คนทำธุรกิจย่อมเข้าใจคำว่า "Cash Flow" หรือ "กระแสเงินสด" เป็นอย่างดี เพราะเป็นสิ่งที่จำเป็นต่อการประกอบกิจการอย่างยิ่ง แต่ทั้งนี้ ทำไมหลาย ๆ ธุรกิจยังคงประสบปัญหา "ขาดสภาพคล่อง" ทางการเงินอยู่
การขาดสภาพคล่อง หรือเรียกง่าย ๆ ว่า "การขาดเงิน" หากเปรียบกับร่างกายมนุษย์แล้ว "กระแสเงินสด" เปรียบเสมือน "เลือด" ที่คอยไหลเวียนหล่อเลี้ยงร่างกายให้ดำเนินชีวิตต่อไปได้ และเมื่อวันใดวันหนึ่งที่ธุรกิจขาดเงิน จะส่งผลให้เกิดปัญหาติดขัดตามมาทันที และก่อนที่ธุรกิจจะขาดเงิน จะต้องเคยขาดทุนมาก่อน แต่ ณ เวลาที่ขาดทุน ไม่ได้หมายความว่าธุรกิจนั้นจะล้ม เพราะยังพอมีวิธีทำให้พยุงตัวเองได้อยู่ เช่น การหยิบยืมเงิน หรือการนำหลักทรัพย์ไปวางเพื่อขอสินเชื่อ เป็นต้น แต่หากขาดทุนติดต่อกันเป็นระยะเวลานาน ๆ แล้ว เมื่อวันหนึ่งที่ไม่มีใครให้หยิบยืมมาถึง วันนั้นคือวันที่ธุรกิจ "ขาดเงิน" ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องหมั่นดูแลกระแสเงินสดอยู่เสมอ ว่ามีเพียงพอต่อการประกอบกิจการหรือไม่ โดยสาหตุส่วนใหญ่ที่ทำให้ธุรกิจหลาย ๆ ธุรกิจขาดเงิน มีดังนี้
1. จมอยู่กับหนี้สิน เช่น ขายได้ แต่เก็บเงินไม่ได้ หรือเก็บเงินได้ช้า ดังนั้น เมื่อขายได้แล้วอย่าสนใจเพียงแต่รายได้ แต่ต้องสนใจกำไรด้วย
2. จมอยู่กับสินค้า เช่น สินค้าที่ผลิตออกมาแล้วขายไม่ได้ ดังนั้น ผู้ประกอบการต้องหมั่นตรวจสอบสต็อก เพื่อหาทางระบายสินค้าออก เช่น การจัดโปรโมชัน
3. จมอยู่กับทรัพย์สินที่ไม่ก่อให้เกิดรายได้ เช่น การตกแต่งร้าน หรืออุปกรณ์ภายในร้านที่ทันสมัยและมีราคาแพงเกินกว่าเหตุ
4. จมอยู่กับการนำเงินของกิจการไปใช้ส่วนตัว โดยไม่วางระบบให้เป็นระเบียบ ไม่มีวิธีจัดการเงินให้ดี เช่น การตั้งเงินเดือนให้ตัวเอง
ธุรกิจทุกรูปแบบย่อมมีค่าใช้จ่ายเพื่อเป็นฐานการสร้างรายได้ในอนาคต ได้แก่ ค่าใช้จ่ายพนักงาน ค่าน้ำ-ค่าไฟ ค่าวัสดุอุปกรณ์ และค่าใช้จ่ายอื่น ๆ ดังนั้น ธุรกิจควรมี "เงินหมุนเวียน" ไว้รับรองค่าใช้จ่ายในส่วนนี้ตลอดเวลา โดยหลักการกำหนดเงินหมุนเวียนไว้รองรับในยามฉุกเฉินมีวิธี คือ สำรวจการขายว่าธุรกิจของเราเมื่อขายของออกไปแล้ว สามารถเรียกเก็บเงินลูกค้าได้เร็วหรือไม่ หากเก็บเงินลูกค้าได้เร็ว ควรมีเงินหมุนเวียนสำรองสำหรับ 60-90 วัน ถือว่าเป็นสัดส่วนที่พอเหมาะ แต่หากเก็บเงินลูกค้าได้ช้า ควรมีเงินหมุนเวียนสำรองให้เพียงพอในระหว่างที่รอเงินลูกค้าด้วย ซึ่งวิธีการเพื่มเงินหมุนเวียนสามารถทำได้หลากหลายวิธี เช่น
1. ยืดจ่าย เร่งรับ คือ จ่ายเงินต้นทุนช้า คุยกับลูกค้าเพื่อต่อรองให้จ่ายเงินเร็ว เช่น โปรโมชันส่วนลดพิเศษสำหรับลูกค้าที่จ่ายด้วยเงินสด
2. ตรวจสอบสต็อกอยู่เสมอ เพราะสำหรับสินค้าที่ขายไม่ออก หรือ "Dead Stock" แนะนำให้รีบระบายออก โดยอาจใช้วิธียอดนิยมอย่าง การจัดโปรโมชั่น เป็นเครื่องมือเพื่อช่วยคืนต้นทุน
3. เจรจากับเจ้าหนี้ทางการเงิน เช่น การรีไฟแนนซ์ เพื่อลดยอดผ่อนต่อเดือน และได้กระแสเงินสดกลับคืนมา
4. สินเชื่อช่วยเสริมสภาพคล่อง มีไว้เผื่อเหลือเผื่อขาด เพราะธุรกิจบางรายถึงแม้ว่าจะเตรียมความพร้อมในทุกด้านแล้ว แต่ก็ยังมีโอกาสขาดเงินได้ ดังนั้น สินเชื่อช่วยเสริมสภาพคล่องจึงเป็นตัวช่วยที่ดีในยามฉุกเฉิน
แนะนำสินเชื่อดี ๆ "มณีทันใจ เพื่อธุรกิจ" จาก SCB ที่จัดหนักจัดเต็มให้กับพ่อค้าแม่ขายที่รับเงินผ่านช่องทางออนไลน์ต่าง ๆ ของธนาคาร ด้วย Concept "กู้เพื่อสู้" ผ่านจุดเด่น "เยอะ ยาว ยอดเยี่ยม ไม่ย้วย ไม่ยุ่งยาก ให้เยอะ ให้ยาว" มีวงเงินสูงสุด 500,000 บาท และผ่อนนานสุงสุดถึง 60 เดือน "ยอดเยี่ยม" ผ่อนน้อย ดอกเบี้ยเริ่มต้นคำนวณง่าย ๆ เพียงหมื่นละ 3 บาท/วัน "ไม่ย้วย" อนุมัติไวสุดใน 5 นาที ไม่ยุ่งยาก ไม่ต้องค้ำประกัน ไม่ต้องยื่นเอกสาร ยื่นกู้ได้ 24 ชั่วโมง กู้เงินตอนไหนก็ได้ผ่านแอป SCB EASY
วิธีการสมัครสินเชื่อมณีทันใจง่าย ๆ เพียงเปิดแอป SCB Easy เข้าไปที่เมนูสมัครสินเชื่อและบัตรเครดิต เลือกสินเชื่อมณีทันใจเพื่อธุรกิจ กรอกข้อมูล เลือกวงเงินกู้ และเลือกระยะเวลาผ่อน กดสมัคร หากเป็นลูกค้า SCB ที่ตรงตามคุณสมบัติ สามารถรู้ผลอนุมัติไวสุดใน 5 นาที
ระยะเวลาการสมัครตั้งแต่วันที่ 1 มิถุนายน 2566-31 ธันวาคม 2566
เพียงเท่านี้พ่อค้าแม่ขายก็จะได้มีเงินทุนหมุนเวียนไว้ใช้ทำธุรกิจในยามจำเป็นได้แบบทันใจทันเวลา
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.15-9.25 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และช่องทางออนไลน์ TERO Digital