พณ.ยันไม่ถอดน้ำตาลทรายจากรายการสินค้าควบคุม แม้เตรียมลอยตัวราคา เพียงยกเลิกเพดานขายปลีก
logo ข่าวอัพเดท

พณ.ยันไม่ถอดน้ำตาลทรายจากรายการสินค้าควบคุม แม้เตรียมลอยตัวราคา เพียงยกเลิกเพดานขายปลีก

ข่าวอัพเดท : กระทรวงพาณิชย์ยืนยันไม่จำเป็นต้องถอดน้ำตาลทรายออกจากรายการสินค้าควบคุม แม้เตรียมลอยตัวราคาในช่วงเดือนตุลาคมนี้ ระบุเป็นสินค้าจำเป็น พณ,กระทรวงพาณิชย์,พาณิชย์,น้ำตาลทราย,สินค้า,ควบคุม,ลอยตัว

8,974 ครั้ง
|
27 ก.พ. 2560
กระทรวงพาณิชย์ยืนยันไม่จำเป็นต้องถอดน้ำตาลทรายออกจากรายการสินค้าควบคุม แม้เตรียมลอยตัวราคาในช่วงเดือนตุลาคมนี้ ระบุเป็นสินค้าจำเป็น เพียงแค่ประกาศยกเลิกราคาเพดานเท่านั้น
 
 
นายสมศักดิ์ เกียรติชัยลักษณ์ รองอธิบดีกรมการค้าภายใน เปิดเผยว่า จากแนวคิดที่กระทรวงอุตสาหกรรมจะลอยตัวราคาน้ำตาล ช่วงเดือนตุลาคม เพื่อให้ราคาปรับเปลี่ยนไปตามกลไกตลาดโลกนั้น กระทรวงพาณิชย์จะดูแลให้ราคาเป็นไปตามกลไกตลาด และไม่ให้จำหน่ายเกินราคา ตลอดจนดูแลปริมาณให้เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ ที่มีการใช้ประมาณ 2.26 ล้านล้านตันต่อปี เนื่องจากราคาน้ำตาลทรายหลังจากจากที่ลอยตัวในเดือนตุลาคมแล้ว กระทรวงอุตสาหกรรม จะเป็นผู้ที่ประกาศราคาอ้างอิงตามราคาตลาดโลกให้กับผู้ประกอบการได้รับทราบ และกลไก รวมถึงการดูแลราคานั้น จะเป็นไปในรูปแบบลักษณะเดียวกันกับราคาน้ำมันเชื้อเพลิง
 
นอกจากนี้ เห็นว่าไม่จำเป็นต้องถอดรายการน้ำตาลทรายออกจากบัญชีสินค้าควบคุม หลังจากลอยตัวราคาแล้ว เนื่องจากน้ำตาลทรายเป็นสินค้าจำเป็น ดังนั้นอาจจะเพียงขอมติจากที่ประชุม คณะกรรมการว่าด้วยราคาสินค้าและบริการ หรือ กกร. ออกประกาศยกเลิกการกำหนดราคาเพดานน้ำตาลทรายเท่านั้น ซึ่งปัจจุบันมีการกำหนดราคาเพดาน ห้ามจำหน่ายเกิน กิโลกรัมละ 23 บาท 50 สตางค์ แต่การลอยตัวยังไม่ได้เกิดขึ้นทันที ซึ่งกระทรวงพาณิชย์ และกระทรวงอุตสาหกรรมยังคงต้องหารือกันอย่างต่อเนื่อง และผู้บริโภคยังสามารถซื้อน้ำตาลทรายในราคาเดิมที่กำหนดไว้ให้จำหน่ายไม่เกิน 23 บาท 50 สตางค์ เท่าเดิม จนกว่าจะมีการประกาศลอยตัว
 
โดยเชื่อว่า แม้จะลอยตัวราคาน้ำตาลแล้ว ก็ไม่มีผลต่อราคาสินค้าเกี่ยวเนื่องที่ใช้น้ำตาลทราย เพราะการลอยตัวไม่ได้ทำให้ราคาน้ำตาลทรายเปลี่ยนแปลงมากนัก ขณะเดียวกันเมื่อราคาน้ำตาลทรายโลกลดลง ผู้บริโภคก็จะได้ซื้อน้ำตาลทรายในราคาที่ถูกลงเช่นกัน จึงมั่นใจว่าผู้บริโภค จะไม่ได้รับความเดือดร้อน
ทั้งนี้ สาเหตุที่กระทรวงอุตสาหกรรม ตัดสินใจลอยตัวราคาน้ำตาล เนื่องจาก บราซิลฟ้องต่อองค์การการค้าโลก หรือ WTO ว่าประเทศไทยอุดหนุนราคาในประเทศ จนกระทบต่อราคาส่งออกให้ตกต่ำลง
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง