แพทย์เตือน นักดื่มอย่าหักดิบเลิกเหล้าทันที เสี่ยงเกิดภาวะเสี้ยนอันตรายถึงตาย!
logo ข่าวอัพเดท

แพทย์เตือน นักดื่มอย่าหักดิบเลิกเหล้าทันที เสี่ยงเกิดภาวะเสี้ยนอันตรายถึงตาย!

ข่าวอัพเดท : วันที่ 25 ส.ค. 64 นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวว่า ใน ดื่ม,นักดื่ม,เหล้า,เมา,หักดิบ,เสี้ยน,ตาย

550 ครั้ง
|
26 ส.ค. 2564
       วันที่ 25 ส.ค. 64 นายแพทย์สรายุทธ์ บุญชัยพานิชวัฒนา ผู้อำนวยการสถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กล่าวว่า ในผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำ หรือผู้ที่ดื่มมากกว่า 5 วันต่อสัปดาห์ และดื่มวันละมากกว่า 2 ดื่มมาตรฐาน  ซึ่งเทียบได้กับเบียร์ 1.5 กระป๋อง,เหล้าแดง 4 ฝา, ไวน์ 2 แก้ว, เหล้าขาว 2 เป๊ก  และต้องการหักดิบหยุดดื่มกะทันหัน ร่างกายจะปรับภาพไม่ทัน ทำให้เกิดอาการอยากอย่างรุนแรง หรือเสี้ยน (craving) ซึ่งเมื่อกลับมาดื่มอีกครั้งจะไม่สามารถควบคุมตัวเองให้หยุดดื่มได้ ทำให้ดื่มมากกว่าที่เคยดื่ม เกิดพิษสุราแบบเฉียบพลันได้ง่ายกว่าปกติ ทำให้สมาธิลดลง มึนงง ปฏิกิริยาตอบกลับอัตโนมัติช้าลง เสียการควบคุมระบบกล้ามเนื้อ กดการหายใจและการเต้นของหัวใจ ไม่รู้สึกตัว การหายใจช้าลงและอาจเสียชีวิตได้ โดยความรุนแรงของอาการจะขึ้นอยู่กับปริมาณสุราที่ดื่มเข้าไป
 
          ดังนั้น  ครอบครัวและคนใกล้ชิด ต้องคอยสังเกตอาการของผู้ที่หยุดดื่มกะทันหัน หากพบมีอาการเสี่ยงให้รีบพาไปพบแพทย์ เพื่อขอรับคำปรึกษาหรือเข้าสู้กระบวนการบำบัดรักษา   ซึ่งการบำบัดรักษามี 2 รูปแบบ คือ
 
1.การบำบัดรักษาแบบผู้ป่วยนอก เหมาะสำหรับผู้ติดแบบไม่รุนแรงมาก สามารถดูแลการทานยาและควบคุมการหยุดดื่มได้ ไม่มีภาวะแทรกซ้อนทางกาย
 
2.การบำบัดแบบผู้ป่วยใน เหมาะสำหรับผู้ที่ไม่สามารถควบคุมการดื่มได้ หรือมีภาวะแทรกซ้อนทางกาย โดยแพทย์จะบำบัดรักษาอาการถอนพิษสุราและภาวะแทรกซ้อน จากนั้นจะเข้าสู่กระบวนการฟื้นฟูสมรรถภาพเพื่อฟื้นฟูกระบวนการคิด สมรรถภาพร่างกายและจิตใจควบคู่กันไป
 
       การดื่มสุราไม่มีประโยชน์ใดๆ ต่อร่างกาย ในผู้ที่ดื่มสุราเป็นประจำจะทำให้ภูมิคุ้มกันร่างกายลดลงทำให้เม็ดเลือดขาวทำงานฆ่าเชื้อโรคในร่างกายได้ไม่เต็มที่  มีโอกาสติดเชื้อต่าง ๆได้ง่ายขึ้น ยิ่งในสถานการณ์ที่มีการแพร่ระบาดของเชื้อโควิด การดื่มสุรายิ่งเพิ่มความเสี่ยงในการรับเชื้อมากขึ้น
 
        ทั้งนี้หากประสบปัญหาเกี่ยวกับสุรา หรือยาและสารเสพติด สามารถขอรับคำปรึกษาได้ที่ สายด่วนยาเสพติด 1165 หรือที่สถาบันบำบัดรักษาและฟื้นฟูผู้ติดยาเสพติดแห่งชาติบรมราชชนนี กรมการแพทย์  จังหวัดปทุมธานี และโรงพยาบาลธัญญารักษ์ในส่วนภูมิภาคทั้ง 6 แห่ง ได้แก่ โรงพยาบาลธัญญารักษ์เชียงใหม่ แม่ฮ่องสอน ขอนแก่น อุดรธานี สงขลา และปัตตานี สอบถามข้อมูลเพิ่มเติมได้ที่ www.pmindat.go.th

ข่าวที่เกี่ยวข้อง