ทำความรู้จัก “โรคเชื้อไวรัสอหิวาต์แอฟริกา (Afican Swine Fever: ASF)”  ในหมู
logo ข่าวอัพเดท

ทำความรู้จัก “โรคเชื้อไวรัสอหิวาต์แอฟริกา (Afican Swine Fever: ASF)” ในหมู

457 ครั้ง
|
10 ม.ค. 2565

ทำความรู้จัก “โรคเชื้อไวรัสอหิวาต์แอฟริกา (Afican Swine Fever: ASF)”  ในหมู

โรคอหิวาต์แอฟริกาในสุกร หรือ เชื้อไวรัส ASF เกิดจากเชื้อไวรัสที่ติดต่อได้ไวและส่งผลร้ายแรงในสุกร เป็นไวรัสชนิดหนึ่งที่ทำให้เกิดโรคระบาดใน “หมู” ติดต่อได้ไวและส่งผลร้ายแรง

มาทำความรู้จัก ไวรัส ASF ถึงการกระจายเชื้อ และอาการของหมูหากติดเชื้อดังกล่าว

โรค ASF คืออะไร ?

ASF ย่อมาจาก​ African Swine Fever  เป็นโรคติดเชื้อรุนแรงในสุกรที่เกิดจากเชื้อไวรัส​ กลุ่ม​ Asfivirus เป็น​ DNA virus ที่มีความคงทนสูงในสภาพแวดล้อม​โดยอยู่ในสภาพแวดล้อมได้นาน​ และอยู่ในเนื้อสุกรแช่แข็งได้หลายปีหากเกิดโรคนี้ จะทำให้หมูตายเป็นจำนวนมาก ซึ่งขณะนี้ ยังไม่มีวัคซีนและวิธีการรักษาที่จำเพาะ

อาการของโรค AFS

สุกรที่ติดเชื้อจะมีอาการ​ไข้สูง​ ผิวหนังแห้ง  จุดเลือดออกหรือรอยช้ำ โดยเฉพาะใบหู อาเจียน​ถ่ายเป็นเลือด​ และตายแบบเฉียบพลัน  อีกทั้งยังมีอาการทางระบบอื่น ๆ เช่น ทางเดินหายใจ ทางเดินอาหาร โดยสุกรจะแสดงอาการเหล่านี้หลังติดเชื้อประมาณ​ 3-4 วัน

เราจะมีวิธีการป้องกันและควบคุมโรค​ ASF ได้อย่างไร?

การป้องกันโรค ASF สามารถทำได้ 3 ระดับ​ดังนี้

1. การป้องกันโรคระหว่างประเทศ​ (International biosecurity)​ การห้ามนำเข้าเนื้อและวัตถุดิบจากประเทศที่เกิดโรค​การตรวจโรคจากผลิตภัณฑ์ที่สนามบิน​ ทางเรือโดยสาร​ตามด่านทางการเข้า-ออกระหว่างชายแดน​ ไม่ให้นำเนื้อและผลิตภัณฑ์สุกรจากประเทศที่มีการระบาดเข้าประเทศไทย​เป็นต้น

2. การป้องกันโรคภายในประเทศ​หรือระหว่างฟาร์ม​หรือจากหน่วยงานภายนอกฟาร์ม (External biosecurity)​ เช่น​โรงงานอาหารสัตว์​ โรงฆ่าสัตว์​ บริษัทยาสัตว์​ บริษัทอุปกรณ์เลี้ยงสัตว์ เป็นต้น

3. การป้องกันโรคระดับฟาร์ม​ (Farm biosecurity)​ ฟาร์มหมูที่มีระบบป้องกันโรคที่ดีต้องปฏิบัติตาม​ 10 ข้อห้าม​ และ 10 ข้อปฏิบัติ​ ในการป้องกันโรค ASF เช่น​ การไม่นำเศษอาหารเลี้ยงสุกร การอาบน้ำเปลี่ยนชุดเข้าฟาร์มของพนักงาน​ การพ่นยาฆ่าเชื้อรถขนส่ง​การล้าง​พ่นยาฆ่าเชื้อโรงเรือน​ การป้องกันและกำจัดสัตว์พาหะ​ เป็นต้น

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง