นักวิชาการ ยืนยันแผ่นดินไหวเนปาลไม่กระทบต่อไทย เพราะรอยเลื่อนของไทยเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานขนาดเล็ก
วิศวกรรมโครงสร้างการบริหารจัดการภัยพิบัติ ระบุว่า เนปาลตั้งอยู่บนแหล่งกำเนิดแผ่นดินไหวที่รุนแรง ทำให้เกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่และบ่อยครั้ง ซึ่งผู้เชี่ยวชาญการจัดการแผ่นดินไหวทั่วโลกรู้ดีว่ารอยต่อบริเวณเทือกเขาหิมาลัยประเทศเนปาลเป็นโซนอันตรายที่สุด ซึ่งรอยต่อนี้ที่ทอดยาวหลายพันกิโลเมตรไล่ลงมาจากเทือกเขาหิมาลัยมาทางฝั่งตะวันตกของพม่า ยาวลงมาที่ทะเลอันดามันจนไปถึงอินโดนีเซีย
ซึ่งในอดีตเกิดแผ่นดินไหวขนาด 8-9 ริกเตอร์หลายครั้ง เช่น แผ่นดินไหวเมืองกาฐมัณฑุ ปี 1934 และแผ่นดินไหวในปากีสถานปี 2005 รวมถึงแผ่นดินไหวเมื่อ 10 ปีก่อนที่มีจุดศูนย์กลางในทะเลที่ทำให้เกิดคลื่นยักษ์สึนามิสร้างความเสียหายให้กับประเทศไทย
จากสถิติพบว่า เมืองกาฐมัณฑุจะเกิดแผ่นดินไหวเฉลี่ยทุกๆ 80 ปี ทำให้มีผู้เสียชีวิตหลายพันคน และมีอาคารบ้านเรือนได้รับความเสียหายอย่างหนัก เนื่องจากตำแหน่งการเกิดแผ่นดินไหวขนาด 7.9 ริกเตอร์ อยู่ไม่ไกลจากเขตเมือง ที่สำคัญสิ่งปลูกสร้างไม่ต้านทานต่อการเกิดแผ่นดินไหว อาคารส่วนใหญ่สร้างจากอิฐโดยไม่เสริมเหล็ก เมื่อเจอการเขย่าแรงๆ จึงพังมาอย่างง่ายดาย
ยืนยันว่าแผ่นดินไหวในเนปาลครั้งนี้ไม่ส่งผลกระทบต่อไทยอย่างแน่นอน เพราะอยู่ห่างไกลหลายกิโลเมตร และประเทศไทยไม่มีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวขนาดใหญ่เท่าเนปาล เพราะตามรอยเลื่อนต่างๆ ของไทยถือเป็นแหล่งกำเนิดพลังงานขนาดเล็ก มีอัตราเร็วการเคลื่อนเข้าหากันประมาณ 1-2 มิลลิเมตรต่อปีเท่านั้น ซึ่งต้องใช้เวลาสะสมพลังงานนานกว่าถึง 10 เท่า
แต่รอยเลื่อนมีพลังในไทยก็สามารถทำให้เกิดแผ่นดินไหวที่ทำให้เกิดความเสียหายและอันตรายได้ โดยเฉพาะพื้นที่เสี่ยงในภาคตะวันตกบริเวณรอยเลื่อนศรีสวัสดิ์และรอยเลื่อนเจดีย์สามองค์ รวมถึงพื้นที่ภาคเหนือ
ซึ่งมีโอกาสเกิดแผ่นดินไหวในทุกๆจังหวัด เช่น รอยเลื่อนแม่จัน รอยเลื่อนแม่ฮ่องสอน อาจเกิดแผ่นดินไหวได้ถึงประมาณ 6.8 – 7.2 ริกเตอร์ ดังนั้นคนไทยควรเปลี่ยนอาคารบ้านเรือนให้สามารถต้านทานแผ่นดินไหว
+ อ่านเพิ่มเติม