logo เช้านี้ที่หมอชิต

ผู้ตรวจการแผ่นดิน ส่งศาล รธน.ตีความปมโหวต “พิธา” ซ้ำ ชะลอโหวตนายกฯ

เช้านี้ที่หมอชิต : เช้านี้ที่หมอชิต - การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี มีเรื่องให้ตีความกันอีกแล้ว จากกรณีที่การโหวตเลือกนายกฯ รอบ 2 เมื่อวันที่ 19 กรกฎา ข่าว,ช่อง7สี,ช่อง7HD,กด35,ข่าวช่อง7,CH7HD,รายการ,ดูย้อนหลัง,คลิปย้อนหลัง,CH7HDNEWS,ข่าวการเมือง,ข่าวเศรษฐกิจ,ข่าวบันเทิง,ข่าวโซเชียล,ข่าวออนไลน์,ข่าวสังคม,ข่าวอาชญากรรม,ข่าวกีฬา,ข่าวภูมิภาค,ข่าวด่วน,ข่าวเด็ด,ข่าวร้อน,ข่าวสด,ข่าวใหม่,ข่าวล่าสุด,ch7 news,เช้านี้ที่หมอชิต,ข่าวเช้า,ข่าวเช้าช่อง 7,เช้านี้ที่หมอชิตวันนี้,เช้านี้ที่หมอชิต ล่าสุด,เช้านี้ที่หมอชิต ช่อง7,TERO Digital

205 ครั้ง
|
25 ก.ค. 2566
เช้านี้ที่หมอชิต - การโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี มีเรื่องให้ตีความกันอีกแล้ว จากกรณีที่การโหวตเลือกนายกฯ รอบ 2 เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา ซึ่งที่ประชุมรัฐสภา มีมติไม่สามารถเสนอชื่อ นายพิธา ซ้ำได้
 
ต่อมา ได้มีนักวิชาการ 2 ท่าน คือ นายพรชัย เทพปัญญา นักวิชาการอิสระ และ นายบุญส่ง ชเลธร อาจารย์คณะนวัตกรรมสังคม มหาวิทยาลัยรังสิต ยื่นเรื่องต่อผู้ตรวจการแผ่นดิน เพื่อขอให้เสนอเรื่องพร้อมความเห็นต่อศาลรัฐธรรมนูญ ให้พิจารณาวินิจฉัยว่า การที่ที่ประชุมรัฐสภามีมติว่า การเสนอชื่อ นายพิธา เป็นการเสนอญัตติซ้ำนั้น เป็นการกระทำที่ละเมิดต่อสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้หรือไม่ และหากศาลรัฐธรรมนูญรับคำร้อง ก็ขอให้มีคำสั่งไปยังที่ประชุมรัฐสภาให้ยุติการเลือกนายกรัฐมนตรีออกไปก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีคำวินิจฉัย
 
ล่าสุด เมื่อวานนี้ เวลา 14.30 น. พ.ต.ท.กีรป กฤตธีรานนท์ เลขาธิการสำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดิน แถลงว่า ตามที่สำนักงานผู้ตรวจการแผ่นดินได้รับเรื่องร้องเรียนจากสมาชิกรัฐสภาและประชาชน จำนวน 17 คำร้องเรียน ผู้ตรวจการแผ่นดิน ได้ประชุมปรึกษาหารือและเห็นชอบร่วมกัน เห็นว่า การกระทำของรัฐสภาในการลงมติวินิจฉัยดังกล่าว เป็นการละเมิดสิทธิเสรีภาพของผู้ร้องเรียนโดยตรง โดยผู้ร้องเรียนเป็นสมาชิกรัฐสภาและประชาชนผู้ทรงสิทธิและเสรีภาพตามที่รัฐธรรมนูญคุ้มครองไว้ หากการกระทำของรัฐสภาดังกล่าวขัดหรือแย้งต่อรัฐธรรมนูญ การกระทำดังกล่าวย่อมเป็นอันใช้ไม่ได้ และมีผลเป็นการละเมิดสิทธิและเสรีภาพของผู้ร้องเรียน
 
นอกจากนี้ คำร้องเรียนส่วนหนึ่งได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งยุติการเลือกนายกรัฐมนตรีไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญจะมีข้อวินิจฉัยในเรื่องนี้ออกมา ซึ่งเป็นคำขอเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญกำหนดมาตรการหรือวิธีการใด ๆ เป็นการชั่วคราวก่อน ซึ่งผู้ตรวจการแผ่นดินพิจารณาแล้วเห็นว่า เพื่อป้องกันความเสียหายที่ยากแก่การเยียวยาในภายหลัง และเป็นคำขอที่อยู่ในหลักเกณฑ์และเงื่อนไขที่จะเสนอให้ศาลรัฐธรรมนูญพิจารณาได้ จึงได้ขอให้ศาลรัฐธรรมนูญมีคำสั่งให้รัฐสภา ชะลอการดำเนินการเกี่ยวกับการเสนอชื่อบุคคลให้รัฐสภาเห็นชอบ เพื่อแต่งตั้งเป็นนายกรัฐมนตรีไว้ก่อน จนกว่าศาลรัฐธรรมนูญมีข้อวินิจฉัยในเรื่องนี้ออกมา ซึ่งก็เป็นดุลยพินิจของศาลรัฐธรรมนูญที่จะพิจารณาตามความเหมาะสมกับข้อเท็จจริงและพฤติการณ์ต่อไป
 
ดังนั้น ผู้ตรวจการแผ่นดิน จึงวินิจฉัยให้ยื่นคำร้องต่อศาลรัฐธรรมนูญตามมาตรา 213 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ประกอบมาตรา 46 แห่ง พ.ร.ป.ว่าด้วยวิธีพิจารณาของศาลรัฐธรรมนูญ 2561
 
ในวันเดียวกันยังได้มีแถลงการณ์ออกมาจาก คณาจารย์ด้านนิติศาสตร์ 115 คน ระบุว่า ไม่เห็นด้วยกับมติของรัฐสภาที่ให้ข้อบังคับการประชุมรัฐสภาใหญ่กว่ารัฐธรรมนูญ ในการเสนอญัตติโหวตเลือกนายกรัฐมนตรี เมื่อวันที่ 19 กรกฎาคมที่ผ่านมา โดยระบุว่า รัฐธรรมนูญ มาตรา 159 และ มาตรา 272 ไม่ได้บัญญัติไว้แต่ประการใดว่าการเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนเดิมจะกระทำไม่ได้ ส่วนควรจะเสนอคนเดิมหรือไม่หรือจะเสนอกี่ครั้งเป็นอีกเรื่องหนึ่ง การที่รัฐสภาลงมติให้เสนอชื่อนายกรัฐมนตรีคนเดิมได้เพียงครั้งเดียว เป็นการเอาข้อบังคับการประชุมรัฐสภามาอยู่เหนือรัฐธรรมนูญ ซึ่งไม่อาจที่จะกระทำได้
 
ซึ่งกรณีดังกล่าวเป็นปัญหามาจากรัฐสภาตีความข้อบังคับของตนเองโดยขัดต่อรัฐธรรมนูญ เพราะข้อบังคับการประชุมรัฐสภาอยู่ในลำดับชั้นกฎหมายที่ต่ำกว่ารัฐธรรมนูญ โดยผลของการลงมตินี้ไม่ใช่แค่เรื่องของ พิธา ลิ้มเจริญรัตน์ และ พรรคก้าวไกล แต่คือบรรทัดฐานที่ผิดพลาดของรัฐสภาในการพิจารณาญัตติที่เป็นกระบวนการตามรัฐธรรมนูญ
 
นอกจากนี้ ยังได้เรียกร้องให้รัฐสภาให้ยกเลิกมตินี้ เพราะเป็นการเอาการเมืองมาอยู่เหนือกฎหมาย หาไม่แล้วการเรียนการสอนนิติศาสตร์ในมหาวิทยาลัยต่าง ๆ ในเรื่องลำดับชั้นของกฎหมาย และหลักการปกครองโดยกฎหมายที่มีหลักรัฐธรรมนูญเป็นกฎหมายสูงสุด ยากที่จะดำเนินโดยปกติในประเทศไทยต่อไปได้
 
นอกจากนี้ ยังระบุด้วยว่า การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรี เป็นเรื่องที่บัญญัติไว้ในรัฐธรรมนูญเป็นการเฉพาะ ซึ่งรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ.2560 มาตรา 159 วรรคสอง บัญญัติว่า ต้องมีสมาชิกรับรองไม่น้อยกว่าหนึ่งในสิบของจํานวนสมาชิกทั้งหมดเท่าที่มีอยู่ของสภาผู้แทนราษฎร ซึ่งก็คือ 50 คน ไม่ใช่ต้องการ สส. รับรองแค่ 10 คน ดังเช่นการเสนอ ญัตติ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภาข้อ 29 ดังนั้น การเสนอชื่อนายกรัฐมนตรีจึงไม่ใช่ ญัตติ ตามข้อบังคับการประชุมรัฐสภา ข้อ 41
 
สำหรับนักวิชาการทั้ง 115 คน มาจากหลากหลายมหาวิทยาลัยทั่วประเทศ ไม่ว่า มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ มหาวิทยาลัยธุรกิจบัณฑิตย์ มหาวิทยาลัยพะเยา มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ มหาวิทยาลัยรามคำแหง จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยขอนแก่น มหาวิทยาลัยอุบลราชธานี มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ สถาบันบัณฑิตพัฒนบริหารศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏเพชรบุรี มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา เป็นต้น
 
พบกับรายการ “เช้านี้ที่หมอชิต” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 05.50-7.30 น. ทางช่อง 7HD กด 35 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/NQcz8r48cQo
 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง