พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 กับโครงการ 'แพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน' บำบัดทุกข์แก่ราษฎรในถิ่นทุรกันดาร
logo ข่าวอัพเดท

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 กับโครงการ 'แพทย์เคลื่อนที่พระราชทาน' บำบัดทุกข์แก่ราษฎรในถิ่นทุรกันดาร

ข่าวอัพเดท : แม้ว่าการบริการของรัฐด้านสาธารณสุข จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อพิจารณาถึงความทั่วถึงแล้ว พบว่าพื้นที่ที่ห่างไกลอีกมากมายยังขาดแคลน พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช,ในหลวง,ถิ่นทุรกันดาร,พระราชกรณียกิจ,โครงการหลวง,โครงการอันเนื่องมากจากพระราชดำริ

11,414 ครั้ง
|
17 ต.ค. 2559
แม้ว่าการบริการของรัฐด้านสาธารณสุข จะขยายตัวอย่างรวดเร็ว แต่เมื่อพิจารณาถึงความทั่วถึงแล้ว พบว่าพื้นที่ที่ห่างไกลอีกมากมายยังขาดแคลนบริการสาธารณสุข และกระจุกตัวกันอยู่ในเมืองใหญ่ๆ จะเห็นได้ว่าอัตราการเสียชีวิตจากโรคที่ป้องกันได้ อัตราการเสียชีวิตของมารดา และอัตราการเสียชีวิตของของเด็กที่ขาดอาหาร เหล่านี้ยังอยู่ในอัตราสูง จากข้อมูลดังกล่าว จึงเป็นเครื่องชี้วัดคุณภาพชีวิตของราษฎรในชนบทได้เป็นอย่างดี
 
เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินเยี่ยมเยียนราษฎร พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงเล็งเห็นถึงปัญหาด้านการสาธารณสุขของราษฎรในชนบท หลังกลับจากเสด็จประพาส จึงได้มีพระราชดำริที่จะยกระดับความเป็นอยู่ของราษฎรให้มีชีวิตความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น
 
ข่าวอัพเดท : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที
 
 
โครงการหน่วยแพทย์พระราชทานจึงได้ถือกำเนิดขึ้นในปี พ.ศ. 2510 ซึ่งเป็นโครงการในพระราชดำริที่ทรงจัดตั้งขึ้นเพื่อดูแลคุณภาพชีวิตด้านสาธารณสุขของราษฎรในพื้นที่ห่างไกลและไม่สามารถเข้าถึงบริการด้านการแพทย์โดยเฉพาะ
 
ข่าวอัพเดท : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที
 
 
ทรงพระราชทานเจ้าหน้าที่ด้านการแพทย์ พยาบาล เครื่องมือ เครื่องใช้ ตลอดจนยารักษาโรค ออกทำการตรวจรักษาราษฎรในท้องถิ่นกันดารโดยไม่คิดมูลค่า ซึ่งเริ่มต้นที่จังหวัดเพชรบุรี ราชบุรี และประจวบคีรีขันธ์ 
 
จากการดำเนินโครงการในครั้งนั้นเอง ทำให้ทรงพบอีกว่า ราษฎรป่วยเป็นโรคในช่องปากและฟันเป็นจำนวนมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้จัดตั้งหน่วยทันตกรรมพระราชทาน ซึ่งประกอบไปด้วยหน่วยแพทย์เคลื่อนที่ ทันตแพทย์ รถยนต์ขนาดใหญ่ 1 คัน ที่มีเก้าอี้ทำฟัน และเครื่องมือทำฟันต่างๆ อย่างครบครัน เพื่อออกทำการตรวจรักษาช่องปากแก่ราษฎรโดยไม่คิดมูลค่าอีกเช่นกัน
 
นอกจากนี้ ภายหลังยังส่งแพทย์พระราชทานที่ตามเสด็จ ให้ตรวจสุขภาพราษฎรขณะที่ออกเยี่ยมเยียนราษฎรอีกด้วย
 
ข่าวอัพเดท : พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที
 
 
พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช ทรงมีความห่วงใยราษฎรเป็นอย่างมาก หลังกลับจากเยี่ยมเยียนราษฎรแล้วก็ยังไม่ทรงคลายความกังวล ในปี พ.ศ. 2525 จึงทรงจัดให้มีการอบรมความรู้ด้านสุขอนามัย หรือที่เรียกว่า 'หมอหมู่บ้าน' แก่ตัวแทนหมู่บ้าน อันได้แก่ ความรู้เรื่องการปฐมพยาบาลเบื้องต้น การป้องกันโรคขั้นพื้นฐาน ความรู้เรื่องโภชนาการ เพื่อให้นำความรู้กลับไปช่วยเหลือประชาชนในหมู่บ้าน
 
ผลจากการดำเนินโครงการอันเนื่องมาจากพระราชดำริทั้งหลายเหล่านี้เอง ทำให้ในปัจจุบัน ราษฎรในถิ่นทุรกันดารสามารถเข้าถึงการรักษาได้มากขึ้น นอกจากนี้โครงการยังพัฒนาขึ้นอย่างต่อเนื่อง โดยมีแพทย์เฉพาะทาง เช่น คณะแพทย์ หู คอ จมูก โรคภูมิแพ้ และจักษุแพทย์ เพื่อให้การรักษาได้อย่างตรงจุดและประสิทธิภาพ นับเป็นพระมหากรุณาธิคุณอย่างล้นพ้นที่ทรงบำบัดทุกข์บำรุงสุขแก่ราษฎรในทุกพื้นที่ของประเทศ

ข่าวที่เกี่ยวข้อง