logo เช้านี้ที่หมอชิต

ผศ.ดร.พรสันต์ ชี้ หากยึดหลักการรัฐธรรมนูญ “พิธา” ไม่หลุด สส.

เช้านี้ที่หมอชิต : เช้านี้ที่หมอชิต - มาดูในมิติทางกฎหมายกันต่อ สำหรับประเด็นหุ้นสื่อของคุณพิธา ซึ่ง ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะนิต ข่าว,ช่อง7สี,ช่อง7HD,กด35,ข่าวช่อง7,CH7HD,รายการ,ดูย้อนหลัง,คลิปย้อนหลัง,CH7HDNEWS,ข่าวการเมือง,ข่าวเศรษฐกิจ,ข่าวบันเทิง,ข่าวโซเชียล,ข่าวออนไลน์,ข่าวสังคม,ข่าวอาชญากรรม,ข่าวกีฬา,ข่าวภูมิภาค,ข่าวด่วน,ข่าวเด็ด,ข่าวร้อน,ข่าวสด,ข่าวใหม่,ข่าวล่าสุด,ch7 news,เช้านี้ที่หมอชิต,ข่าวเช้า,ข่าวเช้าช่อง 7,เช้านี้ที่หมอชิตวันนี้,เช้านี้ที่หมอชิต ล่าสุด,เช้านี้ที่หมอชิต ช่อง7,TERO Digital

428 ครั้ง
|
08 มิ.ย. 2566
เช้านี้ที่หมอชิต - มาดูในมิติทางกฎหมายกันต่อ สำหรับประเด็นหุ้นสื่อของคุณพิธา ซึ่ง ผศ.ดร.พรสันต์ เลี้ยงบุญเลิศชัย อาจารย์คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย บอกว่า หากย้อนกลับไปดูที่การเขียนรัฐธรรมนูญเรื่องนี้ จะพบว่าไม่มีคุณสมบัติใดขัดกับรัฐธรรมนูญที่ทำให้คุณพิธาหลุดจากการเป็น สส.ได้
 
อาจารย์พรสันต์ กล่าวว่า กรณีการยื่นตีความคุณสมบัติการเป็น สส.ของ คุณพิธา มาจากการที่รัฐธรรมนูญเข้าไปห้ามการถือหุ้นในกิจการสื่อ เพราะต้องการป้องกันไม่ให้การถือหุ้นส่งผลไปริดรอนการทำหน้าที่ สส. ซึ่งเป็นผู้แทนปวงชน แต่ที่เป็นข้อถกเถียงขณะนี้ เพราะเวลาอธิบายจะเห็นการอธิบายเพียงมุมเดียว คือห้ามคนที่เป็น สส.ถือหุ้น เนื่องจากอาจได้ประโยชน์ โดยบริษัทสื่ออาจให้คุณกับตัว สส. และขณะเดียวกัน สส.ก็อาจให้คุณกับสื่อนั้นได้
 
แต่ในทางหลักการรัฐธรรมนูญมีมากกว่านั้นคือ การห้ามนี้ยังมีเจตนารมณ์เพื่อพิทักษ์และป้องกัน สส. หรือผู้ดำรงตำแหน่งทางการเมืองไม่ให้เข้าไปแทรกแซงการใช้เสรีภาพของสื่อ ซึ่งเรื่องนี้มีกำหนดไว้ตั้งแต่ในรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2550 ต่อมา เมื่อร่างรัฐธรรมนูญ พ.ศ.2560 ได้ยกหลักการนี้มาใส่ แต่กลับแยกไว้เป็น 2 มาตรา ได้แก่ มาตรา 98(3) และมาตรา 184(4) จึงทำให้อ่านกฎหมายแล้วไม่เข้าใจ
 
เมื่อรัฐธรรมนูญ 60 นำไปแยกไว้ใน 2 มาตรา จึงทำให้อ่านไม่รู้เรื่อง แต่ถ้าอ่านคู่กันจะทำให้เข้าใจหลักการของรัฐธรรมนูญ ดังนั้น คดีนี้จะผิดก็ต่อเมื่อคนถือหุ้นสามารถเข้าไปสั่งการได้ ซึ่งจะไปสอดคล้องกับการที่ศาลฎีกาวินิจฉัยคดี คุณชาญชัย อิสระเสนารักษ์ ว่าถือหุ้นไม่มากพอในการครอบงำสื่อ
 
นอกจากนี้ อาจารย์พรสันต์ ยังระบุเพิ่มเติมว่า ในคำนิวฉัยของศาลรัฐธรรมนูญเองยังระบุว่า ในการตรวจสอบว่าเป็นบริษัทที่ดำเนินกิจการสื่ออยู่หรือไม่ ให้ไปดูที่ตัวรายได้ ซึ่งรายได้ของไอทีวีตั้งแต่ปี 2550 ไม่ได้มาจากการทำสื่อ จึงไม่เห็นว่าการถือหุ้นสื่อของคุณพิธาจะไปขัดกับรัฐธรรมนูญแล้วทำให้หลุดจาก สส. ซึ่งกรณีนี้ หาก กกต.เห็นว่าคดีไม่มีมูลจะไม่ส่งศาลรัฐธรรมนูญก็ได้ แต่ถ้าเห็นว่ามีมูลก็ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยต่อไป ซึ่งในกรณีที่มีการรับรอง สส.ไปแล้ว ศาลรัฐธรรมนูญสามารถสั่งให้หยุดปฏิบัติหน้าที่ได้ แต่สิ่งที่ต้องชัดก็คือ ศาลรัฐธรรมนูญจะไม่สามารถสั่งแคนดิเดตนายกรัฐมนตรีหยุดปฏิบัติหน้าที่ตามที่ คุณเรืองไกร ร้องได้ เพราะแคนดิเดตนายกฯ ไม่ใช่ตำแหน่งทางการเมือง ศาลจึงไม่มีอำนาจวินิจฉัยตรงนี้ ดังนั้น สมมติว่าสภาโหวตให้ คุณพิธา เป็นนายกรัฐมนตรี เมื่อดำรงตำแหน่งแล้ว หากสภา หรือ สว. มีข้อสงสัยเกี่ยวกับคุณสมบัติ จะต้องเข้าชื่อเพื่อให้ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยอีกครั้ง สำหรับกรณีที่ คุณพิธา โอนหุ้นไอทีวีออกไปภายหลังเพราะเกรงว่าจะมีขบวนการฟื้นสื่อไอทีวีขึ้น เป็นเรื่องที่เข้าใจได้ แต่ส่วนตัวมองว่าถึงไม่โอนออกไปก็ไม่ผิด เพราะรัฐธรรมนูญเขียนไว้ชัดนับตั้งแต่วันสมัคร หลังจากนั้นต่อให้ไอทีวีไปดำเนินการอะไรก็ไม่ผิด และตามกฎหมายต้องคุ้มครองด้วย เพราะระบบกฎหมายคุ้มครองความชัดเจนแน่นอน ตอนที่ยื่นตอนนั้นคุณมีคุณสมบัติครบถ้วน เอาผิดย้อนหลังไม่ได้ และถ้าย้อนหลังและเป็นลักษณะการจำกัดสิทธิเสรีภาพบุคคลเกินกว่าเหตุอย่างชัดเจน
 
พบกับรายการ “เช้านี้ที่หมอชิต” ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 05.50-7.30 น. ทางช่อง 7HD กด 35 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ https://youtu.be/54gsJycu8MM