logo เงินทองของจริง

ทะเบียนบ้าน สำคัญไฉน ? เจ้าบ้าน-เจ้าของบ้าน ต่างกันอย่างไร ? | เงินทองของจริง

เงินทองของจริง : หลายคนที่ซื้อบ้านปล่อยเช่า แล้วเจอผู้เช่าบางราย ขอย้ายชื่อเข้าเป็น "เจ้าบ้าน" แล้วแบบนี้ "เจ้าของบ้าน" อย่างเราจะอนุญาติดีหรือไม ch7hd news,tero digital,เงินทองของจริง,money coach,จักรพงษ์ เมษพันธุ์,โคชหนุ่ม,สวิตต์ ลีละพงศ์วัฒนา,กาย สวิตต์,ภัทรนันท์ ประยูรวงค์,แพรว ภัทรนันท์,เศรษฐกิจ,การเงิน,การลงทุน,การออม,ออมเงิน,เก็บเงิน,สอนลงทุน,สอนออมเงิน,สอนเก็บเงิน,ทะเบียนบ้าน,เจ้าบ้าน,เจ้าของบ้าน,บ้าน,ขายบ้าน,ภาษีธุรกิจเฉพาะ,ย้ายทะเบียนบ้าน,วิธีย้ายทะเบียนบ้าน,ย้ายทะเบียนบ้าน ขั้นตอน,ย้ายทะเบียนบ้าน ยังไง

9,118 ครั้ง
|
25 เม.ย. 2566
หลายคนที่ซื้อบ้านปล่อยเช่า แล้วเจอผู้เช่าบางราย ขอย้ายชื่อเข้าเป็น "เจ้าบ้าน" แล้วแบบนี้ "เจ้าของบ้าน" อย่างเราจะอนุญาติดีหรือไม่ ความแตกต่างระหว่าง เจ้าบ้าน-เจ้าของบ้าน เป็นอย่างไรจะมาหาคำตอบกัน
 
ก่อนอื่นต้องอธิบายก่อนเลยว่า "เจ้าของบ้าน" และ "เจ้าบ้าน" ไม่เหมือนกันอย่างสิ้นเชิง โดยความหมายของ "เจ้าของบ้าน" คือ เจ้าของกรรมสิทธิ์ที่มีชื่อในฉโนดที่ดินสัญญาซื้อขาย เมื่อจะซื้อขายบ้านหลังนั้นจะต้องให้ผู้ที่มีชื่อเป็นเจ้าของบ้านเป็นผู้ดำเนินการเพราะเป็น "เจ้าของกรรมสิทธิ์"
 
ขณะเดียวกัน มีบางคนที่ซื้อบ้านไว้แล้วอาจจะปล่อยเช่า หรือให้คนอื่นเข้ามาอยู่อาศัย ซึ่งอาจจะให้เป็น "เจ้าบ้าน" ได้ โดยความหมาย คือ ผู้ที่เป็นหัวหน้าครอบครองบ้านในฐานะเจ้าของ ผู้เช่า และอื่น ๆ เปรียบเสมือนนายทะเบียนของบ้านหลังนั้นเวลาแจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งย้ายเข้าย้ายออกทั้งหลาย ซึ่งเจ้าบ้านไม่จำเป็นต้องเป็นคนคนเดียวกันกับเจ้าของบ้านก็ได้
 
อีกมุมหนึ่ง การไม่มีชื่อใครเป็น "เจ้าบ้าน" อาจจะไม่ได้ส่งผลกระทบอะไรมากมาย เพียงแค่ไม่สามารถแจ้งเกิด แจ้งตาย แจ้งย้ายเข้าย้ายออกได้ แต่การมีชื่ออยู่กลับมีข้อดีสำหรับ "เจ้าของบ้าน" เพราะหากต้องการขายบ้านหลังนั้นแต่ถือครองไม่ถึง 5 ปี หรือมีชื่อเป็นเจ้าบ้านไม่ถึง 1 ปี จะต้องเสียภาษีธุรกิจเฉพาะสูงถึง 3.3% ของราคาบ้าน โดยฝั่งผู้ขายหรือก็คือ "เจ้าของบ้าน" ต้องเป็นผู้รับผิดชอบในส่วนนี้
 
อีกเรื่องที่ "เจ้าของบ้าน" ต้องทราบ คือ การเสียภาษีที่ดินและสิ่งปลูกสร้าง โดยหากมีชื่อเป็นเจ้าบ้านราคาไม่เกิน 50 ล้านบาท ภาษีส่วนนี้จะได้รับการยกเว้น แต่หากมีบ้านหลายหลัง ควรย้ายชื่อเข้าไปในหลังที่มีราคาแพงที่สุด ส่วนหลังอื่น ๆ จะเสียภาษีที่ดินฯ ในอัตรา 0.2% แทน
 
เพิ่มเติมเกี่ยวกับเรื่อง "ทะเบียนบ้าน" หากใครที่ทำทะเบียนบ้านหาย มีขั้นตอนดำเนินการ ดังนี้
 
1. "เจ้าบ้าน" สามารถติดต่อยื่นคำร้อง ขอทะเบียนบ้านเล่มใหม่ต่อนายทะเบียนในท้องที่ ที่บ้านหลังดังกล่าวตั้งอยู่ โดยไม่ต้องไปแจ้งความที่สถานีตำรวจ
 
2. หาก "เจ้าบ้าน" ไม่สะดวกเดินทางไปดำเนินการด้วยตัวเอง สามารถมอบอำนาจให้ผู้มายื่นคำร้องต่อนายทะเบียนแทนได้ แต่ต้องมีเอกสารเพิ่มเติม ได้แก่
 
- หนังสือมอบอำนาจ
- บัตรประชาชนของเจ้าบ้าน
- บัตรประชาชนของผู้รับมอบอำนาจ
 
3. กรณีสุดท้าย ค่อนข้างยากขึ้นหน่อย คือ กรณีที่บ้านหลังนั้นไม่มี "เจ้าบ้าน" โดย "เจ้าของกรรมสิทธิ์" จะต้องเป็นผู้ดำเนินการติดต่อนายทะเบียนด้วยตัวเอง
 
ความสำคัญของ "ทะเบียนบ้าน" มีมากพอ ๆ กับ "บัตรประชาชน" ยกตัวอย่างการทำธุรกรรมทางการเงินหรือเรื่องสำคัญอื่น ๆ ที่ต้องใช้ทั้งสองอย่างควบคู่กันไปด้วย ดังนั้น ควรเก็บรักษา และหมั่นตรวจสอบความถูกต้องของทะเบียนบ้านให้ดี
 
พบกับ "โคชหนุ่ม" และ "กาย สวิตต์" ได้ใน สนามข่าว 7 สี ช่วง "เงินทองของจริง" ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.05-9.15 น. ทางช่อง 7HD กด 35
และรับชมออนไลน์ ผ่าน YouTube: TERO Digital ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 9.35 น.
 
 
รับชมผ่าน YouTube ได้ที่ : https://www.youtube.com/live/Bm_e8SOWxvA?feature=share

ข่าวที่เกี่ยวข้อง