logo เงินทองของจริง

ธนาคารได้กำไรแสนล้าน แต่คนไทยยังเป็นหนี้ท่วมประเทศ | เงินทองของจริง

936 ครั้ง
|
19 ก.พ. 2567
เนื่องจากกระแสวิพากษ์วิจารณ์ เรื่องของ ธนาคารได้กำไรแสนล้าน แต่คนไทยยังเป็นหนี้ท่วมประเทศจริงหรือไม่ แล้วเราคนทำงานควรทำอย่างไร ?
 
เรื่องนี้ก่อให้เกิดกระแสวิพากษ์วิจารณ์ถึงความเหมาะสมในการทำกำไรของธุรกิจธนาคารในประเทศ ท่ามกลางภาวะเศรษฐกิจที่ยังไม่ฟื้นตัว จนถูกตั้งคำถามแรง ๆ ถึงรัฐบาลและธนาคารแห่งประเทศไทย (ธปท.) ซึ่งเรื่องนี้เองประชาชนได้ให้ความสนใจเป็นอย่างมาก
 
เนื่องจาก กำไรของกลุ่มธุรกิจแบงก์ สวนทางชีวิตปากท้องทางเศรษฐกิจของพ่อค้าแม่ค้า เอสเอ็มอีที่กำลังหมดแรง และกำลังซื้อผู้คน จนถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็น "กำไร" ในสถานการณ์ที่ไม่ปกติ สวนทางตัวเลขจีดีพีประเทศที่ปรับตัวลดลง โดยเฉพาะประเด็น "ส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ" หรือ NIM ที่ถูกมองว่าเป็นตัวทำกำไรที่สูงลิ่วให้แบงก์
 
กำไรธนาคารที่สูงมากมีผลมาจากการแข่งขันในธุรกิจธนาคารที่ต่ำ โดยที่ผ่านมาแบงก์ชาติเน้นดูแลเสถียรภาพ "มากเกินไป" ปกป้องแบงก์ไทย ทำให้แบงก์ต่างประเทศเข้ามาแข่งในตลาดรายย่อยได้ยากโดยคาดว่าในปี 2566 จะมีกำไรที่สูงเป็นประวัติการณ์ที่ 2.02 หมื่นล้านบาท หลัก ๆ มาจากการปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ย (Spread) ระหว่างดอกเบี้ยรับและดอกเบี้ยฝากสูงขึ้น ถัดมาคือการรับรู้รายการทางบัญชี (Mark to Market) ในตราสารทุนและตราสารเงิน นอกจากนี้ ยังมาจากการที่มูลค่าเศรษฐกิจไทย (Norminal GDP ไม่รวมเงินเฟ้อ) เติบโตสูงสุดเป็นประวัติการณ์ด้วยเช่นกัน ส่งผลให้กำไรของธนาคารเพิ่มขึ้นตามภาวะเศรษฐกิจ
 
ส่วนประเด็นส่วนต่างรายได้ดอกเบี้ยสุทธิ (NIM) ต้องอธิบายเพิ่มเติมว่า NIM ไม่เท่ากับ "ดอกเบี้ยรับ-ดอกเบี้ยจ่าย" ตรง ๆ แต่เป็น "ดอกเบี้ยสุทธิ/สินทรัพย์ที่ก่อให้เกิดรายได้" กล่าวคือ ซับซ้อนกว่าการเอาดอกเบี้ยเงินกู้ลบดอกเบี้ยเงินฝากนั่นเอง
 
ปรากฏการณ์ดังกล่าวถือเป็น "วัฏจักร" (Cycle) ของธุรกิจธนาคาร ที่เมื่อดอกเบี้ยในระบบสูงขึ้น กำไรของกลุ่มธนาคารก็เติบโตตามไปด้วย
 
ส่วนข้อวิพากษ์ว่ากำไรของธนาคารไทยมากเกินความเหมาะสมหรือไม่นั้น หากพิจารณาอัตราผลตอบแทนจากส่วนของผู้ถือหุ้น (Return On Equity: ROE) จะเห็นว่ากลุ่มธนาคารมี ROE เฉลี่ยที่ 8-9% เท่านั้น ถือว่าต่ำมาก (ปกติลงทุนคาดหวังกันที่ 10% ขึ้นไป)
 
นอกจากนี้ เมื่อเทียบกับในอดีต อัตรากำไรตอนนี้ก็ยังถือว่าอยู่ในระดับต่ำ เพราะในช่วงปี 2556-2557 หรือเมื่อราว 10 ปีก่อน ธนาคารไทยเคยมี ROE สูงถึง 17-18% เลยทีเดียว (ยกเว้นช่วงโควิด-19 เคยตกลงไปที่ 5-6%) ซึ่งสรุปได้ว่า การปรับขึ้นอัตราดอกเบี้ยนโยบาย ทำให้ส่วนต่างดอกเบี้ย มีผลต่อกำไรธนาคารก็จริง แต่ไม่ใช่ปัจจัยของกำไรธนาคารทั้งหมด
 
เนื่องจากไขข้อสงสัยเรื่องของกำไรธนาคารกันไปแล้ว แต่คนไทยยังเป็นหนี้ท่วมประเทศ แล้วคนทำงานเดือนเงินอย่างเราควรทำอย่างไร ? 
 
1. รู้จักประเภทหนี้ให้ดีเสียก่อน
การเป็นหนี้ไม่ใช่เรื่องแย่ แต่เราควรรู้จักประเภทหนี้ว่า หนี้ดี คือ หนี้ที่ก่อให้เกิดรายได้
1.1.  กู้เงินเพื่อทำกิจการ 
1.2. กู้เงินซื้อบ้าน เพราะโดยธรรมชาติของบ้านจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นทุกปี โดยเฉพาะบ้านที่อยู่บนทำเลดีๆจะมีมูลค่าเพิ่มขึ้นเรื่อย ๆ
1.3. กู้เงินซื้อรถก็ขึ้นอยู่กับซื้อไปทำอะไร ถ้าซื้อเพื่อนำไปต่อยอดสร้างรายได้ก็ถือเป็นหนี้ดี เช่น เป็นเซลล์หรือซื้อรถเพื่อขับไปทำงาน 
 
หนี้เลว คือ หนี้ที่กู้ยืมเพื่อการบริโภคต่างๆ เพื่อความสบายเป็นหลัก
- การกู้ซื้อรถโดยไม่มีความจำเป็นหรือไม่สามารถนำรถไปหารายได้เพิ่มได้ 
- การกู้ยืมเพื่อไปเที่ยวก่อนแล้วค่อยกลับมาจ่ายทีหลัง 
- การเป็นหนี้บัตรเครดิตหรือหนี้นอกระบบที่ดอกเบี้ยแพงแสนแพง เพื่อนำเงินมาจับจ่ายใช้สอยหรือสนองกิเลสส่วนตัว 
 
2. รู้เป้าหมายทางการเงินของตัวเอง
ปัญหาที่คนเรามักใช้จ่ายเกินตัว 
2.1. เกิดจากไม่มีเป้าหมายทางการเงินที่ชัดเจน 
3.2. ไม่มีแรงบันดาลใจที่จะออมเงินไว้เพื่อทำอะไรซักอย่าง 
 
ลองตั้งเป้าหมายทางการเงินในชีวิตที่อยากจะทำให้สำเร็จ 
- อยากมีบ้านให้ครอบครัว 
- อยากไปท่องเที่ยวเก็บเกี่ยวประสบการณ์ชีวิต 
- เก็บเงินไว้ใช้จ่ายหลังเกษียณ หากเราปรับเป้าหมายต่าง ๆ
 
3. รู้ทันดอกเบี้ย ชำระให้ตรงเวลา 
การใช้บัตรเครดิตก็ต้องมาพร้อมกับความมีวินัยเสมอ
3.1. ต้องจ่ายหนี้บัตรเครดิตให้ตรงเวลา 
3.2 อย่าเผลอใช้เงินเกินตัว พอถึงรอบวันดันมีเงินสดในกระเป๋าไม่พอจ่าย สิ่งที่ตามมาก็คือ ดอกเบี้ยบัตรเครดิตที่ต้องจ่ายอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ แทนที่เราจะได้ประโยชน์จากการใช้บัตรเครดิตหรือได้ส่วนลด กลับกลายเป็นโทษ ต้องแบกรับภาระค่าดอกเบี้ยบัตรเครดิตเพิ่มขึ้น
 
4. รู้ถึงความจำเป็น สติต้องมา
4.1. เมื่อเจอของที่อยากได้ให้กลับมาหาข้อมูลก่อนเสมอ 
4.2. เปรียบเทียบหาร้านที่คุ้มค่าที่สุด 
4.3. คิดทบทวนให้ดีว่าของชิ้นนั้นจำเป็นมากน้อยแค่ไหน คุ้มค่ากับการก่อหนี้เพิ่มขึ้นหรือไม่ ใช้เหตุผลให้เยอะ ใช้อารมณ์ให้น้อย
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง