สธ.เอาผิดโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฏหมาย สั่งปิดไปแล้ว 700 รายการ
logo ข่าวอัพเดท

สธ.เอาผิดโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฏหมาย สั่งปิดไปแล้ว 700 รายการ

ข่าวอัพเดท : สธ.จับมือ กสทช. ไอซีทีและ บก.ปคบ.แก้ปัญหา เฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฏหมาย ใช้มาตรการลงโทษสถานหนัก เผยตรวจสอบสื่อแล้วกว่า 20,0 สธ,กสทช,ผลิตภัณฑ์,สุขภาพ,ผิดกฎหมาย,สั่งปิด

2,733 ครั้ง
|
22 ส.ค. 2559
สธ.จับมือ กสทช. ไอซีทีและ บก.ปคบ.แก้ปัญหา เฝ้าระวังโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพผิดกฏหมาย ใช้มาตรการลงโทษสถานหนัก เผยตรวจสอบสื่อแล้วกว่า 20,000 รายการ สั่งปิดช่องรายการ –เว็บไซต์ และดำเนินคดีแล้วกว่า 700 รายการ ประชาชนมีส่วนช่วยพบเห็นแจ้งสายด่วน
 
ศ.คลินิก เกียรติคุณ นพ.ปิยะสกล สกลสัตยาทร รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข กล่าวว่า  กระทรวงสาธารณสุข เร่งรัดจัดการปัญหาการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่โอ้อวดสรรพคุณเกินจริงหรือหลอกลวงให้ผู้บริโภคหลงเชื่อ ผ่านทางสื่อต่าง ๆ รวมทั้งหาทางแก้ไขปัญหาประชาชนผู้ได้รับผลกระทบ โดยบูรณาการร่วมมือกับ สํานักงานคณะกรรมการกิจการกระจายเสียงกิจการโทรทัศน์และกิจการ โทรคมนาคมแห่งชาติ (กสทช.) กระทรวงเทคโนโลยีสารสนเทศและการสื่อสาร (ICT) และกองบังคับการปราบปรามการกระทําความผิดเกี่ยวกับการคุ้มครองผู้บริโภค (บก.ปคบ.) บังคับใช้กฎหมายที่อยู่ในความรับผิดชอบของแต่ละหน่วยงาน ตามแผนยุทธศาสตร์การจัดการปัญหาโฆษณาที่ผิดกฎหมายของยา อาหารและผลิตภัณฑ์สุขภาพ พ.ศ.2557-2561
 
ผลการดำเนินงาน มีดังนี้ 1.สำนักงานคณะกรรมการอาหารและยา ดำเนินการตรวจสอบโฆษณาสื่อ  รวมทั้งสิ้น 21,258 รายการ ประกอบด้วยโทรทัศน์ 3,362 รายการ  วิทยุ 640 รายการ  สื่อสิ่งพิมพ์ 15,654รายการ  และสื่ออินเตอร์เน็ต 1,602 รายการ  ดำเนินคดี 479 รายการ  2.กสทช.แจ้งระงับโฆษณา 170 รายและดำเนินคดี 96 ราย  3.กระทรวงไอซีทีสั่งปิดเว็บไซต์ 29 URL ดำเนินคดี 9 URL  และ4.ตำรวจคุ้มครองผู้บริโภค บก.ปคบ. ดำเนินคดีผลิตภัณฑ์ 150 รายการ จำนวนของกลาง 917 รายการ มีมูลค่า 140.8 ล้านบาท  เพื่อให้การดำเนินการตรวจสอบเฝ้าระวังครอบคลุม โดยเฉพาะในส่วนภูมิภาค ได้สั่งการให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ ตรวจสอบเฝ้าระวังการโฆษณาผลิตภัณฑ์สุขภาพที่ทำผิดกฎหมายในเขตพื้นที่รับผิดชอบอย่างเคร่งครัด โดยบูรณาการทำงานกับหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
 
นอกจากนี้ ทั้งนี้ สำนักงานคณะกรรมการสุขภาพแห่งชาติ (สช.) จะช่วยประสานและบูรณาการให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องอื่นๆ ร่วมเฝ้าระวัง และบังคับใช้กฏหมายแบบบูรณาการอย่างเข้มงวด  ขยายเครือข่ายไปถึงระดับท้องถิ่น รวมทั้งพัฒนาหลักสูตรการศึกษาเพื่อสร้างการเรียนรู้  ตระหนักถึงกฎหมายการโฆษณา จรรยาบรรณวิชาชีพ หลักสิทธิชุมชน มนุษยชน รวมทั้งการรู้เท่าทันสื่อในสถาบันการศึกษา
 
ทั้งนี้ ประชาชนหากพบเห็นโฆษณาผลิตภัณฑ์ สุขภาพโอ้อวดสรรพคุณเกินจริงทางสื่อต่าง ๆ แจ้งร้องเรียนได้ที่ สายด่วน อย. 1556 หรือผ่าน Oryor Smart Application หรือสายด่วน กสทช. 1200 สายด่วนกระทรวงไอซีที 1212  สายด่วนรัฐบาล 1111 หรือสายด่วน บก.ปคบ. 1135 และที่สํานักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศ
 
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง