภาฝรั่งเศส พรรคสายกลางของ "มาครง" คว้าชัย เดินหน้าปฏิรูปครั้งใหญ่ - พรรคหลักร่วง!

ข่าวอัพเดท : พรรค Republic on the Move (REM) ของประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศสคว้าเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาฝรั่งเศสได้สำเร็จ หลังผลการนับคะ ฝรั่งเศส,เลือกตั้ง,รัฐสภา

3,116 ครั้ง
|
19 มิ.ย. 2560
พรรค Republic on the Move! (REM) ของประธานาธิบดีเอมมานูเอล มาครง ของฝรั่งเศสคว้าเสียงส่วนใหญ่ในรัฐสภาฝรั่งเศสได้สำเร็จ หลังผลการนับคะแนนการเลือกตั้งสมาชิกรัฐสภารอบสองซึ่งเสร็จสิ้นแล้วปรากฎว่าพรรค REM คว้าที่นั่งไปแล้วรวมกว่า 308 ที่นั่งจาก 577 ที่นั่ง
 
ส่วนพรรค Democratic Movement (MoDem) ที่เป็นพันธมิตรกลุ่มสายกลางของ REM ก็ได้ไป 42 ที่นั่ง โดยมีรายงานว่าการเลือกตั้งรอบสองนี้มีผู้ออกมาใช้สิทธิ์เพียงร้อยละ 42 ต่ำกว่าการเลือกตั้งเมื่อ 5 ปีที่แล้วซึ่งมีผู้ออกมาใช้สิทธิ์อยู่ที่ร้อยละ 55
 
อย่างไรก็ตาม จำนวนที่นั่งที่พรรค LREM และพรรค MoDem คว้าชัยดังกล่าวก็ยังต่ำกว่าที่นักวิเคราะห์คาดการณ์ไว้ว่าจะได้ที่นั่งไปถึง 400-470 ที่นั่ง
 
ข่าวอัพเดท : ผลเลือกตั้งสภาฝรั่งเศส พรรคสายกลางข
 
ด้านพรรคฝ่ายซ้ายกระแสหลักอย่างพรรค The Socialists ซึ่งเคยกวาดที่นั่งมากสุดในการเลือกตั้งเมื่อ 5 ปีที่แล้วถึง 280 ที่นั่ง ถูกลดจำนวนเก้าอี้ลงต่ำสุดเป็นประวัติการณ์เหลือเพียง 29 ที่นั่งเท่านั้น ซึ่งนักวิเคราะห์ระบุสาเหตุว่ามาจากการบริหารประเทศของอดีตประธานาธิบดีฟรังซัวส์ ออลลองด์ในสมัยที่แล้ว ซึ่งมีปัญหาอัตราการว่างงานสูง, การโจมตีของกลุ่มก่อการร้าย และความเชื่อมั่นที่ลดลง ผลเลือกตั้งเช่นนี้ทำให้นายฌอง-คลูด กอมบาเดลีส์ หัวหน้าพรรค The Socialists ประกาศลาออกจากตำแหน่งในทันที
 
ส่วนตำแหน่งพรรคฝ่ายค้านที่ได้เก้าอี้มากที่สุดในการเลือกตั้งครั้งนี้ตกเป็นของกลุ่มพรรคฝ่ายขวาอย่าง The Republicans และพรรคพันธมิตร ซึ่งได้เสียงอยู่ที่ราว 137 ที่นั่ง แต่ก็ยังน้อยกว่าการเลือกตั้งครั้งก่อนซึ่งเสียงรวมของพรรคฝ่ายขวาอยู่ที่ 229 ที่นั่ง
 
และพรรค National Front หรือพรรค FN ซึ่งเป็นพรรคขวาจัดและนำโดยนางมารีน เลอ เปน อดีตคู่แข่งนายมาครงในการเลือกตั้งประธานาธิบดีก็อยู่ในภาวะตกที่นั่งลำบากเช่นกัน หลังวางเป้าหมายไว้ที่ 15 เก้าอี้ แต่ได้มาเพียง 8 เก้าอี้
 
ผลคะแนนเช่นนี้เปิดทางให้นายมาครง ซึ่งเป็นประธานาธิบดีที่อายุน้อยที่สุดในประวัติศาสตร์ฝรั่งเศสดำเนินตามแผนปฏิรูปเศรษฐกิจและสังคมครั้งใหญ่ นโยบายของเขามีตั้งแต่การปรับลดการใช้งบประมาณราว 60 ล้านยูโรในอีก 5 ปีข้างหน้า, การตัดลดจำนวนข้าราชการกว่า 120,000 อัตรา, ปฏิรูปตลาดแรงงานและโครงสร้างบำเหน็จบำนาญข้าราชการใหม่ และหันมาสนับสนุนธุรกิจต่างๆ เช่นการลดภาษี
 
ส่วนนโยบายเกี่ยวกับยุโรปนั้น มาครงต้องการให้ฝรั่งเศสอยู่ในยูโรโซน (หรือกลุ่มประเทศที่ใช้เงินสกุลยูโร) ต่อไป แต่อยู่ภายใต้การปฏิรูปให้มียูโรโซนมีงบประมาณแยกของตนเอง และต้องการให้มีรัฐมนตรีการคลังของยูโรโซนด้วย
 
อย่างไรก็ดี เขาต้องเผชิญแรงกดดันจากปัญหาความไม่พอใจของประชาชน, เศรษฐกิจที่ฟื้นตัวช้า, การว่างงานและความมั่นคงที่รออยู่ นับเป็นงานที่ไม่ง่ายของพรรค REM ซึ่งจัดตั้งขึ้นได้เพียงปีกว่าๆ และผู้ลงสมัครรับเลือกตั้งกว่าครึ่งไม่ค่อยมีประสบการณ์ทางการเมือง
 
(ภาพจากสำนักข่าว CNN) 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง