เราทราบกันที่ว่าประเทศไทยกำลังประสบปัญหาหนี้ครัวเรือน เป็นที่หนักใจของทุกฝ่ายทั้งลูกหนี้ และรวมถึงภาครัฐที่พยายามแก้ปัญหา ให้ความสำคัญกับเรื่องนี้ และได้ออกมาตรการช่วยเหลือลูกหนี้ที่สอดคล้องกับสถานการณ์มาโดยตลอด
ตามการรายงานของสภาพัฒน์เมื่อวันที่ 27 พ.ค. 67 ที่ผ่านมา ตัวเลขหนี้ NPLs ต่อสินเชื่อรวมอยู่ที่ 2.88% ปรับเพิ่มขึ้นจาก 2.79% ต้องการให้ธนาคารเร่งดูแลปรับโครงสร้างหนี้นจากสัญญาณ NPLs ที่พุ่งขึ้น ที่เป็นปัจจัย (Factor) สำคัญของหนี้ครัวเรือนนี้เอง จึงต้องแก้ไข กันอย่างเร่งด่วน
แบงก์ชาติเองก็มีการออกมาตรการเพื่อที่จะเห็นการปรับพฤติกรรมทั้งเจ้าหนี้ที่ต้องมีความรับผิดชอบและลูกหนี้มีวินัยกัน โดยบางเกณฑ์บังคับใช้แล้วตั้งแต่ต้นปี 2567 เช่น
การปรับโครงสร้างหนี้ ให้ลูกหนี้รายย่อยและ SMEs ที่มีปัญหาชำระหนี้ทั้งก่อนเป็นหนี้เสีย (non-NPL) และหลังเป็นหนี้เสีย (NPL)
และมีการคุ้มครองสิทธิลูกหนี้ให้เป็นธรรมมากขึ้น เช่น
ห้ามคิดค่าปรับไถ่ถอนสินเชื่อก่อนกำหนด (prepayment fee) สำหรับสินเชื่อรายย่อย ยกเว้นกรณี refinance สินเชื่อบ้านภายใน 3 ปีแรกที่ลูกหนี้ยังมีโอกาสได้ดอกเบี้ยต่ำอยู่ (teaser rate)
รวมทั้งด้านโฆษณาของผู้ให้บริการ ว่า
1. ต้องถูกต้องและชัดเจน
2. ครบถ้วนและเปรียบเทียบได้
และ 3. ไม่กระตุ้นการก่อหนี้เกินควร
และเมื่อ 1 เม.ย. ก็มีอีก 1 เกณฑ์ คือ การปิดจบหนี้เรื้อรัง ที่มีผลบังคับใช้ โดยผู้ให้บริการทางการเงินต้องแจ้งเตือนลูกหนี้เรื้อรังและเสนอทางเลือกปิดจบหนี้เรื้อรังให้แก่กลุ่มเปราะบางที่มีการจ่ายดอกเบี้ยมากกว่าชำระเงินต้นแล้วเป็นเวลานานกว่า 5 ปี เพื่อที่กลุ่มนี้จะมีทางเลือกในการพิจารณาว่าจะสมัครเข้าร่วม (opt-in) โครงการปิดจบหนี้เรื้อรังหรือไม่
ความสำเร็จของการแก้หนี้ยั่งยืน คงต้องอาศัยความร่วมมือจากทุกฝ่ายที่เกี่ยวข้อง ไม่เฉพาะแบงก์ชาติ แต่รวมถึงภาครัฐ ผู้ให้บริการทางการเงิน และที่สำคัญคือ ลูกหนี้ ครับ
ตามที่รัฐบาลมอบหมายธนาคารออมสินให้ช่วยเหลือลูกหนี้โครงการสินเชื่อโควิด 19 ซึ่งธนาคารออมได้ปล่อยกู้ให้รายละ 10,000 บาท เมื่อปี 2563 เพื่อช่วยเหลือเร่งด่วนตามนโยบายรัฐบาล เพื่อเพิ่มสภาพคล่องและบรรเทาความเดือดร้อนอย่างหนัก ในช่วงเวลาการแพร่ระบาดรุนแรง ณ ขณะนั้น วงเงินโครงการ 20,000 ล้านบาท
ออมสิน ช่วยลูกหนี้ NPLs ยกหนี้กลุ่มที่ได้รับผลกระทบรุนแรง ทำให้ยังไม่สามารถฟื้นตัวและผ่อนชำระหนี้ได้ไหว จนกลายสถานะเป็นหนี้ NPLs ซึ่งคณะรัฐมนตรีมีมติให้เร่งช่วยเหลือลูกหนี้กลุ่มนี้ให้หลุดพ้นสถานะ NPLs เพื่อเป็นการป้องกันไม่ให้ลูกหนี้เสียประวัติเครดิต ไม่ให้เสียวินัยทางการเงินและยังสามารถเข้าถึงแหล่งเงินในระบบได้อีกในอนาคต
โดยให้ธนาคารนำงบประมาณชดเชยค่าเสียหายจากหนี้เสียที่รัฐบาลจัดสรรให้สำหรับโครงการสินเชื่อดังกล่าว มาใช้ชำระหนี้แทนลูกหนี้ ซึ่งเริ่มดำเนินการมาตั้งแต่ไตรมาส 1/2567 ล่าสุดธนาคารได้ดำเนินการเพิ่มเติมอีกกว่า 90,000 ราย ทำให้สามารถช่วยเหลือลูกหนี้แล้วเป็นจำนวนกว่า 720,000 ราย ภายในระยะเวลา 3 เดือนตั้งแต่เริ่มมาตรการ ทั้งนี้ คาดว่าในไตรมาส 4/2567
สำหรับกรณีดังกล่าว เป็นมาตรการที่ธนาคารออมสินร่วมกับหน่วยงานรัฐบาลในการช่วยเหลือลูกค้าที่มีสินเชื่อกับทางธนาคาร เพื่อช่วยเหลือลูกหนี้รายย่อยที่ได้รับผลกระทบตามโครงการสินเชื่อเพื่อเป็นค่าใช้จ่ายสำหรับผู้ที่มีอาชีพรายได้อิสระที่ได้รับผลกระทบจากไวรัสโคโรน่า (COVID-19)
ถ้าใครที่ยังไม่แน่ใจว่าตัวเองมีสินเชื่อชนิดนี้กับทางออมสินอยู่หรือเปล่า สามารถตรวจสอบข้อมูลเพิ่มเติม ขอแนะนำท่านติดต่อธนาคารออมสินสาขาที่ยื่นกู้ เพื่อเจ้าหน้าที่ตรวจสอบเเละชี้เเจงข้อมูลได้อีกที
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่