เปิดมาตรการ-ข้อปฏิบัติ สำหรับสถานประกอบการ ช่วยลดความเสี่ยงของพนง.ให้ปลอดภัยไร้โควิด-19 : ช็อตเด็ด ถกไม่เถียง
logo ถกไม่เถียง

เปิดมาตรการ-ข้อปฏิบัติ สำหรับสถานประกอบการ ช่วยลดความเสี่ยงของพนง.ให้ปลอดภัยไร้โควิด-19 : ช็อตเด็ด ถกไม่เถียง

ถกไม่เถียง : สถานประกอบการ หรือ โรงงาน เป็นแหล่งรวมผู้คนจำนวนมาก นั่นทำให้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงในการเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อ โควิด-19 ได้ง่ายม ถกไม่เถียง,ทินถกไม่เถียง,ช่อง7HD,TERODigital,กด35,ฟอร์ดประเทศไทย,ฟอร์ด,ford,โควิด19,โรงพยาบาลสนาม,กักตัวอยู่บ้าน,วัคซีน,ระบาด,สถานประกอบการ,มาตรการป้องกัน,หมอตี๋,สาธิต,กรมอนามัย

3,800 ครั้ง
|
29 พ.ค. 2564

      สถานประกอบการ หรือ โรงงาน เป็นแหล่งรวมผู้คนจำนวนมาก นั่นทำให้เป็นอีกหนึ่งปัจจัยเสี่ยงในการเกิดการแพร่ระบาดของเชื้อ โควิด-19 ได้ง่ายมากยิ่งขึ้น เนื่องจากเป็นพื้นที่ปิด และค่อนข้างแออัด ดังจะเห็นได้จากข่าว “คลัสเตอร์โรงงาน” ในจังหวัดต่าง ๆ ดังนั้น สถานประกอบการ ต้องมีมาตรการ และข้อปฏิบัติที่เข้มข้น ในการรับมือช่วงวิกฤตโควิด เพื่อไม่ให้กลายเป็นแหล่งเพาะเชื้อจนเกิด “คลัสเตอร์โรงงาน” 
 
หากผู้ประกอบการพบผู้ติดเชื้อในโรงงานต้องปฏิบัติอย่างไร?
 
      นายสาธิต ปิตุเตชะ รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงสาธารณสุข เผยว่า ผู้ประกอบการสามารถสั่งปิดโรงงานของตัวเองได้ทันที แต่ต้องแจ้งเจ้าหน้าที่ หากเป็นต่างจังหวัดให้แจ้ง สสจ.ในแต่ละพื้นที่ แต่หากเป็นในกรุงเทพมหานคร ให้แจ้งไปยังกรมควบคุมโรค โดย สปคม. เข้าไปสอบสวน อย่างโมเดล คลัสเตอร์โรงงานที่เพชรบุรี จะเห็นได้ชัดว่าการดำเนินการที่ช้าเกินไป จะทำให้เกิดการแพร่ระบาดเป็นวงกว้าง ดังนั้นเจ้าของกิจการมีอำนาจที่จะจัดการอะไรได้ แต่ต้องไปพึ่งองค์ความรู้จากทาง สสจ. และทางเจ้าหน้าที่ของกรมควบคุมโรค
 
มาตรการ และข้อปฏิบัติ สำหรับสถานประกอบการที่จะช่วยลดความเสี่ยงของพนักงานให้ปลอดภัยจากโควิด-19
 
        นายจิรวัฒน์ จีระดีพลัง ผู้จัดการฝ่ายทรัพยากรบุคคล บริษัท ฟอร์ด มอเตอร์ คัมปะนี (ประเทศไทย) จำกัด ในฐานะผู้ประกอบการ เผยถึงมาตรการ ที่ทาง ฟอร์ด ใช้ในการปฏิบัติเพื่อดูแลพนักงาน ว่า ฟอร์ด ให้ความสำคัญสูงสุดในเรื่องความปลอดภัยของพนักงาน เราดูแลพนักงานทุกคนเหมือนคนในครอบครัว เริ่มตั้งแต่ก่อนออกจากบ้านจนถึงช่วงเวลาทำงาน นอกจากจะปฏิบัติงานตามมาตรการรัฐอย่างเคร่งครัดแล้ว ฟอร์ดยังมีมาตรการอื่นๆ เพิ่มเติมคือ ให้พนักงานที่ไม่เกี่ยวข้องกับสายการผลิตทำงานที่บ้าน (Work From Home) มีการให้ความรู้กับพนักงาน มีการแจกหน้ากากอนามัยให้กับพนักงานทุกวัน เว้นระยะห่างในห้องประชุม โรงอาหาร และรถรับส่ง ให้ลูกจ้าง พนักงาน สหภาพแรงงานเข้ามามีส่วนร่วมในการเสนอแนะมาตรการป้องกันเพิ่มเติม สิ่งที่สำคัญที่สุดคือ เราสร้างความเชื่อใจให้กับพนักงาน ทุกๆวันพนักงานต้องประเมินความพร้อมในออนไลน์ก่อนว่าอาการของตัวเองเป็นอย่างไร ถ้ามีอาการ หรือเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง ก็ให้แจ้งหัวหน้างานแล้วไม่ต้องมาทำงาน และให้รีบไปพบแพทย์ โดยที่ทางบริษัทจะไม่ถือเป็นวันลา ไม่มีการหักเงินเดือน และยังคงให้เบี้ยขยันเต็มจำนวนเหมือนเดิม
 
ถกไม่เถียง : เปิดมาตรการ-ข้อปฏิบัติ สำหรับสถานปร
 
หากพบพนักงานเป็นกลุ่มเสี่ยง ต้องปฏิบัติตัวอย่างไร?
 
        นพ.สุวรรณชัย วัฒนายิ่งเจริญชัย อธิบดีกรมอนามัย ให้ข้อมูลว่า หากโรงงานไหนเจอผู้ติดเชื้อ จะต้องมีแผนเผชิญเหตุในการดำเนินการ โดยเจ้าของโรงงานหรือสถานประกอบการสามารถปิดดำเนินการเองได้ หรือหากรัฐพิจารณาว่ามีความเสี่ยง รัฐก็สามารถใช้อำนาจในการปิด โดยผู้ว่าราชการจังหวัด ด้วยความเห็นชอบของคณะกรรมการโรคติดต่อจังหวัด ก็สามารถมีอำนาจสั่งปิดได้ โดยวัตถุประสงค์ที่สำคัญในการสั่งปิดคือ 
1 การลดการเคลื่อนไหวของผู้คน 
2 ลดการสัมผัสของผู้คน ในบริเวณพื้นผิวต่างๆ
3 ลดการแพร่ระบาด
4 เน้นการตรวจคัดกรอง พยายามแยกผู้ติดเชื้อไปรักษา เพื่อตัดวงจร
 
อย่างไรก็ตามพวกนี้จะนำไปสู่การประเมิน 3 ลักษณะด้วยกันที่โรงงานจะต้องปฏิบัติ คือ
 
1 ปิดโรงงาน หยุดกิจการ
2 ไม่หยุดกิจการ แต่จำกัด หรือซีล คือการบริหารจัดการที่ไม่ให้ผู้คนออกไปข้างนอกได้ ตัวอย่างที่เห็นชัดคือ โรงงานแถวสมุทรสาคร หรือในเรือนจำ
3 โรงงานหลายแห่ง มีพนักงานที่พักอาศัยในโรงงาน และพักอาศัยอยู่ภายนอกโรงงาน ซึ่งตรงนี้เองจะนำมาสู่คำว่า บับเบิล คือ พนักงานเหล่านี้ต้องทำตัวเองเหมือนอยู่ในฟอง เมื่ออยู่ข้างนอกต้องไม่ไปสัมผัสกับผู้คน ซึ่งวิธีบับเบิลนี้ พนักงานต้องประเมินตัวเอง อันดับแรกว่าได้ไปสัมผัสกับผู้ติดเชื้อหรือไม่ ถ้าไม่ได้ไปสัมผัส สิ่งที่ควรจะทำคือเฝ้าระวัง ปฏิบัติตามมาตรการอย่างเคร่งครัด ในระยะ 14 วัน ต้องพยายามไม่เจอผู้คน แต่ถ้าเมื่อไหร่ก็ตามเขาเป็นผู้สัมผัสเสี่ยงสูง จะต้องมีการกักตัว คำถามคือจะกักที่ไหนเท่านั้นเอง และจะต้องไปตรวจเชื้อทุกราย
 
มีมาตรการอย่างไรในการควบคุมการแพร่ระบาด ในรูปแบบคลัสเตอร์ตามพื้นที่ต่างๆ ไม่ให้มีการแพร่กระจายออกมา ?
 
          นายสาธิต ปิตุเตชะ เผยว่า มาตรการหลักในการป้องกันรับมือคลัสเตอร์คือการลดกิจกรรมการเจอกัน นอกจากนั้นต้องมีความร่วมมือของพี่น้องประชาชน ส่วนมาตรการในการแก้ไขก็เป็นระบบการจัดการของกรมควบคุมโรค ซึ่งที่ผ่านมาทั้งหมด ก็มีความแตกต่างในแต่ละคลัสเตอร์ เช่น คลัสเตอร์ชุมชนคลองเตย จะใกล้เคียงกับสมุทรสาคร มีนโยบายในการซีลบับเบิล สำคัญเลยคือห้ามเข้า-ออกแม้แต่คนเดียว ต้องทำให้ได้ 100% ที่สมุทรสาครเราอาจจะทำได้ แต่คลองเตยจะมีความต่าง เราไม่สามารถกันคน 60,000-70,000 คน ได้ทั้งหมด ดังนั้นเราจึงต้องเอาคนที่มีความเสี่ยงออกมา ส่วนคลัสเตอร์ในเรือนจำยังดีเพราะมันมีรั้วรอบขอบชิดที่ไม่สามารถออกไปไหนได้เลย คนที่มีอาการหนักก็ส่งเข้าโรงพยาบาลราชทัณฑ์ ส่วนคนอาการไม่เยอะ ก็เข้าโรงพยาบาลสนามในเรือนจำ ซึ่งการจัดการเพื่อไม่ให้มีการแพร่กระจายเชื้อในคลัสเตอร์ต่างๆ ต้องขึ้นอยู่กับการร่วมมือของประชาชน และมาตรการของรัฐบาล 
 
         การตรวจเชื้อเชิงรุกจึงมีความสำคัญ เราจะพบว่าผู้ติดเชื้อจำนวนมากไม่แสดงอาการ เขาอาจจะไม่รู้ด้วยซ้ำว่าเขาติดเชื้อ ดังนั้นการค้นหาเชิงรุกจึงสำคัญเท่ากับการควบคุม ต้องทำควบคู่กันไป วันนี้เราอาจจะไปสนใจเรื่องการฉีดวัคซีนมากเกินไป จนละเลยมาตรการการป้องกันตัวเอง ดีที่สุดคือ ต้องควบคุมโรค ดูแลตัวเอง และฉีดวัคซีนควบคู่กันไป เพราะถ้ารอแค่วัคซีน เวฟที่ 4 มาแน่
 
ติดตาม รายการ “ถกไม่เถียง” ดำเนินรายการโดย “ทิน โชคกมลกิจ” ภายใต้การผลิตของบริษัท เทโร เอ็นเทอร์เทนเม้นท์ ได้ทุกวันจันทร์-ศุกร์ เวลา 17.00 น. ทางช่อง 7HD กด 35 และสามารถรับฟังผ่านทาง hitz955.com

ข่าวที่เกี่ยวข้อง