ก่อนจะเข้านอนเรามักจะพูดและได้ยินคำพูดส่งท้ายค่ำคืนนี้ว่า “ฝันดีนะ” เพื่อต้องการให้การนอนหลับในราตรีนี้ดำเนินไปด้วยดี บางคนอาจเคยได้ยินว่าถ้านอนหลับแล้วไม่ฝันหมายความว่าเรานอนหลับสนิท ซึ่งเมื่อเรานอนหลับสนิทย่อมส่งผลให้สุขภาพเราดีขึ้น เพราะพักผ่อนเพียงพอ
แต่แท้จริงแล้วการนอนไม่ฝัน อาจไม่ได้ส่งผลดีต่อสุขภาพอย่างที่เข้าใจกัน มีคำอธิบายทางการแพทย์ว่าเราทุกคนล้วนฝันอย่างน้อยวันละ 2 รอบ โดยรอบที่เราจดจำได้มักจะเป็นในช่วงก่อนตื่นนอน ซึ่งเหตุผลนี้นำมาอธิบายในคนที่ไม่ฝันได้ว่า ไม่ได้ไม่ฝันแต่แค่จำฝันไม่ได้ หรือ สุขภาพการนอนอาจไม่ดี เกิดการหลับ ๆ ตื่น ๆ ในช่วงกลางดึก จนทำให้ไม่ฝันเพราะโดยปกติแล้วเราจะฝันในช่วง REM หรือ ช่วงหลับฝันของการนอน จะมีในทุกคนที่ได้หลับจนทำให้เกิดความฝันขึ้นมา นั่นก็หมายความว่า นอนหลับแล้วไม่ฝัน ไม่ได้แปลว่าหลับสนิท
สาเหตุของการนอนไม่ฝันที่มีผลมาจากสุขภาพการนอนเกิดได้จาก การนอนไม่หลับ ภาวะเครียด อาการซึมเศร้า วิตกกังวล โรคกลัว อาจไม่ใช่เพียงการจดจำฝันไม่ได้ แต่นำไปสู่ปัจจัยเสี่ยงปัญหาสุขภาพ เกิดการนอนหลับไม่เพียงพอจนทำให้สุขภาพจิตแย่ลง และอาจเป็นสัญญาณว่าคุณมีโรคประจำตัว เช่น ภาวะหยุดหายใจขณะหลับ หรือโรคนอนไม่หลับ ความเครียดสะสม การเหนื่อยล้าจากการทำงาน
อาการเหล่านี้ส่งผลต่อการนอนซึ่งทำให้ไม่สามารถจดจำความฝันในช่วงขณะที่หลับ และไม่เกิดความฝันในช่วง REM รวมไปถึงการมีความฝันที่น้อยลงหรือที่เรียกว่า ภาวะ Chronic dream deprivation และความผิดปกติในช่วงการนอนหลับ สาเหตุที่นำมาสู่การนอนที่เปลี่ยนไป มีองค์ประกอบที่เกี่ยวข้อง ได้แก่ มีโรคทางร่างกายหรือจิตใจ ติดยาเสพติด และอายุมาก อาจมีอาการสำคัญ (major symptoms) 4 อย่างที่มักพบได้บ่อย คือ
ถ้านอนไม่พอนอนชดเชยได้หรือไม่? ชั่วโมงการนอนที่เหมาะสมของคนวัยทำงาน 7 – 8 ชั่วโมงถือว่าเพียงพอแล้ว หากนอนมากกว่านั้นก็จะหลับไม่สนิท เพราะต้องรับรู้ว่าชั่วโมงการนอนครบแล้ว ทำให้นอนหลับ ๆ ตื่น ๆ ไม่เป็นหลับระยะสนิทเหมือนช่วงแรก เนื่องจากร่างกายเก็บพลังงานได้เพียงพอแล้ว เหมือนกับการชาร์ตแบตเตอรี่มือถือ ไม่ควรชาร์ตทิ้งไว้ข้ามคืน การนอนก็เช่นกัน เพราะแทนที่ร่างกายจะตื่นตัวกลับทำให้การตื่นตัวลดลง
กรณีนอนน้อยกว่า 4 ชั่วโมงถือว่า “อดนอน” ถ้าอดนอนติดกัน 3 วันแล้วคืนวันที่ 4 ถ้าหลับ ไม่ว่าจะหลับกี่ชั่วโมงก็ตามร่างกายจะพยายามช่วยเหลือตัวเองคือ พอเริ่มหลับก็เข้าสู่ระยะหลับลึกเลย หากมีเวลานอนที่นานพอ ร่างกายจะเริ่มปรับวงจรการนอนหลับอีกครั้งหนึ่ง จากปกติต้องมีระยะเวลาการนอนช่วงแรก 30 – 60 นาที จะเป็นหลับตื้นแล้วค่อย ๆ หลับลึกไปเรื่อย ๆ
แต่ถ้าต้องตื่นก่อน 4 ชั่วโมงจะกลายเป็นว่า ครั้งต่อไปพอจะหลับอีกวงจรการนอนจะยังไม่ครบ การหลับจะเป็นหลับลึกในระยะเวลาสั้น ๆ แค่ทำให้สดชื่นแต่ประสิทธิภาพเรื่องความจำจะไม่เท่าเดิม
ฉะนั้นถ้ามีโอกาสที่จะหลับซ่อมแซมหรือหลับชดเชยควรนอนให้ครบชั่วโมง การนอนที่เหมาะสม จะทำให้สภาพร่างกายกลับมาเหมือนเดิมได้ในระยะเวลาไม่กี่วันหรือถ้าหากมีโอกาสหลับเต็มที่หนึ่งวันเต็ม ๆ หลังจากอดนอนมา 3 วัน
ทริคเล็ก ๆ เพื่อการนอนหลับที่ดี