สรุปภาพรวมโครงการ "จัดงานทั่วไทย ภูมิใจช่วยชาติ" กับการผนึกกำลังครั้งสำคัญระหว่างองค์กรภาครัฐ เอกชน และผู้ประกอบการไมซ์ ร่วมสร้างปรากฏการณ์ รวมใจไทยเป็นหนึ่ง ผลักดันให้เกิดการจัดงานทั่วประเทศ เมื่อวันที่ 2 กันยายน 2563 ณ รอยัล พารากอน ฮอลล์ ศูนย์การค้าสยามพารากอน โดยได้รับเกียรติจาก นายอนุทิน ชาญวีรกูล รองนายกรัฐมนตรีและรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดงาน และร่วมกล่าวปาฐกถาในหัวข้อ “นโยบายรัฐบาลกับการส่งเสริมการจัดประชุมและนิทรรศการของประเทศไทย”
โดยสรุปจำนวนผู้เข้าร่วมงาน และผู้ชมงานผ่านสื่อออนไลน์กว่า 6,000 คน (ข้อมูล ณ วันที่ 2 กันยายน 2563 เป็นจำนวนผู้เข้าร่วมงาน 1,240 คน และผู้ชมงานผ่านสื่อออนไลน์ 4,778 คน) ประกาศเมืองไมซ์ซิตี้เพิ่มอีก 2 แห่ง ได้แก่ นครราชสีมา และสงขลา (ปัจจุบันประเทศไทยมีเมืองไมซ์ซิตี้ 7 แห่ง ได้แก่ กรุงเทพมหานคร ขอนแก่น เชียงใหม่ นครราชสีมา พัทยา ภูเก็ต และสงขลา)
MICE Mart เวทีเจรจาซื้อขายธุรกิจการจัดงานไมซ์ระหว่างผู้ขายจำนวน 132 รายและผู้ซื้อ 305 ราย
MICE Talk บรรยายและเสวนา 8 หัวข้อ โดยวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒิด้านการจัดงานไมซ์ 24 ท่าน
7 แพ็กแกจสนับสนุนการจัดงานไมซ์ ทั้งตลาดในประเทศและต่างประเทศดังนี้
สำหรับ ตลาดในประเทศ จัดให้ 3 แพ็กเกจ ได้แก่
จุดเด่นสำคัญของแพ็กเกจพิเศษตลาดในประเทศ คือ สนับสนุนและกระตุ้นให้องค์กรและหน่วยงานจัดกิจกรรมนอกสถานที่ตั้งในสถานที่จัดงาน และที่พักที่มีมาตรฐานและถูกกฎหมาย โดยส่งเสริมการจัดงานหรือกิจกรรมไมซ์ที่กระจายรายได้และกระตุ้นเศรษฐกิจแก่จังหวัดและภูมิภาค หรืองานที่ผลักดันให้เกิดการสร้างผลกระทบทางเศรษฐกิจ เช่น การจัดกิจกรรมเจรจาธุรกิจภายในงาน รวมถึงการจัดงานที่ส่งเสริมอัตลักษณ์ท้องถิ่น ผลิตภัณฑ์เด่นของพื้นที่ สอดคล้องตามแผนพัฒนาเศรษฐกิจของพื้นที่จัดงานนั้นๆ
ด้าน ตลาดต่างประเทศ ทีเส็บสนับสนุนการจัดงานให้กับ 4 กลุ่มตลาด ประกอบด้วย
แพ็กเกจตลาดต่างประเทศมีจุดดึงดูดสำคัญ คือ สนับสนุนงานครอบคลุมทุกรูปแบบ ทั้งการจัดงานในรูปแบบปกติ (Face to Face), การจัดงานรูปแบบปกติร่วมกับออนไลน์ (Hybrid Event) และการจัดงานออนไลน์ (Virtual Event) มุ่งทำการตลาดล่วงหน้า เน้นการรักษางานเดิมที่เคยจัดอยู่ให้ยังคงจัดในประเทศไทย (Existing Shows) รวมถึงการดึงงานใหม่ (New Shows) ให้กระจายไปยังเมืองไมซ์ซิตี้ และเมืองไมซ์ที่มีศักยภาพ พร้อมวางแผนสนับสนุนการนำเสนอบริการเพื่อชูอัตลักษณ์ไทย ตั้งแต่การต้อนรับจากสนามบิน รวมถึงการจัดโปรแกรมไมซ์ในท้องถิ่นและชุมชนที่เป็นเอกลักษณ์และสร้างความแตกต่าง ซึ่งเป็นมาตรการเชิงรุกที่ประเทศไทยหวังดึงดูดลูกค้าต่างประเทศอย่างต่อเนื่องไปจนสถานการณ์เอื้ออำนวยแก่การเดินทางระหว่างประเทศในอนาคต
“เป้าหมายการจัดงานครั้งนี้ มุ่งหวังที่จะสร้างความเชื่อมั่นให้ผู้ประกอบการไมซ์ไทยดำเนินธุรกิจได้อย่างมั่นใจ สร้างความร่วมมือร่วมใจจากทุกภาคส่วน ร่วมผลักดันให้การจัดประชุมและนิทรรศการเป็นวาระแห่งชาติที่มีส่วนสำคัญในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจของประเทศภายหลังสถานการณ์โควิด-19 ตลอดจนให้ความรู้กับผู้ประกอบการถึงแนวทางการจัดงานไมซ์อย่างปลอดภัย กระตุ้นให้เกิดการจัดงานทั่วประเทศส่งเสริมเศรษฐกิจโดยเร็วที่สุด”
“การจัดงานครั้งนี้จะเป็นการจุดประกายครั้งใหญ่ในความร่วมมือกันเดินหน้าขับเคลื่อนอุตสาหกรรมไมซ์ในยุควิถีใหม่ของหน่วยงาน ทุกภาคส่วน ร่วมกันจัดงานอย่างปลอดภัยในทั่วประเทศ เพื่อกระจายรายได้ให้กับเศรษฐกิจทั่วทุกภูมิภาคอย่างทั่วถึง เชื่อมั่นว่าจะช่วยส่งเสริมให้ทุกภาคส่วนร่วมกันใช้เวทีการจัดงานที่กระจายอยู่ทั่วประเทศ ขยายการเติบโตให้กับทุกภาคอุตสาหกรรมของประเทศไทย สร้างงาน สร้างธุรกิจได้อย่างมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน” นายจิรุตถ์ กล่าวทิ้งท้าย