หลายคนคงเริ่มรู้สึกถึงความไม่แน่นอนในตลาดแรงงานช่วงนี้ เมื่อข่าวการปิดตัวของโรงงานและการปรับลดพนักงานเริ่มมีให้เห็นบ่อยขึ้น สัญญาณเตือนเหล่านี้กำลังบอกอะไรเรา ? และถ้าวันหนึ่งเราต้องเผชิญกับการตกงานกะทันหัน เราควรรับมืออย่างไร ? มาหาคำตอบไปพร้อมกัน
อัตราการเติบโต ทางเศรษฐกิจที่ต่ำลง อย่างเห็นได้ชัด โรงงานปิดตัวเกิดขึ้น ทุกสัปดาห์ การลงทุน ในภาคเอกชนลดลง รายได้จากการท่องเที่ยวก็น้อยลงเช่นกัน ซึ่งธุรกิจต่างๆ ย่อมได้ รับผลกระทบไปตามๆกัน ทั้งธุรกิจขนาดใหญ่ ขนาดกลาง และขนาดเล็ก ที่หนักหน่อย ก็ต้องปิดกิจการ หรือไม่ก็ต้องปรับโครงสร้าง ลดพนักงาน เพื่อลดรายจ่าย ตามกลยุทธ์ การถดถอย เพื่อประคองให้บริษัทหรือกิจการอยู่รอดต่อไป ซึ่งอนาคตก็ไม่แน่นอน ไม่แน่ ว่าวัน พรุ่งอาจจะเป็นเราสองคนก็ได้นะครับ ที่ต้องโบกมือลาองค์กรอย่างไม่ทันตั้งตัว
อัตราการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ต่ำลงสามารถส่งผลกระทบต่อการตกงานได้จากหลายสาเหตุหลัก ดังนี้:
1. การลดลงของการลงทุน: เมื่อเศรษฐกิจชะลอตัว ธุรกิจต่างๆ มักจะชะลอการลงทุนหรือยกเลิกโครงการใหม่ๆ ซึ่งส่งผลให้การจ้างงานลดลง โดยเฉพาะในอุตสาหกรรมที่ต้องพึ่งพาการลงทุนเช่น การก่อสร้างและการผลิต
2. การลดการบริโภค: การเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าลงมักจะมาพร้อมกับการลดลงของการบริโภคของประชาชน เมื่อคนใช้จ่ายน้อยลง ธุรกิจในกลุ่มค้าปลีก บริการ และสินค้าอุปโภคบริโภคจะได้รับผลกระทบ ทำให้ต้องลดจำนวนพนักงานหรือเลิกจ้าง
3. ภาวะเงินเฟ้อ: หากเงินเฟ้อสูงขึ้นแต่รายได้ไม่เพิ่มตาม อำนาจซื้อของประชาชนจะลดลง ซึ่งส่งผลต่อการลดลงของยอดขายและการผลิต ทำให้บริษัทต่างๆ ต้องลดขนาดกิจการลง ส่งผลให้เกิดการตกงาน
4. การปรับตัวของธุรกิจ: ในช่วงเศรษฐกิจถดถอย ธุรกิจหลายแห่งอาจเลือกใช้เทคโนโลยีเพื่อเพิ่มประสิทธิภาพในการทำงานแทนการจ้างงาน ทำให้จำนวนงานที่ต้องการแรงงานมนุษย์ลดลง
5. การลดงบประมาณของรัฐบาล: ในบางครั้ง รัฐบาลอาจต้องลดงบประมาณเพื่อควบคุมหนี้สาธารณะ การลดการใช้จ่ายนี้อาจส่งผลกระทบต่อการจ้างงานในภาครัฐและโครงการที่เกี่ยวข้องกับรัฐ
ทั้งนี้ อัตราการตกงานที่สูงขึ้นจากการเติบโตทางเศรษฐกิจที่ช้าลงยังสามารถสร้างผล กระทบทางสังคมที่กว้างขวาง เช่น ความไม่มั่นคงในอาชีพ และการลดลงของคุณภาพ ชีวิต
แม้จะยังไม่ได้ตกงานวันนี้พรุ่งนี้ แต่เราก็ต้องวางแผนชีวิตเอาไว้ สิ่งสำคัญที่สุดที่เรา ต้องเตรียมตัวให้พร้อมก่อนตกงานคงหนีไม่พ้นเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ โดยเฉพาะมนุษย์เงินเดือน ที่มีรายได้เพียงทางเดียวยิ่งต้องวางแผนการเงินไว้ให้ดี เพราะในวันที่รายได้เราหายไป ค่าใช้จ่ายเราไม่ได้หายตามไปด้วย เพื่อความสบายใจ
5 วิธีรับมือกับเหตุการณ์
1. เสียงานไป แล้วต้องได้อะไรมา ?
สอบถามสิ่งที่คุณพึงได้จากการออกจากงาน ไม่ว่าจะเป็นใบรับรองผ่านงาน กองทุนสำรอง เงินสะสม ประกันสุขภาพ โดยเฉพาะเงินชดเชยจากบริษัทซึ่งเป็นสิ่งที่นายจ้างต้องจ่ายให้กับพนักงานหรือลูกจ้างเพื่อช่วยเหลือในกรณีให้ออกจากงานที่ไม่ได้มาจากความผิดของพนักงาน ซึ่งค่าชดเชยที่ได้จะขึ้นอยู่กับเงินเดือนและอายุของการทำงาน
2. ขึ้นทะเบียนผู้ว่างงานด่วน ๆ
รีบแจ้งประกันสังคมเพื่อขึ้นทะเบียนเป็นผู้ว่างงานที่สำนักงานจัดหางานของรัฐได้ทุกแห่งทั่วประเทศ ภายใน 30 วันตั้งแต่ออกจากงาน เพราะตามเงื่อนไขของประกันสังคมแล้ว ผู้ที่ส่งเงินสมทบติดต่อกัน 6 เดือน ภายในระยะเวลา 15 เดือนก่อนว่างงาน จะสามารถรับเงินชดเชยได้ในจำนวน 50% ของรายได้เป็นระยะเวลา 6 เดือน ส่วนคนที่ลาออกก็ได้สิทธิ์นี้เช่นกัน โดยจะได้รับชดเชย 30% เป็นเวลา 3 เดือน
3. คิดให้ดีเรื่องกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ จะปิดมาใช้หรือไปต่อ
หากมีกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ อย่าลืมจัดการเงินก้อนที่เราสะสมไว้ในแต่ละเดือนโดยมีนายจ้างช่วยสมทบให้นี้ โดยเลือกได้ระหว่างปิดกองทุนแล้วรับเป็นเงินก้อน แต่จะต้องถูกหักภาษีตามเงื่อนไขเรื่องสิทธิประโยชน์ทางภาษีด้วย หรือจะเลือกย้ายกองทุนไปอยู่ที่บริษัทใหม่ก็ได้ แต่วิธีที่คุ้มสำหรับคนที่ไม่ร้อนเงินนัก ให้เลือกคงเงินไว้กับกองทุนเดิม แล้วค่อยรอรับเงินก้อนตอนอายุ 55 ปี เพราะเราจะได้รับการยกเว้นภาษีสำหรับเงินที่ได้รับจากกองทุนสำรองเลี้ยงชีพ
4. ปัดฝุ่นเรซูเม่ อัปเลเวลทักษะใหม่ๆ
หลังจัดการเรื่องธุรกรรมทางการเงินเป็นที่เรียบร้อย ก็หันมาปัดฝุ่นเรซูเม่ อัพเดตผลงานใหม่ๆ ไว้สมัครงานในบริษัทอื่นๆ ที่เล็งไว้ ระหว่างนี้ก็ลองมองหางานพาร์ทไทม์ที่อยากลองทำ ลงคอร์สเรียนเสริมทักษะ และหาประสบการณ์ใหม่ๆ ไม่แน่ว่านี่อาจเป็นโอกาสที่ได้ถามความต้องการของตัวเองจริง ๆ ว่าอยากทำอะไรต่อไป และมีความสุขกับสิ่งไหนจริง ๆ
5. ดูแลใจไม่ให้จม
มีงานวิจัยบอกไว้ว่าการตกงานจะนำเราไปสู่อาการวิตกกังวลและภาวะซึมเศร้าได้ ซึ่งภาวะซึมเศร้าเหล่านี้จะส่งผลกระทบกับเราอยู่แม้จะได้งานใหม่แล้วก็ตาม ทำให้หลาย ๆ คนรู้สึกชอบหรือรู้สึกผูกพันกับงานน้อยลง และยังมีแนวโน้มที่จะกังวลกับงานใหม่มากขึ้นด้วย
แม้การตกงานจะเป็นเรื่องที่ไม่มีใครอยากเจอ แต่ถ้าเตรียมพร้อมและรับมืออย่างมีสติ เราก็จะผ่านช่วงเวลายากๆ นี้ไปได้ บางคนอาจพบว่านี่เป็นโอกาสในการเริ่มต้นใหม่ที่ดีกว่าเดิม สิ่งสำคัญคือการไม่ท้อถอย และค่อยๆ ก้าวเดินไปข้างหน้าอย่างมั่นคง
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital