กรมสุขภาพจิต เร่งป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย
logo ข่าวอัพเดท

กรมสุขภาพจิต เร่งป้องกันปัญหาการฆ่าตัวตาย

ข่าวอัพเดท : รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระบุ แม้สถานการณ์การฆ่าตัวตายในประเทศไทยยังต่ำกว่าต่างประเทศ แต่ก็ต้องเร่งป้องกันเพื่อไม่ให้เ ฆ่าตัวตาย,แก้ปัญหา,กรมสุขภาพจิต

5,384 ครั้ง
|
09 ก.ย. 2559
รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ระบุ แม้สถานการณ์การฆ่าตัวตายในประเทศไทยยังต่ำกว่าต่างประเทศ แต่ก็ต้องเร่งป้องกันเพื่อไม่ให้เกิดความสูญเสียขึ้นอีก
 
เนื่องในวันที่ 10 กันยายน เป็นวันป้องกันการฆ่าตัวตายโลก กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข ร่วมกับสมาคมจิตแพทย์แห่งประเทศไทย จัดสัมมนาป้องกันการฆ่าตัวตาย ครั้งที่ 10 โดยแพทย์หญิงพรรณพิมล วิปุลากร รองอธิบดีกรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า ปัจจุบันอัตราการฆ่าตัวตายในประเทศไทย อยู่ที่ 6.4 ต่อ 1 แสนราย หรือคิดเป็นปีละ 4,000 ราย ซึ่งยังถือยังอยู่ในอัตราที่ต่ำมากเมื่อเทียบกับประเทศอื่นๆ แต่ทุกชีวิตมีคุณค่าและไม่มีใครอยากเห็นความสูญเสียเกิดขึ้น ดังนั้นการป้องกันจึงเป็นสิ่งที่ดีที่สุด โดยคนใกล้ชิดเป็นตัวสำคัญที่จะช่วยยับยั้งป้องกัน ด้วยการสังเกตุการเปลี่ยนแปลงของบุคคลอาจจะเข้าสู่ภาวะอยากฆ่าตัวตาย จากสถานการณ์บางอย่างเครียด ซึ่งหลักๆ จะเกี่ยวกับความขัดแย้งในความสัมพันธ์กับคนใกล้ชิดที่อาจทำให้ไม่สบายใจ รองลงมาเกิดจากโรคเรื้อรังที่ทำให้เป็นกังวล หรือโรคซึมเศร้า และอีกสาเหตุร่วมที่ทำให้เกิดกระตุ้นก็คือการดื่มสุราร่วมด้วย ที่บุคคลนั้นอาจจะดื่มเพื่อหาทางออกลดความเครียด แต่กลับนำเป็นตัวกระตุ้นในเกิดการฆ่าตัวตายมากกว่าเดิม ดังนั้นสิ่งสำคัญก็คือการเฝ้าระวังในการส่งสัญญาณของบุคคลที่อาจจะมีการเปลี่ยนแปลงเกี่ยวกับอารมณ์ที่มากขึ้นเรื่อยๆ เข้าสู่ภาวะซึมเศร้า จนถึงขั้นพยายามทำร้ายตัวเอง การถามตรงๆ ว่าบุคคลนั้นมีความคิดเข้าสู่การฆ่าตัวตายหรือไม่ เป็นอีกวิธีการหนึ่งที่จะทำให้ทราบว่าการฆ่าตัวตายมีผลเพียงใด เพื่อที่จะได้เฝ้าระวังและให้คำปรึกษาแก้ปัญหาได้ โรคซึมเศร้าเป็น 1 ในของการฆ่าตัวตาย แต่ไม่ใช่สาเหตุที่จะต้องฆ่าตัวตายทั้งหมด ซึ่งโรคนี้หลายคนจะรู้ตัวจากสภาวะอารมณ์ที่เปลี่ยนแปลงไป มีความเศร้าของอารมณ์ แต่ไม่เข้าใจว่าสิ่งที่ตัวเองเป็นคือโรคชนิดหนึ่งจึงไม่สามารถเข้าสู่การรักษาได้ ทั้งที่โรคนี้รักษาให้หายได้หากรู้ตัวเร็ว เมื่อถามถึงกรณีของนายธวัชชัย อนุกูล อดีตเจ้าหน้าที่กรมที่ดินจังหวัดพังงาที่เสียชีวิตภายในห้องขังกรมสอบสวนคดีพิเศษ โดยทางดีเอสไออ้างว่าเป็นการผูกคอตายนั้น แพทย์หญิงพรรณพิมล กล่าวว่า สำหรับผู้ต้องหาบางรายที่มีสภาวะเครียดกับเรื่องที่เกิดขึ้น ประกอบกับการอยู่คนเดียวก็อาจจะทำให้มีความคิดตกตะกอนก็จะทำทุกวิธีที่ทำให้เสียชีวิตได้

ข่าวที่เกี่ยวข้อง