พูดถึง "รากปัญหา" หนี้ครู กันว่า สาเหตุมันมาจากอะไร และทำไมครูจะต้องแบกภาระค่าใช้จ่ายกันมากมายเลย แล้วที่สำคัญสหกรณ์ออมทรัพย์ เป็นเพื่อนพึ่งพายามยากของครูหรือเป็นเจ้าหนี้กันแน่
"เป็นครูกู้ง่าย" เป็นประโยคที่เคยได้ยินบ่อยๆ แสดงถึงความสะดวกในการกู้ยืมเงินของครู แม้เงินเดือนจะน้อยในต้นแต่ยังมีโอกาสเติบโตขึ้นตามขั้นบันได แต่ความสะดวก ในการกู้ยืมนี้กลับเป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้ "ภาระหนี้ครู" เพิ่มสูงขึ้น ซึ่งเป็นปัญหาทางสังคม
กระทรวงศึกษาธิการเปิดเผยช่วงเดือนธันวาคม 2566 ว่ามีครูในประเทศไทยถึง 9 แสนคน โดย 80% มีหนี้สินรวมกันถึง 1.4 ล้านล้านบาท และสหกรณ์ออมทรัพย์ครู เป็นเจ้าหนี้รายใหญ่ที่สุด มีมูลค่า 8.9 แสนล้านบาทหรือ 64% ของยอดหนี้ทั้งหมด ด้วยอัตราดอกเบี้ยเฉลี่ย 5.64%
สาเหตุที่ทำให้ครูเป็นอาชีพที่ก่อหนี้มากที่สุดอันดับต้นๆในประเทศ เนื่องมาจาก การเข้าถึงเงินกู้ได้ง่าย และเงินเดือนที่มั่นคงทุกเดือน แม้เงินเดือนจะปรับสูงขึ้น ตามขั้นบันได จนถึงวันเกษียณ ทำให้ครูถูกเรียกว่า "ลูกหนี้ชั้นดี" จนครูนำเงินไปใช้จ่าย เพื่อซื้อสินค้าที่ไม่ก่อให้เกิดความมั่งคั่งในอนาคต อย่างไรก็ตามไม่ควรสรุปเพียงแค่ว่า ปัญหามาจากความฟุ่มเฟือยของครู แต่ยังต้องมอง เป็นปัญหาโครงสร้างภายใต้ "ก้อนหนี้ของครู" ที่มีผลกระทบทางสังคมอย่างมหาศาล
โรงเรียนเล็ก งบน้อย ครูเงินเดือนต่ำ ต้องแบกภาระค่าใช้จ่าย
ปัจจุบันโรงเรียนในสังกัด สพฐ. มีทั้งหมดสามหมื่นแห่ง ครึ่งหนึ่งเป็นโรงเรียนขนาดเล็ก ที่กำลังเผชิญกับปัญหาในการจัดการงบประมาณที่จำกัด โดยโรงเรียนในแต่ละสังกัด มีความลำเอียงโดยใช้จำนวนนักเรียนเป็นตัวหาร หรือนำจำนวนนักเรียนเป็นตัวคูณในการ จัดสรรทรัพยากร
ดังนั้นปัญหาที่ตามมาคือคุณครูที่อยู่ในโรงเรียนขนาดเล็ก ส่วนใหญ่เป็นครูบรรจุใหม่ มีอายุงานไม่ถึง 15 ปี และมีเงินเดือนต่ำและต้องรับภาระค่าใช้จ่ายเกี่ยวกับการเรียนการสอน ด้วยตัวเอง นอกจากนี้ยังมีความเหลื่อมล้ำกันของเงินเดือนของครูระหว่างข้าราชการ และครูอัตราจ้างในโรงเรียนแห่งเดียวกันก็ไม่เท่ากัน โดยเฉพาะอย่างยิ่ง “ครูอัตราจ้าง” ที่ไม่มีเกณฑ์มาตรฐานของเงินเดือน โดยขึ้นอยู่กับแหล่งที่มาของงบประมาณ
ทั้งนี้ ครูจำนวนมากในประเทศไทยต้องทำงานอยู่ในระบบที่ “ไม่ได้บรรจุในภูมิลำเนาของตัวเอง” ซึ่งต้องรับมือกับค่าใช้จ่ายเพื่อความเป็นอยู่พื้นฐาน อย่างน้อยก็ค่าที่อยู่อาศัย ค่าเดินทางส่วนบุคคล และค่าอุปกรณ์ของใช้ภายในบ้าน เป็นต้น
สหกรณ์ออมทรัพย์ เพื่อนยามยากของครู?
จากเหตุการณ์ทั้งหมดทำให้ครูต้องเข้าถึงแหล่งเงินกู้เพื่อมาประคับประคองชีวิตให้รอดพ้น ไปแต่ละเดือน หนึ่งในนั้นคือฃ “สหกรณ์อออมทรัพย์ครู” ที่ปัจจุบันเป็นเจ้าหนี้ รายใหญ่ที่สุดของครูไทยที่ประมาณ 60% ของยอดหนี้ครูทั้งประเทศ
เนื่องจากมีกฎหมายที่กำหนดให้สหกรณ์มีสิทธิ์ตัดเงินเดือนครูแบบหน้าซองหรือหักเงินเดือนก่อนที่จะเข้าในบัญชีครูได้สูงสุด 70% ของเงินเดือนครูและเหลือไว้ให้ครูดำรงชีวิตที่ 30% ในแต่ละเดือน นั้นหมายความว่าหากครูเงินเดือน 15,000 บาทแล้วมีหนี้สหกรณ์อยู่ เจ้าหนี้สามารถหักเงินแบบหน้าซองได้สูงสุด 10,500 บาทแล้วเหลือให้ครูใช้ทั้งเดือน 4,500 บาท
ธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) จัดว่า “สหกรณ์อออมทรัพย์ครู” เป็นกลุ่มที่ไม่ใช่ธนาคาร หรือ นอนแบงก์ ดังนั้นจึงไม่ได้อยู่ภายใต้การดูแลของธปท. รวมทั้งไม่ได้อยู่ในระบบเครดิตบูโร ทำให้ทางสถานบันการเงินไม่สามารถประเมิน “สภาวะหนี้” ของครูที่ขอสินเชื่อจากสถาบันการเงินอื่นๆได้ เพราะขาดข้อมูลจาก สหกรณ์อออมทรัพย์ครู (หรืออาจจะหนี้นอกระบบอื่นอย่างบัตรกดเงินสด) จนนำไปสู่การปล่อยสินเชื่อออกมาที่อาจมีอัตราดอกเบี้ยสูงขึ้น ทำให้เกิดวงจรหนี้ที่ทำให้ ครูต้องกู้ยืมเพิ่มเติมเพื่อชำระหนี้ของสถาบันอื่น ๆ ต่อไป
ข้อเสนอแนะเเก้ปัญหาหนี้ครู
ด้าน ดร. ขจร ธนะแพสย์ กรรมการและเลขานุการ คณะกรรมการกำกับการแก้ไข หนี้สินประชาชนรายย่อย เสนอแนะแก้ปัญหาวงจรหนี้ครูไว้ 4 ประเด็นคือ
1. กำหนดเพดานการหักหนี้ครูต่อเดือนให้อยู่ที่ 70% จริง ไม่ใช่ 70% ทิพย์
ปัจจุบันครูหนึ่งคนมีภาระต้องจ่ายหนี้มากกว่าเกณฑ์ที่กฎหมายกำหนด 70% เพราะมีทั้ง เจ้าหนี้ที่อยู่ภายใต้เครดิตบูโรและไม่ได้อยู่ภายใต้เครดิตบูโร เช่นสหกรณ์ออมทรัพย์ครู
ดังนั้นเพื่อความเป็นธรรมควรนำหนี้ทั้งหมดของครูมาเป็นตัวคำนวณในการหักหนี้ ไม่ใช่เพียงเจ้าหนี้ที่เป็นสถาบันการเงินที่อยู่ภายใต้ธปท.และเครดิตบูโรคือคนคนเดียวกัน
2.กำหนดให้นายจ้างซึ่งก็คือกระทรวงศึกษาธิการเป็นผู้รับหน้าที่เจรจาไกล่เกลี่ย หนี้สินของครู
ในประเด็นนี้ มีความซับซ้อนอยู่บ้างเพราะนายจ้างของครูซึ่งก็คือบุคลากรในกระทรวงศึกษา รวมทั้งผอ.โรงเรียนหลายคนเข้าไปนั่งในบอร์ดของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูและรับเงิน จากหน่วยงานดังกล่าวจึงทำให้เกิด “ผลประโยชน์ทับซ้อน” หรือ Conflict of Interest และยากต่อการเจรจาไกล่เกลี่ยหนี้เพราะเจ้าหนี้และนายจ้างครูบ่อยครั้ง
3. สถาบันการเงินทั้งหมดต้องกำหนดอัตราดอกเบี้ยให้เป็นธรรมคือเฉลี่ย 4%
เพราะหนี้สินครูคือหนี้สินแบบ Payroll Credit หมายความว่ามีความเป็นไปได้ที่จะ ผิดนัดชำระหนี้ต่ำมาก ดังนั้นสถาบันการเงินทุกแห่งจำเป็นต้องกำหนดอัตราดอกเบี้ย ให้สมเหตุสมผล โดยพบว่าดอกเบี้ยเฉลี่ยปัจจุบันของสหกรณ์ออมทรัพย์ครูคงตัว อยู่ที่ประมาณ 5-6% ในขณะที่อัตราดอกเบี้ยสินเชื่อครูของธนาคารพาณิชย์ลอยตัว ตามอัตราดอกเบี้ยนโยบาย
4. หน่วยงานทางการเงินรวมทั้งสหกรณ์ออมทรัพย์ครูต้องเปลี่ยนลำดับการ ตัดหนี้ครูใหม่
หากต้องการแก้ไขปัญหาหนี้สินครูให้ลดน้อยลงสหกรณ์ออมทรัพย์ครูต้องเปลี่ยน ลำดับการตัดหนี้ใหม่เป็น
1. เงินต้น
2. ดอกเบี้ยตามสัญญา
3. เงินค่าหุ้นสหกรณ์
4. ค่าธรรมเนียม
5. ดอกเบี้ยผิดนัดชำระหนี้
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital