มาถึงจุดนี้ได้ยังไง! ร้านค้ามาเลย์ขาย 'เยื่อพรหมจรรย์ปลอม' ให้สาวๆ ใช้หลอกหนุ่ม สัมผัสคืนแรกอีกครั้ง
logo ข่าวอัพเดท

มาถึงจุดนี้ได้ยังไง! ร้านค้ามาเลย์ขาย 'เยื่อพรหมจรรย์ปลอม' ให้สาวๆ ใช้หลอกหนุ่ม สัมผัสคืนแรกอีกครั้ง

ข่าวอัพเดท : ร้านค้าออนไลน์ในมาเลเซีย ขาย เยื่อพรหมจรรย์ปลอม ที่มาพร้อมกับเลือดปลอมในปริมาณเล็กน้อย เพื่อให้สาว ๆ ใช้หลอกหนุ่ม สัมผัสคืนแรกอีกครั ร้านค้าออนไลน์,มาเลเซีย,เยื่อพรหมจรรย์ปลอม

4,596 ครั้ง
|
11 ก.พ. 2565
        ร้านค้าออนไลน์ในมาเลเซีย ขาย เยื่อพรหมจรรย์ปลอม ที่มาพร้อมกับเลือดปลอมในปริมาณเล็กน้อย เพื่อให้สาว ๆ ใช้หลอกหนุ่ม สัมผัสคืนแรกอีกครั้ง ฟังดูไม่น่าเชื่อ แต่ขายได้แล้วกว่าร้อยชิ้น!
 
         วันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2565 เว็บไซต์เวิลด์ออฟบัซ ได้รายงานเกี่ยวกับการจำหน่ายสินค้าชวนอึ้งบนโลกออนไลน์ของมาเลเซีย หลังจากที่ร้านค้าออนไลน์หลายเจ้าผุดขายสินค้า "เยื่อพรหมจรรย์เทียม" ที่มาพร้อมกับเลือดปลอมในปริมาณเล็กน้อย ให้ลูกค้านำไปใช้หลอกคู่นอนหรือสามีว่าตัวเองยังบริสุทธิ์ผุดผ่อง ในสังคมที่ยังไม่ยอมรับการมีเพศสัมพันธ์ก่อนการสมรส บางคนจึงหาทางออกด้วยการศัลยกรรม หรือ ซื้อ “เหยื่อพรหมจรรย์เทียม” เพื่อให้สามีเชื่อว่าตนนั้นยังบริสุทธิ์อยู่
 
ข่าวอัพเดท : มาถึงจุดนี้ได้ยังไง! ร้านค้ามาเลย์ข
 
         จากรายงานของเว็บไซต์เวิลด์ออฟบัซ พบว่ามีผลิตภัณฑ์ “เหยื่อพรหมจรรย์เทียม” วางขายบนแพลตฟอร์มขายสินค้าออนไลน์ของมาเลเซีย โดยวางขายในราคา 180 ริงกิต (ประมาณ 1,400 บาท) และขายไปแล้วกว่า 130 ครั้ง!
 
         โดยทางร้านได้โฆษณาผลิตภัณฑ์ไว้ว่า “คืนความสาวได้โดยไม่ต้องศัลยกรรม! คุณอยากเติมเต็มคืนแรกกับสามีที่รักไหม? นี่คือสิ่งที่คุณกำลังมองหาอยู่หรือเปล่า? คุณสามารถได้ความบริสุทธิ์คืนมา โดยที่ไม่ต้องศัลยกรรมราคาแพง ทำได้เอง ราคาจับต้องได้ แถมเห็นผลทันที”
 
ข่าวอัพเดท : มาถึงจุดนี้ได้ยังไง! ร้านค้ามาเลย์ข
 
       ด้านวิธีใช้ ให้สาว ๆ ใส่เยื่อพรหมจรรย์เทียมเข้าไปในช่องคลอดอย่างระมัดระวัง เมื่อเกิดการสอดใส่เยื่อพรหมจรรย์เทียมจะไหลออกมาเป็นของเหลวเหมือนเลือด ซึ่งทางร้านอ้างว่า ผลิตภัณฑ์นี้ไม่มีผลข้างเคียงและไม่ก่อให้เกิดความเจ็บปวด เนื่องจากทำมาจากของเหลวย้อมสีแดงทางการแพทย์ที่คล้ายคลึงกับเลือดของมนุษย์
 
        อย่างไรก็ตาม เยื่อพรหมจรรย์ของสาว ๆ สามารถขาดได้โดยไม่ต้องมีเพศสัมพันธ์เสมอไป สามารถฉีกขาดได้ในหลายกิจกรรม เช่น การออกกำลังกาย ขี่จักรยาน หรือ ใช้ผ้าอนามัยแบบสอด สิ่งนี้จึงทำให้เกิดการตั้งคำถามว่า ทางการมาเลเซียจะมีการจัดการอย่างไรเพื่อหยุดการขายผลิตภัณฑ์ดังกล่าว