logo เงินทองของจริง

“5 อคติการลงทุน” รู้ทันไว้ไม่ขาดทุนซ้ำซาก และการลงทุนแบบไหนที่เหมาะสมกับเรา | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : ส่วนมากคนจะคิดว่านักลงทุน ลงทุนอย่างเหตุผลเสมอ อยากจะรู้ว่ามีนักลงทุน มีมุมที่มี “อคติ” กับการลงทุนบ้างหรือเปล่า ? ch7hd news,tero digital,ch7hdnews,terodigital,เงินทองของจริง,moneycoach,money coach,โคชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โคชหนุ่ม จักรพงษ์,โคชหนุ่ม,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โค้ชหนุ่ม จักรพงษ์,โค้ชหนุ่ม,โคชหนุ่มจักรพงษ์,โค้ชหนุ่มจักรพงษ์,กาย สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,กาย สวิตต์,กายสวิตต์,แพรว ภัทรนันท์ ประยูรวงค์,แพรว ภัทรนันท์,แพรวภัทรนันท์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,การออม,ออมเงิน,เก็บเงิน,สอนลงทุน,สอนออมเงิน,สอนเก็บเงิน

15,343 ครั้ง
|
26 ก.พ. 2567
ส่วนมากคนจะคิดว่านักลงทุน ลงทุนอย่างเหตุผลเสมอ อยากจะรู้ว่ามีนักลงทุน มีมุมที่มี “อคติ” กับการลงทุนบ้างหรือเปล่า ?
 
บางครั้งคนเรามักจะคิดว่า “การตัดสินใจ” เหล่านั้นเป็นไปด้วยซึ่งเหตุผล แต่อันที่จริงแล้วการตัดสินใจทางการเงินของนักลงทุนมักจะมี “อคติ” และ “เอนเอียง” จากอารมณ์และจิตวิทยาอยู่บ่อยครั้ง ซึ่ง “5 อคติการลงทุน” ที่มีส่วนทำให้นักลงทุนทำผิดพลาด และไปไม่ถึงเป้าหมาย
 
1. Confirmation bias (อคติปิดกั้นความเห็นต่าง)
มนุษย์มักจะเลือกรับข้อมูลที่สนับสนุนความเชื่อเดิมของตัวเอง และปฏิเสธข้อมูลที่ขัดแย้ง เพื่อยืนยันความเชื่อของตัวเอง ซึ่งเป็นอคติพื้นฐานที่ทำให้นักลงทุน ลงทุนผิดพลาดบ่อยที่สุด
2. Experiential Bias (อคติภาพจำ)
ในแต่ละวันเราต้องรับข้อมูลหลายอย่าง ทำให้พื้นที่ความจำมีจำกัด มนุษย์จึงมักดึงข้อมูลล่าสุดมาใช้ในการตัดสินใจทำสิ่งต่าง ๆ มากกว่าข้อมูลในอดีต ในแง่การลงทุน อคตินี้จะทำให้นักลงทุน ตัดสินใจลงทุนด้วยการให้น้ำหนักกับเหตุการณ์ ที่เพิ่งเกิดขึ้นมากเกินไป จนอาจทำให้วิธีคิดหรือการตัดสินใจคลาดเคลื่อนไป จากที่ควรจะเป็น
3. Loss Aversion (อคติหลีกเลี่ยงการสูญเสีย)
Daniel Kahneman นักจิตวิทยาชาวอเมริกันที่ได้รับรางวัลโนเบลสาขาเศรษฐศาสตร์ ได้กล่าวไว้ว่า คนเราเกลียดการสูญเสียมากกว่าดีใจกับการได้มา จึงไม่แปลกที่นักลงทุน เมื่อต้องเผชิญความผันผวนระยะสั้นในตลาดที่ทำให้ ราคาสินทรัพย์ลดลง นักลงทุนจะเกิดพฤติกรรมหลีกเลี่ยงการขาดทุน (loss aversion) ด้วยการไม่ตัดขายสินทรัพย์นั้นและถือขาดทุนไว้นานเกินไปหรือในทางตรงกันข้าม เลือกที่จะเทขายสินทรัพย์นั้นเร็วเกินไป เพื่อลดการสูญเสียที่อาจเกิดขึ้น และกลับมาลงทุนใหม่ในช่วงที่ตลาดฟื้น ซึ่งจะทำให้นักลงทุนต้องซื้อสินทรัพย์ ในราคาแพงกว่าเดิม 
4. Sunk Cost Fallacy (อคติต้นทุนจม)
คนเรามักรู้สึกว่ามูลค่าที่สูญเสียนั้นมีน้ำหนักมากกว่ามูลค่าที่เราจะได้ จึงเป็นเหตุผลที่ทำให้ นักลงทุนยึดติด กับการลงทุนในสินทรัพย์ที่ตัวเองลงเงินหรือลงแรงวางแผนการลงทุน อย่างหนัก แม้ว่าสินทรัพย์นั้นจะไม่ตอบโจทย์การลงทุนอีกต่อไป เนื่องจากเสียดายต้นทุน ที่จมไปแล้ว และคาดหวังว่าในอนาคตสินทรัพย์นั้นจะกลับมาทำกำไร เพื่อชดเชย การขาดทุนปัจจุบัน อาจทำให้นักลงทุนเลือกจะลงทุนนานกว่าที่ควรจะเป็น และเพิ่มความเสี่ยงให้พอร์ตการลงทุน จนนำไปสู่ความเสียหายขนาดใหญ่ได้
5. Familiarity Bias (อคติความเคยชิน)
โดยยึดถือข้อมูลหรือประสบการณ์ ที่ตัวเองมีความคุ้นเคย นักลงทุนมีแนวโน้มที่จะเลือก ลงทุนในสิ่งที่ตัวเองมีความคุ้นเคย โดยใช้ความคุ้นเคยเป็นทางลัดในการตัดสินใจลงทุน มากกว่าการประเมินสถานการณ์ตามความเป็นจริง 
 
ปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งที่ทำให้เกิดความผิดพลาดในการลงทุนคือ นักลงทุนไม่รู้จักตัวเอง ดังนั้น ก่อนเริ่มลงทุนควรสำรวจสไตล์การลงทุนของตัวเองก่อน จากนั้นก็จะสามารถ เลือกหุ้นและกลยุทธ์การลงทุนได้อย่างเหมาะสม 
 
รูปแบบการลงทุนที่นิยมในปัจจุบันมี 7 รูปแบบ ดังนี้
 
1. Value Investing เป็นลักษณะการลงทุนที่เน้นการเลือกซื้อบริษัทที่มีพื้นฐานแข็งแรง มีราคาต่ำกว่ามูลค่าพื้นฐาน 
2. Growth Investing เป็นการลงทุนแบบเน้นการเติบโต โดยเลือกหุ้นที่สามารถ ขยายตัวได้รวดเร็วกว่าธุรกิจในกลุ่มอุตสาหกรรมเดียวกัน 
3. Momentum Investing เป็นการลงทุนแบบตามกระแส พิจารณาจากปัจจัย ที่กำลังมีผลกับการตัดสินใจของนักลงทุนและเม็ดเงินในช่วงเวลานั้น จึงต้องใช้ ข้อมูลที่ค่อนข้างอัพเดท ใกล้ชิด และทันเหตุการณ์ข่าวสารการลงทุนต่าง ๆ ในระยะสั้น
4. Contrarian Investing เป็นลักษณะการลงทุนแบบสวนทางตลาด กลยุทธ์ที่สำคัญ คือ มองหาโอกาสเข้าลงทุนในช่วงที่ตลาดอยู่ในภาวะที่มองโลกในแง่ดีเกินไป (Greed) หรือร้ายเกินไป (Fear) และขายในระดับราคาที่เหมาะสม ซึ่งเหมาะกับช่วงที่เริ่ม มีสัญญาณของการอิ่มตัว หรือมูลค่าของบริษัทลดลงถึงจุดที่เหมาะสม
5. Income Investing เป็นการลงทุนที่เน้นผลตอบแทนจากการลงทุนนอกเหนือจาก กำไรส่วนต่างของราคา (Capital Gain) คือ ผลตอบแทนในรูปแบบของรายได้ เงินปันผล ดอกเบี้ยรับจากการลงทุน 
6. Active Investing เป็นการลงทุนที่อาศัยความขยันและทักษะของนักลงทุน ในการพยายามสร้างผลตอบแทนให้สูงกว่าตลาดโดยรวม อาจเลือกสร้างผลตอบแทน จากความผันผวนระยะสั้น หรืออาจเกิดจากการปรับพอร์ตลงทุนไปตามกลุ่มสินทรัพย์ ลงทุนต่าง ๆ 
7. Passive Investing เป็นการเน้นลงทุนซื้อและถือเป็นระยะเวลานาน (Buy and Hold) ดังนั้น จึงเลือกสินทรัพย์ลงทุนที่มีการกระจายตัวที่ดีเพื่อลดความเสี่ยง เหมาะกับนักลงทุนที่ไม่คาดหวังได้ผลกำไรที่รวดเร็วหรือจากราคาเคลื่อนไหวในรายวัน หลักการสำคัญ คือ นักลงทุนต้องเชื่อว่าการลงทุนในสินทรัพย์เสี่ยงที่มีการกระจายตัว และลงทุนเพื่อให้ได้รับผลตอบแทนเกาะไปกับดัชนี จะสามารถสร้างผลตอบแทน ให้ได้ในระยะยาว ดังนั้น จึงเหมาะกับการลงทุนทุกช่วงเวลา
 
อย่างไรก็ดี ไม่ว่ากลยุทธ์การลงทุนรูปแบบไหนย่อมมีความเสี่ยงร่วมด้วยเสมอ นักลงทุนต้องพิจารณาข้อมูลและปัจจัยที่อาจส่งผลกระทบต่อราคาสินทรัพย์อย่างรัดกุม ก่อนตัดสินใจลงทุน เพราะไม่มีกลยุทธ์ใดจะดีไปตลอด ที่สำคัญไม่มีนักลงทุนคนไหน จะกำไรหรือขาดทุนไปตลอดเช่นกัน ขอเพียงมีวินัย มีหลักการที่ชัดเจน และมีกลยุทธ์ ที่สอดคล้องไปกับสไตล์การลงทุนอยู่เสมอ
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://www.youtube.com/live/bK2KnO-E5jM?feature=shared
 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง