กองทุน Thai ESG ที่เปิดให้ซื้อเมื่อปลายปีที่แล้ว ได้ลดเอามาลดหย่อนสูงสุด 100,000 บาท ปีนี้หากซื้ออีก จะลดหย่อนได้อีกไหม ?
ต้องรอดูมาตรการที่จะออกในปีนี้ ว่าจะมีการให้เอามาลดหย่อนอีกไหม แต่ต้องบอกว่ากองทุน Thai ESG ที่เปิดให้ซื้อเมื่อปลายปีที่ผ่านมานี้ ได้รับกระแสตอบรับที่ดีเลย และแน่นอนพฤติกรรมของนักลงทุนกองทุนประหยัดภาษี ยังคงเข้าซื้อลงทุนมากในช่วงวันสุดท้าย เข้ามาถึงอีกหลายพันล้านบาท จาก แรงซื้อเข้ามาเต็มๆ ณ 22 ธ.ค. 66 มียอดสินทรัพย์ภายใต้การบริหารจัดการ (AUM) รวมกันใกล้ถึง 3,000 ล้านบาท และล่าสุด ณ 28 ธ.ค. 2566 จำนวน 14 บลจ. 28 กองทุน มียอดรวมกันทั้งสิ้น 5,218.53 ล้านบาท
โดย 7 บริษัทหลักทรัพย์จัดการกองทุน (บลจ.) รายใหญ่ที่มีการเปิดขายกองทุน Thai ESG และมียอด AUM เข้ามาเป็นส่วนใหญ่ นำโดย
อันดับ 1. บลจ. กสิกรไทย 1,411 ล้านบาท
อันดับ 2. บลจ.ไทยพาณิชย์ 1,127 ล้านบาท
อันดับ 3. บลจ.บัวหลวง 817.55 ล้านบาท
อันดับ 4. บลจ.เกียรตินาคินภัทร 570.73 ล้านบาท
อันดับ 5. บลจ. กรุงไทย 551.60 ล้านบาท
อันดับ 6. บลจ.กรุงศรี 452 ล้านบาท
อันดับ 7. บลจ.อีสท์สปริง 255.55 ล้านบาท
ทั้งนี้ ช่วงที่ผ่านมา ดัชนีหุ้นไทยปรับลดลงมาระดับที่น่าสนใจ ประกอบกับมูลค่า NAV ของกองทุน Thai ESG หลังออกเสนอขายหน่วยลงทุนยังปรับขึ้นมาไม่มาก ในปี 2567 จึงมองเป็นจังหวะเข้าลงทุนได้ต่อเนื่องต้นแต่ต้นปี เพื่อทยอยสะสมมูลค่าเงินออม และนำไปใช้สิทธิลดหย่อนภาษีสำหรับปีนี้ได้
สำหรับปี 2567 ได้ต่อเนื่อง และยังเป็นส่วนหนึ่งที่พร้อมหนุนการขับเคลื่อนระบบเศรษฐกิจ และสังคมไทยให้มีการเติบโตเพื่อก้าวไปสู่ความยั่งยืนร่วมกันอีกด้วย"
หากปีนี้ต้องการลงทุนในกองทุนต่าง ๆ ไม่เป็น SSF RMF Thai ESG ต้องลงทุนช่วงไหนของปีบ้าง ?
ก่อนที่จะบอกได้ว่าควรลงตอนไหน ต้องถามก่อนว่า คุณเป็นนักลงทุนสายไหน เพราะก็จะมีสายที่เปย์หนัก ซื้อเยอะ ซื้อทีเดียว หรือเงินน้อยๆ ค่อย ๆ สะสม แบ่งออกมาเป็น 3 แบบ
1. สายเปย์ ทุ่มซื้อช่วงปลายปีทีเดียว
หลายคนเลือกสายนี้ด้วยเหตุผลว่า ปลายปีจะคำนวณรายได้รวมทั้งปีได้ชัดเจน เพราะนอกจากเงินเดือนที่เท่ากันทุกเดือนแล้ว
มองจากมุมนี้ก็ถือว่าช่วยป้องกันการซื้อเกินสิทธิลดหย่อนภาษีได้ ทำให้รู้ว่าควรซื้อ
SSF เท่าไหร่ที่จะไม่เกิน 30% ของรายได้ แต่ต้องไม่เกิน 200,000 บาท ในส่วนของ
RMF ก็สามารถซื้อได้ไม่เกิน 30% ของรายได้เช่นกัน แต่ทั้ง SSF/ RMF
เมื่อรวมกับการออมเพื่อเกษียณอื่น ๆ จะต้องไม่เกิน 500,000 บาท
Thai ESG : ไม่เกิน 30% ของรายได้ทั้งปี และไม่เกิน 100,000 บาท
เหตุผล
การซื้อกองทุน ตั้งแต่ต้นปี เหมือนเราต้องจ่ายเงินไปก่อน ทั้ง ๆ ที่กว่าจะใช้สิทธิลดหย่อนภาษีจริง ๆ ก็ตั้งเดือนมีนาคมของปีถัดไป เหมือนเงินไปจมอยู่ก่อนตั้งนาน
มองอีกด้าน การลงทุน SSF / RMF เร็วก็ทำให้เงินของเรามีโอกาสเติบโตจากผลตอบแทนที่สะสมไว้ได้มากกว่าการเก็บไว้ในบัญชีเงินฝากเฉย ๆ ไปจนถึงปลายปี
2. สายช้อน รอจังหวะช้อนซื้อเวลา NAV ลงแรง ๆ
หลักการของวิธีนี้คือการคาดการณ์สถานการณ์การลงทุน แลัวจับจังหวะที่ NAV ปรับตัวลดลง จึงค่อยซื้อกองทุน
ในความเป็นจริง เราไม่สามารถรู้ได้เลยว่า ณ ขณะนั้น NAV ลดลงต่ำสุดแล้วหรือยัง ที่เราคิดว่าต่ำแล้ว อาจมีวันที่ต่ำกว่า หรือเราคิดว่ารอก่อนเดี๋ยว NAV จะตกอีก ปรากฎว่ากลับปรับตัวเพิ่มขึ้นต่อเนื่อง ซึ่งในกรณีของ SSF/ RMF ที่ลงทุนในหุ้นจะยิ่งมีความผันผวนสูง การจับจังหวะลงทุนให้แม่นยำ 100% จึงเป็นเรื่องยากมาก
3. สายแข็ง เฉลี่ยการลงทุนทุกเดือนแบบ Dollar Cost Averaging (DCA)
Dollar Cost Averaging (DCA) หมายถึง “การลงทุนแบบถัวเฉลี่ย” โดยทยอยซื้อกองทุนรวมในแต่ละเดือนด้วยจำนวนเงินที่เท่ากัน เช่น ตั้งใจจะลงทุน SSF / RMF ในปีนี้ 60,000 บาท ก็ลงทุนทุกเดือน เดือนละ 5,000 บาท โดยไม่สนใจราคาหน่วยลงทุนว่าจะขึ้นหรือลง
ดังนั้น หากวันที่เรากำหนดการซื้อไว้เป็นวันที่ราคา NAV ของ SSF / RMF ลดลง เราก็จะได้จำนวนหน่วยลงทุนมากขึ้น ในขณะเดียวกันถ้าเดือนไหน NAV ปรับขึ้นในวันที่เรากำหนดซื้อไว้ เราก็จะได้จำนวนหน่วยลงทุนน้อยลง
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital