บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ประกาศความสำเร็จต่อยอดการออกแบบผลิตภัณฑ์ ECO-Design จากโครงการอัพไซคลิง อัพสไตล์ลิง (Upcycling Upstyling) ผ่านการนำเสนอผลงานของ Converters และ Brand Owners ที่ร่วมกับดีไซเนอร์ชั้นนำในสาขาต่างๆ ออกแบบพัฒนาผลิตภัณฑ์ Upcycling เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจและส่งเสริมให้มีการใช้ทรัพยากรให้เกิดประโยชน์สูงสุด ตอบโจทย์ฟังก์ชันการใช้งาน ภายใต้แนวคิด "Up Waste to Value with WOW! Style"
คุณปฏิภาณ สุคนธมาน ผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าวว่า โครงการอัพไซคลิง อัพสไตล์ลิง (Upcycling Upstyling) เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ Upcycling Project ที่ทาง GC ได้ทำและสนับสนุนกันมาโดยตลอด โดย GC ได้พยายามนำสินค้าพลาสติก สินค้าใช้แล้วประเภทพลาสติก หรือสินค้าที่เป็น Waste ต่างๆ ที่ใช้แล้วทิ้ง นำมารีไซเคิลใหม่ ทั้งนี้ไม่ได้รีไซเคิลแบบปกติ เพราะเป็นการทำเพื่อให้ได้มูลค่า ได้คุณค่าที่สูงขึ้นด้วยการใส่ดีไซน์เข้าไป
โครงการ Upcycling Upstyling เป็นการร่วมมือกันระหว่าง GC และผู้ประกอบการที่เป็น Partner ของเราเข้าร่วมกิจกรรม เพื่อขยายโอกาสทางธุรกิจและสร้างสรรค์ผลงานใหม่ ๆ ออกสู่ตลาด จำนวน 19 บริษัท โดยร่วมพัฒนาผลงานกับผู้เชี่ยวชาญที่เป็นนักออกแบบชั้นนำ (Expert of style) ในสาขาต่าง ๆ ที่ทาง GC ได้คัดสรรมาเพื่อช่วยเหลือผู้ประกอบการจำนวน 10 ท่าน ภายใต้แนวคิด "Up Waste to Value with WOW! Style" เพื่อให้สินค้าถูกสร้างสรรด์ เพิ่มคุณค่าและมูลค่า ผ่านการออกแบบอย่างมีสไตล์ จนกลายเป็นสินค้าหลากหลาย ที่ทั้งสวยงาม มีความรักษ์โลก และตอบโจทย์ฟังก์ชั้นการใช้งาน โดยแบ่งออกเป็น 6 หมวดหมู่ ได้แก่ Packaging Design / Crafts Design / Fashion Design / Material and Jewelry Design / Industrial Design / Architecture Design
โดยวัตถุประสงค์หลักคือการต้องการสร้างให้เกิดความรู้ ความเข้าใจคุณค่าที่แท้จริงของพลาสติก ซึ่งอาจจะเข้าใจผิดว่าพลาสติกมีดีเพียงใช้แล้วทิ้งไป แต่ในความเป็นจริงแล้วพลาสติกได้รับการออกแบบมาให้ใช้งานอย่างคงทน ให้ใช้ซ้ำหลายครั้ง นี่จึงเป็นที่มาในการสร้างความเข้าใจ ให้ทุกคนได้รับรู้กันว่าพลาสติกสามารถนำกลับมาใช้ใหม่ได้ใน Value ที่สูงขึ้น และเพิ่มประโยชน์ใช้สอยที่หลากหลายมากขึ้น นอกจากนั้นยังเป็นการสร้างโอกาสเชิงธุรกิจให้กับคู่ค้า ในการพัฒนาโปรดักซ์ใหม่ๆ
ซึ่งผลงานประมาณ 10 ผลงาน พร้อมที่จะวางจำหน่ายเชิงพาณิชย์แล้วหลังจากจบโครงการ ส่วนผลงานอื่น ๆ อยู่ระหว่างการพัฒนา เพื่อนำไปใช้ต่อยอดในเชิงธุรกิจในเร็ววันนี้ บางส่วนได้ถูกนำไปประชาสัมพันธ์แล้วตามช่องทางออนไลน์ของ GC โดยเบื้องต้นสามารถวางจำหน่ายผ่านของทางของ csc Shop by Gc ทั้งที่ร้านและ Online Shop (https://gccircularlivingshop.com) ตลอดจนพันธมิตรในเครือชายของ GC เช่น Ecotopia ที่ Siam D'scovery เป็นต้น
"สำหรับความสำเร็จในครั้งนี้ถือว่าเกินคาดมาก ซึ่งทาง GC หวังเป็นอย่างยิ่งว่าเมื่อได้โปรดักซ์ออกมาใช้ได้ สักครึ่งหนึ่งก็ดีใจแล้ว แต่ในความเป็นจริงวันนี้พบว่า สินค้าบางตัวได้เริ่มมีผู้สนใจติดต่อจะนำไปจำหน่ายแล้วกว่า 10 ชิ้น หลายๆ ชิ้นก็อยู่ในช่วงของการพัฒนาออกไปในเชิงพานิชย์มากยิ่งขึ้น และได้เสียงตอบรับที่ดีมาก จากทั้งบุคคลทั่วไป ภาครัฐและเอกชน ตลอดจนสนับสนุนและชื่นชมในแนวคิดเรื่องการปรับเปลี่ยนหมุนเวียนขยะกลับมาใช้ใหม่ ตามแนวคิด GC Circular Living" และหวังเป็นอย่างยิ่งว่ามันจะไม่ใช่แค่วันนี้วันเดียว"
คุณปฏิภาณ กล่าวทิ้งท้ายอีกว่า ในส่วนของการต่อยอดนั้น GC มีความตั้งใจว่าจะทำต่อไปเรื่อยๆ ในทุกๆ ปี เพื่อสร้างเครือข่าย และสร้างผลิตภัณฑ์ที่เป็น Upcycling ให้กว้างขวางออกไปมากยิ่งขึ้น พร้อมกับเปิดโอกาสให้กับคู่ค้ารายอื่นๆ ที่สนใจได้รับโอกาสเท่าเทียมกัน เพราะอย่างน้อยก็มีความสัมพันธ์อันดีร่วมกับคู่ค้า นักออกแบบมากยิ่งขึ้น และมีสินค้า มีผลิตภัณฑ์ที่เป็น Upcycling ออกมา ให้สาธารณะชนทั่วไปรับรู้คุณค่าของพลาสติกมายิ่งขึ้นต่อไป
“NAKASHIMA I BEST POLYMER X JIRD”
ภายในงานเปิดตัวได้มีชิ้นงานผลิตภัณฑ์ กว่า 19 ชิ้นมาร่วมจัดแสดงซึ่งหนึ่งในประเภท Crafts Design นั่นคือ “NAKASHIMA I BEST POLYMER X JIRD” ผลงานออกแบบของ คุณศุภพงศ์ สอนสังข์ จาก Jird Design Gallery ที่ทำร่วมกับผู้ประกอบการคือ บริษัท เบสท์ โพลิเมอร์ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัด โดยคุณศุภพงศ์ กล่าวว่า ผลงานชิ้นนี้เป็น Wood Plastic Composite (ไม้พลาสติก) ที่มาจากขยะถุงหูหิ้วพลาสติก HDPE และเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร ซึ่งเกิดจากการผสมผสานอย่างลงตัว ระหว่างขยะพลาสติกและเศษวัสดุเหลือใช้จากการเกษตร เมื่อนำมาแปรรูปและออกแบบคาดว่าจะทำให้มูลค่าของสินค้าเพิ่มขึ้นประมาณ 40 - 50% จุดเด่นของไม้เทียม คือ การนำกลับมาใช้ใหม่ได้อย่างไม่จำกัด เศษที่เหลือจากการตัดแต่งวัสดุสามารถนำมาบดและหลอมกลับมาอัดเป็นแผ่นได้ภายในโรงงานเลย
ซึ่งความตุ่นของสี คือ ข้อดีที่สามารถสร้างลวดลายในเนื้อวัสดุที่ใกล้เคียงไม้จริง ที่เป็นกลุ่มไม้พื้นถิ่น เนื้อแข็งลายสวยหลากหลายชนิด เช่น สัก แดง มะค่า รกฟ้า มะริด และในกลุ่มไม้นอก อย่างเช่น บีช โอ๊ค วอลนัท ซึ่งเมื่อสร้างลายในเนื้อวัสดุได้ จะสามารถใช้กระบวนการผลิตขึ้นรูปแบบช่างไม้ได้ ทั้งการแกะหรือขัดลึกลงไป เพราะยังเห็นลวดลายเด่นชัด นอกจากนี้ยังสามารถใช้ทักษะและเครื่องมืองานไม้ได้หลากหลาย
“REUSE ME I WANNA BE WRINKLED I LAWANVISUT X THINKK”
ทั้งนี้ยังมีผลงานหมวด Packaging Design คือ “REUSE ME I WANNA BE WRINKLED I LAWANVISUT X THINKK” ผลงานออกแบบของ คุณพลอยพรรณ ธีรชัย และ คุณเดชา อรรจนานันท์ จาก THINKK STUDIO ที่ทำร่วมกับผู้ประกอบการคือ บริษัท ลาวัณย์วิสุทธิ์พลาสติกไทย จำกัด โดยตัวแทนจาก บริษัท ลาวัณย์วิสุทธิ์พลาสติกไทย กล่าวว่า REUSE ME I WANNA BE WRINKLED เป็นถุงพลาสติกรีไซเคิลที่มีความหนาเป็นพิเศษ มีประสิทธิภาพในการใช้งานเปรียบเป็นกระเป๋าที่สามารถใช้งานได้ยาวนานและมีความแข็งแรงมากขึ้น
โดยทำให้สีที่อาจดูไม่สม่ำเสมอ หรือไม่เหมือนกันในกระเป๋าถุงแต่ละใบ อันเนื่องมาจากการผสมสีของเศษพลาสติกที่มีในช่วงเวลานั้น ให้กลายเป็นเสน่ห์และเพิ่มลูกเล่นที่น่าสนใจ ด้วยลายกราฟฟิกตัวหนังสือสีสะท้อนแสงที่ดูสดใสและทันสมัย พร้อมสื่อสารอย่างตรงตัวให้ผู้คนมีความเข้าใจกับการใช้ซ้ำของถุงพลาสติก และเข้าถึงร่องรอยการยับของถุงพลาสติกที่บ่งบอกถึงประสบการณ์ของถุงพลาสติกที่ผ่านการใช้ซ้ำ
“Upcycling Fashion Bag I PASAYA X O&B”
และในหมวด Fashion Design คือ “Upcycling Fashion Bag I PASAYA X O&B” ผลงานออกแบบของ คุณรรินทร์ ทองมา จาก O&B ที่ทำร่วมกับผู้ประกอบการคือ PASAYA โดยตัวแทนจาก PASAYA กล่าวว่า Upcycling Fashion Bag เป็นการนำ ขวดน้ำพลาสติกที่เป็นขยะ ถูกนำมา Upcycling เปลี่ยนแปลงรูปด้วยเทคนิคการทอเฉพาะของ Pasaya และการออกแบบของ O&B ทำให้เกิดเป็นผลงานที่มีลูกเล่น สีสันสวยงาม โดยลวดลายผ่านการออกแบบจากแรงบันดาลใจ ของทาง Pasaya ซึ่งมีความตั้งใจในการเป็นส่วนหนึ่งในการดูแลสิ่งแวดล้อม
โดยลวดลายบนกระเป๋าได้ถูกถ่ายทอด และสื่อความ ได้ 2 ด้าน ด้านที่ 1 คือ เป็นด้านที่กระเป๋ามีลวดลายธรรมชาติของต้นไม้ และสัตว์ป่าที่มีความอุดมสมบูรณ์ แต่เมื่อพลิกกระเป๋ามาใช้ในด้านที่ 2 จะเห็นเป็นลวดลายที่แห้งแล้งของธรรมชาติ และสัตว์ป่าที่เหลือเป็นโครงกระดูก ซึ่งนับว่าเป็นผลงานการออกแบบของผลิตภัณฑ์ Upcycling ที่สื่อความสะท้อนให้ทุกคนหันมาใส่ใจในการจัดการด้านสิ่งแวดล้อมอย่างจริงจัง
นอกจากนี้ยังมีผลงาน Upcycling จากนักออกแบบและผู้ประกอบการอีกมามาย อาทิ
Straws Bubble I THAINAM X PROMPT
ผลงานการออกแบบของ คุณสมชนะ กังวารจิตต์ จาก Prompt Design ที่ทำร่วมกับผู้ประกอบการคือ บริษัท ไทยนำโพลีแพค จำกัด
New Design of Bioplastic Straw I KMP X QUALY
ผลงานการออกแบบของ คุณธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ Design Director / Co-founder จาก QUALY ที่ทำร่วมกับผู้ประกอบการคือ บริษัท เค.เอ็ม. แพ็กเกจจิ้ง จำกัด
Upcycling Chair I CHINNAVORN X THE REMAKER
ผลงานการออกแบบของ คุณยุทธนา อโนทัยสินทวี จาก The ReMaker ที่ทำร่วมกับผู้ประกอบการคือ บริษัท ชินวรพลาส จำกัด
Tai Taley 001 I SIAM BROTHER X KORRAKOT
ผลงานการออกแบบของ คุณกรกต อารมย์ดี จาก KORAKOT ที่ทำร่วมกับผู้ประกอบการคือ บริษัท สยามบราเดอร์ จำกัด
Upcycling Basket I SUNSEA X KORRAKOT
ผลงานการออกแบบของ คุณกรกต อารมย์ดี จาก KORAKOT ที่ทำร่วมกับผู้ประกอบการคือ บริษัท ซันซีพลาสติก พี.เอส. จำกัด
Weaving The Forgotten Thread I TECHNIC PACKAGING X EKTHONGPRASERT
ผลงานการออกแบบของ คุณเอก ทองประเสริฐ จาก Ek Thongprasert ที่ทำร่วมกับผู้ประกอบการคือ บริษัท เทคนิคแพคเกจจิ้ง จำกัด
2nd Life 2nd Chance I GC X EK THONGPRASERT
ผลงานการออกแบบของ คุณเอก ทองประเสริฐ จาก Ek Thongprasert ที่ทำร่วมกับ Upcycling Shop By GC
Upcycling Shoes I MMP X O&B
ผลงานการออกแบบของ คุณรรินทร์ ทองมา จาก O&B ที่ทำร่วมกับผู้ประกอบการคือ บริษัท เอ็มเอ็มพี คอร์ปอเรชั่น จำกัด
ยั่ง ยืน ยง I PLASSTISIMO X SARRAN
ผลงานการออกแบบของ คุณศรัณญ อยู่คงดี จาก SARRAN ที่ทำร่วมกับผู้ประกอบการคือ บริษัท PLASTISSIMO FILM จำกัด
WFH I J.T. PACK X THE REMAKER
ผลงานการออกแบบของ คุณยุทธนา อโนทัยสินทวี จาก The ReMaker ที่ทำร่วมกับผู้ประกอบการคือ บริษัท ซันซีพลาสติก พี.เอส. จำกัด
Upcycling Bin for Coffee Cafe I TPBI X QUALY
ผลงานการออกแบบของ คุณธีรชัย ศุภเมธีกูลวัฒน์ Design Director / Co-founder จาก QUALY ที่ทำร่วมกับผู้ประกอบการคือ บริษัท ทีพีบีไอ จำกัด มหาชน
Alphabet for Home & Decoration I BAG AND GLOVES X SARRAN
ผลงานการออกแบบของ คุณศรัณญ อยู่คงดี จาก SARRAN ที่ทำร่วมกับผู้ประกอบการคือ บริษัท Bags and Gloves จำกัด
Upcycling Flowerpot & Lamp I SANGROONG X THINKK
ผลงานการออกแบบของ คุณพลอยพรรณ ธีรชัย และ คุณเดชา อรรจนานันท์ จาก THINKK STUDIO ที่ทำร่วมกับผู้ประกอบการคือ บริษัท แสงรุ่งกรุ๊ป จำกัด
Black Diamond I VANDAPACK X JERD
ผลงานการออกแบบของ คุณศุภพงศ์ สอนสังข์ จาก Jird Design Gallery ที่ทำร่วมกับผู้ประกอบการคือ บริษัท แวนด้าแพค จำกัด
Upcycling Wristband I RAMA X PROMPT
ผลงานการออกแบบของ คุณสมชนะ กังวารจิตต์ จาก Prompt Design ที่ทำร่วมกับผู้ประกอบการคือ โรงพยาบาลรามาธิบดี
Architecture Design
ผลงานการออกแบบของ คุณรติวัฒน์ สุวรรณไตรย์ จาก Openbox ที่ทำร่วมกับผู้ประกอบการคือ บริษัท อาร์เอฟเอส จำกัด โรงพยาบาลรามาธิบดี