หลายคนอยากทำธุรกิจส่วนตัว แต่ไม่รู้จะขายอะไรดี หรือไม่รู้ว่าต้องเริ่มต้นจากตรงไหน ทำอะไรบ้าง การเลือกลงทุนในแฟรนไชส์ก็เป็นอีกหนึ่งทางเลือกที่ดี เพราะมี การวางระบบมาให้แล้วทั้งหมดและมีมืออาชีพที่มีประสบการณ์คอยให้คำปรึกษา ในการทำธุรกิจ
แฟรนไชส์น่าลงทุน ปี 2567
1. แฟรนไชส์ไอศกรีมซอฟต์เสิร์ฟ
ขนมหวานยอดฮิตที่ขายง่าย ราคาไม่แพงทำให้คนตัดสินใจซื้อซ้ำได้บ่อย ใช้เงินลงทุนไม่สูงเท่าไหร่ ไม่ต้องมีพื้นที่มากก็สามารถเปิดร้านได้สบาย ๆ เหมาะกับทำเลที่มีคนสัญจรผ่านไป-มา
2. แฟรนไชส์น้ำเต้าหู้ ปาท่องโก๋
ของกินเล่นอย่างปาท่องโก๋ เป็นอีกหนึ่งธุรกิจแฟรนไชส์ที่คนให้ความสนใจ เพราะใช้งบ ในการลงทุนไม่มาก ทำง่าย ขายง่าย ขายดี คืนทุนไว และปัจจุบันร้านต่าง ๆ ก็ปรับรูปแบบ ปาท่องโก๋ให้หลากหลายมากขึ้น มีทั้งแบบสอดไส้ หรือจิ้มดิปปิ้งซอสหลายรสชาติ
3. แฟรนไชส์ร้านสะดวกซัก-เครื่องซักผ้าหยอดเหรียญ
เป็นธุรกิจที่กำลังเติบโตในสังคมเมือง เพราะเป็นบริการที่ช่วยทุ่นแรงและประหยัดเวลา ในการซักผ้า อีกทั้งเป็นธุรกิจที่รับเงินสดทันที จึงมักได้ผลตอบแทนกลับมาเร็ว
4. แฟรนไชส์สุกี้
ธุรกิจอาหารประเภทสุกี้ ชาบู ยังได้รับความนิยมไม่แผ่ว เราถึงได้เห็นแบรนด์แฟรนไชส์สุกี้ หน้าใหม่เปิดตัวออกมาเรื่อย ๆ โดยมีให้เลือกรับประทานตั้งแต่ระดับราคาย่อมเยา ไปจนถึงร้านระดับพรีเมียม
5. แฟรนไชส์ชาไข่มุก
ไม่ว่าจะผ่านไปกี่ปี ชานมไข่มุกก็ยังติดอันดับเมนูเครื่องดื่มขายดีและมีแบรนด์แฟรนไชส์ เจ้าใหม่ ๆ เข้าสู่ตลาดเพิ่มขึ้นทุกปี
6. แฟรนไชส์ร้านทุกอย่างราคาเดียว
ถือเป็นธุรกิจที่ทำกำไรได้ไม่น้อย เพราะมักจะมีลูกค้าเข้ามาอุดหนุนไม่ขาดสาย บางคน ไม่ได้ตั้งใจซื้ออะไร แต่พอได้เดินชมก็ต้องหยิบอะไรติดไม้ติดมือกลับไป ตอบโจทย์ คนที่ต้องการสินค้าราคาย่อมเยา
7. แฟรนไชส์ขนมปังนมสด
อีกหนึ่งเมนูของกินเล่นที่ทำง่าย กินง่าย ขายง่าย ใช้งบประมาณลงทุนไม่สูงนัก ถูกใจคนทุกวัย โดยเฉพาะวัยรุ่น วัยทำงาน เหมาะกับการขายตามตลาดนัด หรือย่านโรงเรียน มหาวิทยาลัย ออฟฟิศ เป็นต้น
8. แฟรนไชส์คาร์แคร์
แม้จะใช้งบประมาณหลักล้าน แต่ธุรกิจบริการล้างรถยนต์และดูแลรถยนต์ก็ยังเป็นโอกาส ในการลงทุนระยะยาว ตอบโจทย์คนรักรถที่ต้องการดูแลรักษารถให้ดูใหม่อยู่เสมอ
สิ่งที่ควรพิจารณาก่อนซื้อแฟรนไชส์
1.เลือกธุรกิจที่มีแนวโน้มเติบโต ต้องดูเทรนด์ของตลาดว่าสิ่งที่เราจะขายหรือ ให้บริการนั้นยังไปได้ดีในอนาคตหรือไม่ กลุ่มลูกค้ามีมากแค่ไหน ความต้องการของตลาด เป็นอย่างไร คู่แข่งเยอะไหม เพื่อประเมินโอกาสและความเสี่ยงก่อนลงทุน
2.เลือกตามธุรกิจที่ตัวเองสนใจและมีความรู้ แม้ว่าแฟรนไชส์จะมีการวางระบบ และฝึกอบรมทุกขั้นตอนแล้ว แต่หากเราไม่ได้สนใจและไม่เคยศึกษา หรือไม่มีทักษะ บางอย่างในการทำกิจการนั้น ๆ อาจไม่สามารถเปิดร้านได้ในระยะยาว รวมทั้งไม่เข้าใจ ความต้องการที่แท้จริงของลูกค้า
3.เลือกแบรนด์ที่มีความน่าเชื่อ พิจารณาว่าชื่อเสียงเป็นอย่างไร มีประวัติและ ผลการดำเนินการที่ผ่านมาดีหรือไม่ มีข่าวด้านลบหรือคำวิจารณ์ของลูกค้าแค่ไหน เช่น ถ้าเป็นแฟรนไชส์อาหาร รสชาติต้องอร่อย ของต้องสด ใหม่ สะอาด หรือหากมีฐานลูกค้า ที่รู้จักชื่อเสียงของแบรนด์อยู่ก่อนแล้วก็ยิ่งช่วยให้เราขายสินค้าได้ง่ายขึ้น
4.เลือกแบรนด์ที่มีการอำนวยความสะดวกในด้านต่าง ๆ เช่น ฝึกอบรมทุกขั้นตอน สอนเรื่องการตลาด วางแผนธุรกิจ การจัดการบัญชี การคัดเลือกพนักงาน ให้คำปรึกษาหลังการขาย สามารถซื้อวัตถุดิบและอุปกรณ์ต่าง ๆ ได้ในราคาพิเศษ เป็นต้น
5.เลือกตามงบประมาณของตัวเอง เปรียบเทียบเรื่องค่าแฟรนไชส์ งบลงทุนก่อสร้าง ค่าเช่าสถานที่ ค่าวัตถุดิบ-อุปกรณ์ที่ต้องใช้แล้ว ยังต้องพิจารณาเรื่องการเก็บ ค่าธรรมเนียมรายเดือน รายปี ค่าส่วนแบ่งการขาย ซึ่งแบรนด์ใหญ่ ๆ มักเรียกเก็บค่าใช้จ่ายส่วนนี้ด้วย จึงต้องสอบถามให้ชัดเจน เพื่อคำนวณงบลงทุน กำไรที่คาดหวัง และจุดคุ้มทุนให้ดี
จะซื้อแฟรนด์ไชส์ต้องดูเอกสารเรื่องอะไรบ้าง?
1. การให้สิทธิ์และข้อกำหนดการใช้เครื่องหมายการค้า
สิทธิ์ในการเรียนรู้กระบวนการทำธุรกิจภายใต้เครื่องหมายการค้า ผู้รับสิทธิ์จะได้รับการฝึกฝนทักษะที่จำเป็นเกี่ยวกับธุรกิจนั้น ๆ เช่น การทำอาหารและเครื่องดื่ม การบริหารจัดการร้านค้า หรือความรู้ความเข้าใจด้านบัญชี เป็นต้น
2. ข้อกำหนดเกี่ยวกับการเลือกทำเล
โดยทั่วไปแล้วแฟรนไซส์ซอร์มักมีส่วนช่วยในการตัดสินใจเลือกทำเลที่ตั้งและให้ข้อมูล เกี่ยวกับสถานที่ที่แฟรนไซส์ควรมองหา เพื่อลดความเสี่ยงที่อาจจะเกิดขึ้นจากการเลือก สถานที่ที่อาจจะไม่เหมาะสมกับสินค้าที่จำหน่าย แฟรนไชส์ที่มีระบบการจัดการที่ดี จะไม่มุ่งหวังแค่ผลกำไรเพียงอย่างเดียว แต่จะมองถึงการเติบโตอย่างมั่นคงในระยะยาว ที่ส่งผลต่อบริษัทแม่และแฟรนไชส์ เพราะทำเลที่ดีเป็นปัจจัยหลักที่ช่วยให้ธุรกิจ ดำเนินกิจการได้ เมี่อได้รับการอนุมัติแล้วก็เป็นหน้าที่ของแฟรนไซส์ที่จะต้องรับผิดชอบ ในการจัดสถานที่ให้ได้ตามมาตรฐานของแฟรนไชส์
3. ระยะเวลาสัญญาแฟรนไชส์
ในเอกสารสัญญาต้องมีการกำหนดระยะเวลา ในการให้สิทธิสำหรับผู้ซื้อแฟรนไซส์ อาจจะเป็น 3 ปี หรือ 5 ปี ซึ่งจะแตกต่างกันไปในแต่ละแฟรนไชส์ส่วนใหญ่ขึ้นอยู่กับ รูปแบบของการลงทุน เช่น ร้านขนาดเล็กก็จะมีรอบการต่อสัญญาที่สั้นกว่า รูปแบบร้านที่มีขนาดใหญ่กว่า เพราะต้องอาศัยระยะเวลาในการคืนทุนทีนานกว่า
4. กฎระเบียบในการดำเนินธุรกิจ
เพื่อให้ธุรกิจดำเนินไปตามแผนที่วางไว้และเป็นไปตามมาตรฐานเดียวกัน จึงจำเป็น ที่จะต้องมีการตั้งกฎระเบียบขึ้นมาเพื่อเป็นแนวทางปฏิบัติสำหรับผู้ซื้อแฟรนไชส์ ในการผลิตสินค้าหรือบริการให้ตรงตามคุณภาพที่กำหนด ไม่เช่นนั้นอาจเกิดปัญหา ที่ยากจะควบคุมได้ ส่งผลต่อชื่อเสียงและความน่าเชื่อถือของแฟรนไชส์ได้
5. รายละเอียดการฝึกอบรม
ทางแฟรนไชส์จะเป็นผู้จัดทำคู่มือแฟรนไซส์ที่รวบรวมระบบของแฟรนไชส์ไว้ทั้งหมด สามารถควบคุมการทำงานของแต่ละสาขาให้เป็นไปในทิศทางเดียวกัน ซึ่งในเอกสาร สัญญาจะระบว่าในคู่มือการฝึกอบรมประกอบด้วยเรืองอะไรบ้าง เช่น รูปแบบการฝึกอบรม
ทั้งภาคทฤษฎีและภาคปฏิบัติ สถานที่ฝึกอบรม ระยะเวลา การเตรียมความพร้อม ก่อนอบรมรวมถึงกระบวนการตรวจสอบในขั้นตอนการปฏิบัติงานของสาขา
6.ค่าธรรมเนียมที่ผู้รับสิทธิ์ต้องจ่าย
- ค่าธรรมเนียมแฟรนไชส์ (Franchise Fee) ซึ่งอาจเปรียบได้กับค่าธรรมเนียมแรกเข้า เพื่อแลกกับเครื่องหมายการค้า ความรู้ เทคนิคการบริหารธุรกิจจากแฟรนไชส์ซอร์
- ค่าธรรมเนียมสิทธิ์ (Royalty Fee) เป็นค่าตอบแทนที่คิดเป็นสัดส่วนต่อเดือนหรือต่อปี เช่น คิดจากยอดสั่งซื้อ ยอดขาย หรือผลกำไรจากการดำเนินธุรกิจ
- ค่าใช้จ่ายเพื่อการโฆษณา (AdvertisingFee) เป็นค่าตอบแทนที่จ่ายเพื่อนำไปใช้เพื่อการโฆษณาและส่งเสริมการขาย ส่วนใหญ่จะเก็บเป็นรายเดือนตามสัดส่วนของการดำเนินงาน ซึ่งมีรูปแบบ ที่แตกต่างกันไป ในส่วนนี้แฟรนไซส์ซอร์อาจจะเรียกเก็บหรือไม่เก็บก็ได้ แล้วแต่จะตกลงกัน
7.การผิดสัญญาและการยกเลิกสัญญา
ไม่ว่าจะด้วยเหตุสุดวิสัยหรือกระทำความผิดจนเกิดการยกเลิกสัญญา จึงจำเป็นที่จะต้อง ระบุในเอกสารสัญญาว่ามีกรณีใดบ้างที่ถือว่าเป็นการสิ้นสุดพันธะที่มีร่วมกัน หากกระทำการเช่นใดจึงจะถือว่าผิดสัญญา เจ้าของแฟรนไซส์สามารถดำเนินการ ตามข้อตกลงที่บันทึกไว้เป็นลายลักษณ์อักษรได้ทันที
ก่อนตัดสินใจซื้อแฟรนไชส์ควรทำความเข้าใจในเนื้อหาสัญญาให้ชัดเจนทุกข้อ ตามเงื่อนไขที่บริษัทแม่เสนอมา ซึ่งสัญญาแฟรนไชส์ควร Win-Win กันทุกฝ่าย เพราะไม่ใช่แค่ผลกำไรเท่านั้น แต่เป็นการลุงทุนที่คุ้มค่าและให้ผลตอบแทนในระยะยาว
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่