'หมอธีระวัฒน์' เผยที่มาการฉีดวัคซีนไขว้ สู้โควิดสายพันธุ์ 'อัลฟา-เดลต้า'
logo ข่าวอัพเดท

'หมอธีระวัฒน์' เผยที่มาการฉีดวัคซีนไขว้ สู้โควิดสายพันธุ์ 'อัลฟา-เดลต้า'

ข่าวอัพเดท : หมอธีระวัฒน์ เผยที่มาการฉีดวัคซีนไขว้ ใช้สู้โควิดสายพันธุ์ อัลฟา-เดลต้า ได้ดีมาก แต่ต้องพ่วงด้วยความสามารถเฉพาะต่อชนิดของไวรัส และชน หมอธีระวัฒน์,ธีระวัฒน์เหมะจุฑา,ฉีดวัคซีน,วัคซีนโควิด19,ฉีดวัคซีนสลับ,ฉีดวัคซีนไขว้,โควิดสายพันธุ์ใหม่,อัลฟา,เดลต้า,เชื้อเดลต้า,อัลฟ่า

807 ครั้ง
|
13 ก.ค. 2564
'หมอธีระวัฒน์' เผยที่มาการฉีดวัคซีนไขว้ ใช้สู้โควิดสายพันธุ์ 'อัลฟา-เดลต้า' ได้ดีมาก แต่ต้องพ่วงด้วยความสามารถเฉพาะต่อชนิดของไวรัส และชนิดของวัคซีนด้วย
 
 
เมื่อวันที่ 13 ก.ค.64 ศ.นพ.ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา หัวหน้าศูนย์วิทยาศาสตร์สุขภาพโรคอุบัติใหม่ คณะแพทยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ โพสต์ข้อความบนเฟซบุ๊ก ธีระวัฒน์ เหมะจุฑา Thiravat Hemachudha ระบุว่า 
 
 
"วัคซีนหรรษา 13 กรกฎาคม 2564 ข้อมูลไม่ได้เป็นการอวย เอื้อ หรือ ต่อต้าน แทรกแซง ทางการใดๆ ทั้งสิ้น เป็นการชี้ให้เห็นความสำคัญของสองปัจจัยนั่นคือ ระดับภูมิที่วัดจากในเลือดควรมีระดับสูงอยู่คงนาน และนอกจากนั้น ยังต้องขึ้นอยู่กับว่าระดับภูมิที่สูงดังกล่าวได้จากวัคซีนชนิดใดที่มีในปัจจุบัน จึงจะสามารถเจาะจงกับสายพันธุ์อื่นๆ ได้ ไม่ใช่สูงอย่างเดียว
 
 
การใช้วัคซีนไขว้ สลับสับเปลี่ยน หรือตามซ้ำด้วยต่างยี่ห้อต่างเทคนิค กลายเป็นเรื่องสนุกสนาน หรรษาไปตามกันในเดือนกรกฎาคม 2564 และกลายเป็นเรื่องพูดกันไม่รู้จบ และนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงทางด้านนโยบาย ชิโนแวคตามด้วยแอสตร้า
 
 
แท้ที่จริงแล้ว เนื้อหาเบื้องลึกเบื้องหลังการไขว้ไปมาดังกล่าว มีที่มาที่ไปในช่วงตั้งแต่สามถึงสี่เดือนที่แล้วด้วยซ้ำ ทั้งนี้เป็นการถกกันในระดับเวทีองค์การอนามัยโลกและในระดับสาธารณสุขของประเทศต่างๆ และไม่เว้นกระทั่งในประเทศจีนเอง ที่เป็นเจ้าของตำรับวัคซีนเชื้อตายชิโนแวค ชิโนโนฟาร์ม ตั้งแต่ 13 เมษายน 2564 ความจำเป็นในการไขว้เริ่มมาตั้งแต่ 
 
 
1.เป็นภาคบังคับเนื่องจากวัคซีนแต่ละยี่ห้อออกมาไม่ทันใช้ ดังนั้นจึงต้องหายี่ห้ออื่นมาควบรวม 
 
 
2.ความต้องการที่จะให้ภูมิคุ้มกันในน้ำเหลืองสูงที่สุดและอยู่ให้คงนานที่สุด เพื่อให้มีการป้องกันการติดเชื้อได้นานและดียิ่งขึ้น นำมาสู่การใช้เข็มที่หนึ่งเป็นแอสตร้า ตามด้วยไฟเซอร์หรือโมเดอร์นา
 
 
3.แต่เมื่อเจอกับสายพันธุ์ เช่น เดลต้า แม้มีภูมิในระดับสูงจริง แต่ประสิทธิภาพเฉพาะตัวต่อเดลต้า กลับลดลงค่อนข้างมาก
 
 
4.นำมาสู่การกระตุ้นเข็ม 3 โดยหวังว่าระดับภูมิที่สูงมากๆ ยังพอที่จะช่วยกันการติดได้เพิ่มขึ้น แม้ต่างสายพันธุ์ออกไป แต่ทั้งนี้ต้องจับตาดูว่าการที่มีระดับภูมิจริง แต่ไม่เหมาะเหม็งกับสายพันธุ์ใหม่ กลับจะทำให้เมื่อติดเชื้ออาการกลับรุนแรงขึ้นหรือไม่ (Vaccine enhanced COVID-19 severity) และนำไปสู่การพัฒนาวัคซีนรุ่นที่สองที่มีความจำเพาะเจาะจงกับสายพันธุ์ที่เปลี่ยนไป เช่น วัคซีนไฟเซอร์ ที่จะเริ่มในเดือนสิงหาคม และวัคซีนของคนไทย คือ วัคซีนใบยา ที่จะปรับเปลี่ยนไปตามกัน
 
 
5.ประเทศไทยใช้วัคซีนต่างจากในประเทศตะวันตก คือใช้วัคซีนเชื้อตาย อย่างเช่น ในบราซิล อินโดนีเซีย และชิลี ในประเทศไทยพบว่าเดือนแรกหลังเข็มที่สองของชิโนแวค ดูจะกันการติดเชื้อได้ดี แต่ในเดือนที่สอง สังเกตการติดเชื้อดูมากขึ้น และดูมีอาการเห็นได้ชัดเจนขึ้น พ้องกับระดับภูมิที่ลดต่ำลงอย่างรวดเร็ว และจาก 90 กว่าเปอร์เซนต์ด้วยซ้ำ เหลือเพียง 30 ถึง 40%
 
 
6.ความเปลี่ยนแปลงดังกล่าวพบได้ในชิลี ซึ่งมีการติดตามประสิทธิภาพในการป้องกันการติดเชื้อและป้องกันการเข้าโรงพยาบาลและการตายได้ดีมากจากชิโนแวค จนกระทั่งถึงวันที่ 1 พฤษภาคม แต่หลังจากนั้นกลับรุนแรงขึ้นมาใหม่ และเช่นเดียวกับที่เกิดขึ้นในประเทศอินโดนีเซีย
 
 
7.ความรุนแรงของการติดเชื้อที่เพิ่มขึ้นรวมทั้งอาการที่มากขึ้น น่าจะไม่สามารถอธิบายได้จากการลดระดับของภูมิในเลือดอย่างเดียว ทั้งนี้อาจจะร่วมกับสายพันธุ์เช่นเดลต้า ทั้งนี้เพราะในประเทศไทยการคัดเลือกคนที่ได้รับชิโนแวคสองเข็ม และระดับภูมิยังคงสูงกว่า 70% เช่นที่ 87 จนถึง 92% แต่เมื่อแยกวิเคราะห์ความสามารถต่อสู้กับไวรัสพบว่าลดลงอย่างมากทั้งสายอัลฟาและเดลต้า
 
 
8.คนไทยที่ได้ชิโนแวค 2 เข็ม สู้กับไวรัสอัลฟาและเดลต้า ได้น้อยกว่าแอสตร้า 2 เข็ม ที่ระดับภูมิมากกว่า 90% เหมือนกัน
 
 
9.ที่ได้ชิโนแวคและต่อด้วยแอสตร้า ภูมิที่ระดับสูงกว่า 70% ดีกว่าชิโนแวคสองเข็ม ในการสู้กับอัลฟา เดลต้า แต่ยังมีประสิทธิภาพจำกัด ไม่เหมือนกับชิโนแวคสองเข็ม และต่อด้วยแอสตร้า ภูมิจะดีขึ้นมากและต่อสู้ได้ดีมากต่ออัลฟาและเดลต้า
 
 
10.ในเรื่องของวัคซีนจบลงที่ว่าการดูระดับภูมิกลายเป็นสูงเกิน 90% ยิ่งดี แต่ต้องพ่วงด้วยความสามารถเฉพาะเจาะจงต่อชนิดของไวรัสด้วย ดังนั้นจะขึ้นกับชนิดของวัคซีนด้วย"