สคบ.เปิดโครงการ "ตรวจจับ ปรับจริง เต็นท์รถยนต์มือสอง"
logo ข่าวอัพเดท

สคบ.เปิดโครงการ "ตรวจจับ ปรับจริง เต็นท์รถยนต์มือสอง"

ข่าวอัพเดท : สำนักงานคณะกรรมการผู้บริโภค เตือนประชาชนตรวจสอบฉลากสินค้า สัญญาซื้อขาย และหลักฐานการรับเงิน การซื้อรถยนต์มือสองโดยละเอียด ขณะที่รัฐเ เต็นท์รถ,รถยนต์,มือสอง,กฎหมาย

4,269 ครั้ง
|
22 ส.ค. 2559
 
     สำนักงานคณะกรรมการผู้บริโภค เตือนประชาชนตรวจสอบฉลากสินค้า สัญญาซื้อขาย และหลักฐานการรับเงิน การซื้อรถยนต์มือสองโดยละเอียด ขณะที่รัฐเพิ่มโทษเข้ม หากพบผู้ประกอบการทำผิดกฎหมาย
     นายอำพล วงศ์ศิริ เลขาธิการคณะกรรมการคุ้มครองผู้บริโภค หรือ สคบ. เป็นประธานในพิธีเปิดโครงการ "ตรวจจับ ปรับจริง เต็นท์รถยนต์มือสอง" ระบุว่า ปัจจุบันปัญหาจากการซื้อรถจากเต็นท์รถยนต์ที่พบมากที่สุด ได้แก่ การนำรถไปจดทะเบียนความยุ่งยากในการนำรถไปจดทะเบียนต่อ รถที่นำไปใช้เกิดการชำรุดง่าย ผู้ประกอบการไม่รับแก้ไข และปัญหาตกแต่งตัวเลขระยะทางการใช้รถ 
     ทั้งนี้ขอเตือนให้ผู้บริโภคสังเกตข้อมูลดังต่อไปนี้โดยละเอียด ซึ่งจะมีผลทางกฎหมายตัวสัญญา ซึ่งมีความคุ้มครองเฉพาะในหลายเรื่องที่แตกต่างกัน เช่น กรมธรรม์ประกันภัย การรับรองมาตรฐานสินค้า ความรับผิดชอบในค่าใช้จ่าย โดยเฉพาะค่าใช้จ่ายในการโอน ซึ่งส่วนใหญ่ผู้บริโภคมักถูกเอาเปรียบ จากการที่ผู้ประกอบการผลักภาระภาษีเงินได้นิติบุคคล และภาษีธุรกิจเฉพาะ ซึ่งผู้ประกอบการนำมาบวกในค่าธรรมเนียมการโอน และเขียนสัญญาให้รับผิดชอบคนละครึ่ง ซึ่งทางกฎหมายไม่ได้รับรองไว้ แต่ผู้บริโภคมักหลวมตัวเซ็นสัญญาไปแล้ว จึงอยากให้ผู้บริโภคร้องขอร่างสัญญาซื้อขายจากผู้ประกอบการ เพื่อนำมาศึกษาล่วงหน้า 1-2 สัปดาห์ หรือนำไปปรึกษากับคอลเซ็นเตอร์ของ สคบ. หมายเลข 1166 หรือที่ศูนย์ดำรงธรรม ณ ศาลากลางจังหวัดทั่วประเทศ เรื่องการโฆษณาที่เป็นเท็จ และเกินความจริง โดยมีโทษจำคุกไม่เกิน 6 เดือน หรือปรับไม่เกิน 50,00 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ ซึ่งที่ผ่านมาการบังคับใช้กฎหมายไม่เข้มงวด ทำให้ผู้ประกอบการไม่ยำเกรง 
     ขณะนี้ได้ปรับแก้ระเบียบ เพิ่มความเข้มงวดในการเอาผิดโทษทางอาญาอย่างจริงจัง นอกจากนี้ยังมีปัญหาจัดทำฉลากสินค้าที่ไม่ถูกต้อง และไม่มีการจัดทำหลักฐานการรับเงินส่งมอบให้กับผู้บริโภคตามที่กฎหมายกำหนด ทั้งนี้โทษผู้กระทำผิดในเรื่องหลักฐานการรับเงินส่งมอบมีโทษจำคุกไม่เกิน 1 ปี ปรับไม่เกิน 100,000 บาท หรือทั้งจำทั้งปรับ
     สำหรับแนวทางการช่วยเหลือผู้บริโภค หลังได้รับการร้องเรียน เบื้องต้น สคบ. จะตรวจสอบรายละเอียด และเรียกผู้ประกอบการมารับทราบ พร้อมให้โอกาสแก้ต่าง ก่อนที่จะนัดทั้ง 2 ฝ่ายมาไกล่เกลี่ย และตกลงหาข้อยุติ พร้อมรับการเยียวยา แต่หากเป็นกรณีที่รุนแรงกว่านั้น จะตั้งคณะกรรมการไกล่เกลี่ย ประกอบการด้วยผู้เชี่ยวชาญจากสถาบันที่น่าเชื่อถือ และหากไม่สามารถไกล่เกลี่ยได้ สคบ.จะเป็นคนฟ้องแทนผู้บริโภคต่อศาล ซึ่งปัจจุบันมีคดีความในลักษณะเช่นนี้ 500 คดีความต่อปี
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง