อีกหนึ่งเรื่องเศร้าสะเทือนวงการบันเทิง...เมื่ออดีตนักร้องดังผู้ฝ่ามรสุมประเด็นอื้อฉาวอย่าง ‘นาธาน โอมาน’ ซึ่งเคยฝากผลงานเพลงก้องวงการอย่างเพลง ‘นางฟ้ามาโปรด’ และเพลง ‘อย่างน้อย’ ซึ่งได้เสียชีวิตด้วยภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด เนื่องจากป่วยเป็นโรคโลหิตจาง และจากไปอย่างกะทันหัน...
ทีมข่าวช่อง 3 ออนไลน์จะพารู้จัก ‘โรคโลหิตจาง’ ซึ่งทีมข่าวได้สอบถามไปยัง นายแพทย์สมศักดิ์ อรรฆศิลป์ อธิบดีกรมการแพทย์ ถึงสาเหตุ อาการ ปัจจัยเสี่ยง รวมไปถึงวิธีการป้องกัน ซึ่งมีรายละเอียดดังนี้
นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าวว่า “โรคโลหิตจางจะส่งผลให้เลือดในร่างกายมีปริมาณน้อย ซึ่งเลือดมีหน้าที่ลำเลียงอ็อกซิเจน และสารอาหารไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ดังนั้นเมื่อเลือดมีปริมาณน้อยก็จะทำให้ร่างกายอ่อนแอในระยะยาว"
- สาเหตุหลัก
นายแพทย์สมศักดิ์ ให้ข้อมูลว่า “โรคโลหิตจางส่วนใหญ่เกิดจากการป่วยเป็นโรคธาลัสซิเมีย โดยจะส่งผลให้เป็นโรคโลหิตจางโดยปริยาย ที่สำคัญโรคนี้สามารถถ่ายทอดได้ผ่านกรรมพันธุ์ ซึ่งคนไทยป่วยเป็นโรคธาลัสซิเมียร์ค่อนข้างเยอะ เพราะว่าคนแถบเอเชียมีโครโมโซมที่สามารถเป็นพาหะนำโรคธาลัสซิเมียร์ได้”
- สาเหตุอื่นๆ
- ผู้ป่วยโรคกระเพาะที่มีแผลในกระเพาะ โดยจะทำให้เกิดการเสียเลือดจากแผลในกระเพาะทีละน้อย จนทำให้เป็นโรคโลหิตจาง
- ผู้ป่วยโรคมะเร็งต่างๆ อาทิ มะเร็งลำไส้ หรือมะเร็งในกลุ่มทางเดินอาหาร
- ผลข้างเคียงจากการรักษาโรคมะเร็ง
- ผู้หญิงที่มีประจำเดือนมากผิดปกติ
- ผู้ป่วยไตวาย
- ผู้ป่วยโรคตับ
- ผู้ป่วยริดสีดวงเรื้อรัง
- อ่อนเพลียง่ายผิดปกติ
- ใจสั่น
- หัวใจเต้นเร็ว
- วิงเวียน
- หน้ามืด, เป็นลม
- ติดเชื้อได้ง่ายกว่าปกติ
- หัวใจโต ซึ่งเป็นสาเหตุของการหัวใจวาย
- เมื่อโลหิตจางก็จะทำให้มีเม็ดเลือดขาวน้อย โดยหากใครมีโรคประจำตัว อาทิ เบาหวาน, ความดัน, โรคหัวใจ, โรคไต อื่นๆ เมื่อประกอบกับโรคโลหิตจาง ก็จะทำให้มีโอกาสติดเชื้อในกระแสเลือดมากยิ่งขึ้น
- เจาะเลือด (สามารถตรวจทราบได้ทันที)
- ผู้ที่มีคนในครอบครัวป่วยเป็นโรคธาลัสซิเมียร์
นายแพทย์สมศักดิ์ ชี้แจงว่า “ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ มีเพียงการรักษาตามอาการเท่านั้น อาทิ หากโลหิตจางก็ต้องให้เลือด”
- ทานอาหารให้ครบ 5 หมู่
- ทานอาหารในกลุ่มของธาตุเหล็ก (ตับ, เลือด, เนื้อสัตว์, อื่นๆ)
- หลีกเลี่ยงการรับประทานยายชุด, ยาแก้ปวดเมื่อย, ยาหม้อ หรือยาลูกกลอนต่างๆ
- ไม่ทานอาหาร หรือเครื่องดื่มที่มีคาเฟอีน (ชา, กาแฟ, อื่นๆ)
- ไม่ดื่มเหล้า และไม่สูบบุหรี่
- ออกกำลังกาย
"สามารถทำได้ โดยการปรึกษาแพทย์ ที่เรียกว่า การให้คำปรึกษาคู่สมรส" นายแพทย์สมศักดิ์ กล่าว