logo เงินทองของจริง

Blacklist คืออะไร เกี่ยวข้องอย่างไรกับเรื่องการเงิน ? | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : คำที่คุ้นเคยอย่าง "Blacklist" จริง ๆ แล้วมีที่มาที่ไปอย่างไร และความหมายจริง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน สามารถตีความเป็นอะไรได้บ้ ch7hd news,tero digital,เงินทองของจริง,โคชหนุ่ม,กาย สวิตต์,แพรว ภัทรนันท์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,เครดิตบูโร,สินเชื่อธนาคาร,สินเชื่อแต่ละธนาคาร,บัตรเครดิต,ทำบัตรเครดิต,สินเชื่อธนาคารไหนดี,บัตรเครดิตธนาคารไหนดี,แนะนำสินเชื่อ,แนะนำบัตรเครดิต,ตรวจสอบเครดิตบูโร,วิธีตรวจสอบเครดิตบูโร,เช็กเครดิตบูโร,วิธีเช็กเครดิตบูโร,blacklist,blcklist คืออะไร,blacklist ความหมาย,blacklist หมายถึง,blacklist ทางการเงิน,แบล็คลิสต์,แบล็คลิสต์คืออะไร,แบล็คลิสต์ความหมาย,แบล็คลิสต์หมายถึง,แบล็คลิสต์ทางการเงิน

11,203 ครั้ง
|
16 ส.ค. 2566
คำที่คุ้นเคยอย่าง "Blacklist" จริง ๆ แล้วมีที่มาที่ไปอย่างไร และความหมายจริง ๆ ที่เกี่ยวข้องกับการเงิน สามารถตีความเป็นอะไรได้บ้าง ครั้งนี้จะมาขยายความคำ ๆ นี้กัน
 
คำว่า "Blacklist" หากแปลตรงตัวก็คือ "บัญชีดำ" เป็นบัญชีรวบรวมรายชื่อของธุรกิจหรือบุคคลต้องห้าม เช่น การค้าขายสิ่งผิดกฎหมาย โดยมีการตามจับหรือกีดกันห้ามเข้าประเทศ และคำว่า Blacklist ก็เป็นคำศัพท์ที่หลายคนนำมาเชื่อมโยงกับเรื่องเงิน ๆ ทอง ๆ ด้วย เช่น ผู้ที่มีประวัติการชำระหนี้ไม่ดี เรียกว่าผู้ที่ติด Blacklist แต่ในความเป็นจริงแล้ว คำว่า Blacklist กลับไม่มีอยู่ในวงการการเงินเลย
 
ในวงการการเงิน มีเพียงคำว่าประวัติการชำระหนี้ ซึ่งผู้ที่เก็บข้อมูลประวัติ คือ "บริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ" หรือที่หลายคนรู้จักกันในชื่อ "เครดิตบูโร" โดยเก็บข้อมูลประวัติการชำระหนี้ทุกประเภท ทุกรายการ ทุกธนาคาร ของทั้งบุคคลและธุรกิจ โดยธนาคารเป็นผู้ส่งข้อมูลไปยังบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติที่เป็นศูนย์กลางอีกทอดหนึ่ง
 
การเก็บประวัติการชำระหนี้ของบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติ จะเก็บทั้งประวัติดีและประวัติไม่ดี โดยมีการบันทึกข้อมูลย้อนหลังไป 36 เดือน แน่นอนว่าหากเป็นประวัติดีย่อมมีประโยชน์ต่อบุคคลนั้น ช่วยเพิ่มโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อได้ง่ายขึ้นในอนาคต แต่หากเป็นประวัติไม่ดีก็จะส่งให้เกิดผลเสีย ลดโอกาสหรือไม่ได้รับโอกาสการเข้าถึงสินเชื่อ แต่ไม่ได้เรียกว่า "Blacklist" เพราะการอนุมัติสินเชื่อให้แก่บุคคลใดขึ้นอยู่กับแต่ละธนาคาร โดยบริษัทข้อมูลเครดิตแห่งชาติเป็นเพียงฐานข้อมูลกลางที่รวบรวมประวัติการชำระหนี้ไว้ที่เดียว เพื่อให้ธนาคารแต่ละแห่งใช้พิจารณาเท่านั้น
 
ผลกระทบของการค้างหรือผิดนัดชำระหนี้ หากไม่ได้ชำระ 2 เดือนจะเป็นสถานะ "ชำระล่าช้า" แต่หากเกิน 90 วันหรือ 3 เดือน จะกลายเป็น "หนี้เสีย" สิ่งสำคัญที่สุดของการจัดการสินเชื่อ คือ พยายามทำให้การจ่ายอยู่ในเกณฑ์ที่จ่ายไหว หากเริ่มติดปัญหาการจ่าย ควรรีบติดต่อพูดคุยกับธนาคาร เพื่อปรับรูปแบบการผ่อนให้จ่ายได้ปกติ ช่วยรักษาประวัติการชำระหนี้ดี มีโอกาสเข้าถึงสินเชื่ออื่น ๆ ได้อยู่
 
แต่หากไม่ได้ชำระหนี้เกิน 90 วันจนกลายเป็นหนี้เสียแล้วก็อย่าเพิ่งท้อ เพราะยังมีทางออกที่ทำได้อยู่ เช่น เข้าคลินิกแก้หนี้ เพื่อปรับรูปแบบการผ่อนให้กลับมาเป็นสถานะปกติ เพราะหากปล่อยไว้ยาวโดยไม่ทำอะไรเลย จะเกิดความเสียหายภายหลังทั้ง ดอกเบี้ยจากการกู้ยืม ดอกเบี้ยปรับ และค่าติดตามทวงถาม ที่ล้วนเป็นค่าใช้จ่ายสูงที่ต้องจ่าย
 
ฝากถึงผู้ใช้สินเชื่อทั้งหลาย ควรตรวจสอบข้อมูลเครดิตของตัวเองอย่างน้อยปีละ 1 ครั้ง เพื่อป้องกันความผิดพลาด ถ้าหากพบประวัติการชำระหนี้ที่ผิดปกติก็สามารถโต้แย้งให้แก้ไขข้อมูลได้ และต้องชำระหนี้ให้ตรงเวลา หากติดขัดประการใดให้รีบเจรจากับสถาบันการเงิน เพื่อปรับเงื่อนไขการผ่อนให้สามารถชำระได้อยู่ แต่หากมีงวดใดที่ผิดพลาดไปแล้วก็อย่าตกใจ จงตั้งสติและหาทางแก้ และรักษาสิ่งสำคัญที่สุด คือ วินัยการผ่อน ให้สามารถผ่อนกับเขาได้ไปยาว ๆ
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.15-9.25 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ : https://www.youtube.com/live/_YgGq3fbDWE?feature=share

ข่าวที่เกี่ยวข้อง