logo เงินทองของจริง

3 เรื่องที่ต้องรู้ ฉบับมนุษย์เงินเดือนคนรุ่นใหม่ | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : จากปัญหาเศรษฐกิจปากท้องในปัจจุบัน ที่ประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรงจากหนี้สินและเงินเฟ้อ นั้น ล่าสุดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP แตะท ch7hd news,tero digital,ch7hdnews,terodigital,เงินทองของจริง,moneycoach,money coach,โคชหนุ่ม จักรพงษ์,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โค้ชหนุ่ม,กาย สวิตต์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,การออม,ออมเงิน,เก็บเงิน,สอนลงทุน,สอนออมเงิน,สอนเก็บเงิน

13,351 ครั้ง
|
10 ก.ค. 2567
จากปัญหาเศรษฐกิจปากท้องในปัจจุบัน ที่ประชาชนได้รับผลกระทบโดยตรงจากหนี้สินและเงินเฟ้อ นั้น ล่าสุดสัดส่วนหนี้ครัวเรือนต่อ GDP แตะที่ 91.3% จากรายงานภาวะสังคมไทยไตรมาส 1 ปี 2567 ของสภาพัฒนาการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ (สศช.) หรือสภาพัฒน์ และอัตราเงินเฟ้อของไทยที่ -0.8% เป็นตัวเลขที่ต่ำสุดในอาเซียน ตัวเลขนี้ส่งผลต่อ ต้นทุนการใช้ชีวิตของคุณผู้ชมที่เป็น “มนุษย์เงินเดือน” อย่างไร ?
 
เรื่องเงินเฟ้อเราเคยพูดกันไปแล้วในตอน “เงินเฟ้อ” ปัญหาซ้ำ ๆ ในเศรษฐกิจโลก” ว่า เงินเฟ้อคืออะไร วันนี้ขอพูดถึงเงินเฟ้อให้ขยับใกล้ตัวเข้ามาอีกนิด ก่อนอื่นถ้าพูดภาษาชาวบ้าน “เงินเฟ้อ” คือการดูว่าราคาสินค้าและบริการโดยเฉลี่ย ปรับเพิ่มขึ้น แพงกว่าเดิม มากน้อยแค่ไหน เมื่อเทียบกับปีก่อน 
 
โดยกลุ่มสินค้าและบริการที่ถูกนำมาคำนวณเงินเฟ้อของไทย ก็จะเป็นสินค้าและบริการที่เราใช้จ่ายอยู่เป็นประจำ เช่น 
1. กลุ่มอาหารและเครื่องดื่ม (ไม่รวมแอลกอฮอล์) 
2. ค่าเดินทาง
3. ค่าที่อยู่อาศัย
4. ความบันเทิง และการศึกษา
 
ผลกระทบเงินเฟ้อ ต่อฝั่งผู้บริโภค หรือมนุษย์เงินเดือน
 
ในมุมผู้บริโภค เงินเฟ้อที่สูงจะทำให้เราต้องจ่ายเงินซื้อสินค้าและบริการ ในราคาที่แพงขึ้น เช่น ก๋วยเตี๋ยว 15 ปีที่แล้วชามละ 20 บาท วันนี้ก๋วยเตี๋ยวชามละ 50 บาท นั่นแปลว่าเราก็ต้องใช้เงินมากขึ้นเพื่อซื้อก๋วยเตี๋ยว 1 จาน หรือเราต้องใช้เงินมากขึ้นเพื่อซื้อของใช้ที่ปริมาณเท่าเดิม และหากมูลค่าเงินต่ำลงมากๆ เงินที่หามาได้ก็อาจไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่ายต่าง ๆ ในการยังชีพ  
 
กรณีถ้าไทยมีเงินเฟ้อแบบไม่สูงไม่ต่ำเกินไปที่ประมาณ ที่ 2%-3% เงินเฟ้อก็จะมีผลให้ค่าแรงเพิ่มขึ้น และทำให้คนไทยมีรายได้ที่เพิ่มขึ้น ค่าเงินอ่อน การท่องเที่ยวและการส่งออกก็ดีขึ้น และเมื่อรายได้เพิ่มขึ้น ก็มีแนวโน้มที่จะแก้ปัญหาภาระหนี้ให้ลดลงได้
 
แต่สถานการณ์เงินเฟ้อไทยกลับเป็นในทางกลับกัน คือ ไทยมีอัตราเงินเฟ้อต่ำ อยู่ที่ 0.8% แต่อัตราดอกเบี้ยนโยบายอยู่ที่ 2.5% เป็นสาเหตุหนึ่งทำให้เกิดปัญหาหนี้ครัวเรือนเรื้อรังตามมา
 
ส่วนในมุมของผู้ผลิต บริษัทห้างร้าน ก็ได้รับผลกระทบเช่นกัน จากกำไรที่ลดลง เพราะราคาต้นทุนวัตถุดิบเพิ่มสูงขึ้น และถ้าเป็นธุรกิจที่ขึ้นราคาสินค้าได้ยาก ก็จะยิ่งกระทบกำไรบริษัท ทำให้ช่วงเกิดเงินเฟ้อสูง นักลงทุนไม่ค่อยชอบ ตลาดหุ้นปรับตัวขึ้นได้ยาก
 
แม้ว่ารัฐบาลจะมีมาตราการช่วยเหลือต่างๆ ทั้งนโยบายการเงินและการคลังเพื่อรับมือกับปัญหาภาวะเงินเฟ้อ แต่เราก็ควรมีวีธีป้องกันหรือแนวทางการปรับตัวด้วยเช่นกันใน แบบฉบับมนุษย์เงินเดือนช่วงหน้าเรามาคุยกันต่อกับ 3 สิ่ง ว่ามนุษย์เงินเดือนจะรับมืออย่างไรในสถานการ์ภาวะเงินเฟ้อที่ลดลง ของเมืองไทยกัน
 
จากอัตราการจ้างงานที่ลดลงและภาวะเงินเฟ้อถดถอยของประเทศไทย ทำให้กิจการค้าขาย บริษัท ห้างร้าน ต่างมีต้นทุนของการลงทุนที่สูงขึ้น จากอัตราดอกเบี้ยที่สูง การหาเงินหมุนเวียนในธุรกิจจึงถูกปรับตัวที่ อาจส่งผลกระทบต่อมนุษย์เงินเดือนที่อาจจะทำให้ถูกเลิกจ้างงานได้ หรือ การลาออก และการเปลี่ยนงานให้ตอบโจทย์กับค่าครองชีพที่สูงขึ้นก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกหนึ่งของมนุษย์เงินเดือนเช่นกัน
 
ดังนั้นหลักประกันความเสี่ยงที่อาจเกิดขึ้นตลอดชีวิตการทำงาน เป็นอีกหนึ่งความสำคัญที่ต้องเตรียมพร้อมในช่วงที่กิจกรรมทางเศรษฐกิจยังไม่เพิ่มขึ้นนี้
 
แนะนำ “3 สิ่งที่มนุษย์เงินเดือนต้องเตรียมรับมือ”
 
1. วางแผนควบคุมค่าใช้จ่าย
2. วางแผนการออม การลงทุน
3. วางแผนลดความเสี่ยงค่าใช้จ่ายไม่คาดคิด
 
จริง ๆ แล้วการเกิดภาวะเงินเฟ้อนั้นเป็นกลไกลทางการตลาดและภาวะของสภาพคล่องทางเศรษฐกิจเป็นหลัก เราไม่สามารถหลีกเลี่ยงได้ แต่เราสามารถบริหารจัดการใช้จ่ายให้เหมาะสมและวางแผนการใช้เงินให้ดี ก็จะช่วยป้องกันผลกระทบจากภาวะเงินเฟ้อได้หรือได้รับผลกระทบน้อยที่สุด ดังนั้น เรื่องการวางแผนการทางเงินจึงไม่ใช่เรื่องไกลตัวอีกต่อไปที่เราควรให้ความสำคัญ
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/fklZeEE6viA?feature=shared

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง