วิเคราะห์ลึก “โลกคู่ขนาน” คนที่เหมือนคุณ ชีวิตเหมือนคุณ ในอีกสถานที่หนึ่ง เรื่องนี้มีจริงไหม?
logo TERO HOT SCOOP

วิเคราะห์ลึก “โลกคู่ขนาน” คนที่เหมือนคุณ ชีวิตเหมือนคุณ ในอีกสถานที่หนึ่ง เรื่องนี้มีจริงไหม?

TERO HOT SCOOP : “จักรวาลคู่ขนาน” หรือ “โลกคู่ขนาน” อยู่ในความสนใจใคร่รู่ของคนทั้งโลกมาเนิ่นนาน เรื่องนี้มีจริงหรือไม่? มีใครอีกคนที่เหมือนคุณทุก จักรวาลคู่ขนาน,จักรวาลคู่ขนาน มีจริงไหม,โลกคู่ขนาน,มิติทับซ้อน โลกคู่ขนาน,เอกภพ,จักรวาล

249,693 ครั้ง
|
01 มิ.ย. 2563
จักรวาลคู่ขนาน” หรือ “โลกคู่ขนาน ” อยู่ในความสนใจใคร่รู้ของคนทั้งโลกมาเนิ่นนาน เรื่องนี้มีจริงหรือไม่? มีใครอีกคนที่เหมือนคุณทุกประการ ใช้ชีวิตแบบเดียวกับคุณ กินนอนนั่งคิดเหมือนกันกับคุณ เรื่องนี้มันเป็นไปได้หรือ?
 
ในช่วงหลายสัปดาห์ที่ผ่านมา นิตยสาร New Scientist ได้รายงานว่า นักวิจัยของนาซ่าพบปรากฏการณ์ที่อาจชี้ว่ามีโลกคู่ขนาน ซึ่งเวลาเดินย้อนกลับหลัง และต่อมาไม่กี่วันก็พบว่า ข่าวดังกล่าวไม่ใช่เรื่องจริง นาซ่าไม่ได้พบจักวาลคู่ขนาน และนิตยสาร New Scientist นำเสนอข่าวโดยการอ้างอิงจากงานวิจัยเท่านั้น 
 
กระนั้น ก็ไม่ได้หมายความว่า “จักรวาลคู่ขนาน” หรือ “โลกคู่ขนาน” ไม่ใช่เรื่องจริง  โดยล่าสุด ทีมข่าวช่อง 3 ออนไลน์ มีโอกาสพูดคุยกับ รศ.ดร.บุรินทร์ กำจัดภัย นักฟิสิกส์ทฤษฎีและจักรวาลวิทยาแห่งวิทยาลัยเพื่อการค้นคว้าระดับรากฐาน สถาบันสำนักเรียนท่าโพธิ์ฯ มหาวิทยาลัยนเรศวร ในเรื่อง จักรวาลคู่ขนาน หรือ โลกคู่ขนาน เรื่องนี้มีจริงหรือไม่ในมุมมองของนักวิทยาศาสตร์ไทย ติดตามได้ที่นี่!
 
TERO HOT SCOOP : วิเคราะห์ลึก “โลกคู่ขนาน” คนที่
 

ก่อนจะเข้าใจความเป็นไปแห่ง "จักรวาลคู่ขนาน"...

รศ.ดร.บุรินทร์ ได้อธิบายถึงเรื่องดังกล่าวว่า ที่ผ่านมา มีหลายทฤษฎีที่มีแนวคิดว่า มีภพอื่น ซึ่งเราต้องนิยามก่อนว่า เอกภพ คืออะไร โดยเอกภพคือระบบหนึ่งที่เป็นทุกแห่งหนที่มีอวกาศและเวลา มีความกว้าง ยาว สูง และเวลา รวมกันเป็นระบบ ซึ่ง ระบบ ก็คือสิ่งใดๆ ก็ตามที่มีคุณสมบัติ และทุกสิ่งทุกอย่างรอบตัวของเราจะมี คุณสมบัติ ดังนั้น เอกภพของเราจึงมีคุณสมบัติคือตัวเรขาคณิตของมันเอง และการกล่าวถึงเอกภพคู่ขนานหรือเอกภพอื่นว่ามีอยู่จริงหรือไม่ จึงเป็นการถามว่ามีอาณาบริเวณอื่นๆ อีกหรือไม่ที่ซึ่งอวกาศและเวลาแยกขาดจากเอกภพของเราอยู่
 
ทั้งนี้ ในทฤษฎีกลศาสตร์ควอนตัม มีความเชื่อกันว่า มีความสมมาตรในเลขควอนตัม ซึ่งในกลศาสตร์ควอนตัมแบบสัมพันธภาพจะมีตัวแปรอยู่ 3 สิ่ง คือ ประจุ แพริตี้ (Parity) และเวลา
 
TERO HOT SCOOP : วิเคราะห์ลึก “โลกคู่ขนาน” คนที่
 
เมื่อเปลี่ยนตัวแปรเหล่านี้ไปเมื่อใด ก็ยังสามารถรักษาสมการหลักของกลศาสตร์ควอนตัมไว้เช่นเดิมได้ ซึ่งเราจะถือได้ว่า กลศาสตร์ควอนตัมมีสมมาตรภายใต้การเปลี่ยนตัวแปรเหล่านี้  
 
ส่วนความสมมาตรก็คือ เมื่อเราเปลี่ยนตัวแปรใดตัวแปรหนึ่ง แต่สิ่งนั้นๆ ยังคงเดิมอยู่ เสมือนเรามองตัวเองในกระจก หรือย้ายตัวเองไปยังตำแหน่งด้านตรงข้าม แต่ยังเห็นรูปตัวเองเหมือนเดิม สมการหลักในกลศาสตร์ควอนตัมก็เช่นกันที่จะคงรูปเดิมได้เมื่อเปลี่ยนตัวแปรไป  
 
ขณะเดียวกัน กลศาสตร์ควอนตัมยังทำนายการมีอยู่ของปฏิสสาร หรือที่ซึ่งตัวแปรทั้งสามมีค่าตรงข้ามและเปลี่ยนแปลงไปในทางตรงข้าม  
 
TERO HOT SCOOP : วิเคราะห์ลึก “โลกคู่ขนาน” คนที่
 
 

ฉันอีกคน ณ สถานที่หนึ่งอันแสนไกล...

จากความเชื่อที่ว่า ทุกอย่างต้องมีปฏิสสารของมัน และเขาก็มองว่า เอกภพมีโอกาสที่จะมีปฏิเอกภพ ซึ่งเกิดขึ้นมาพร้อมๆ กับการกำเนิดจักรวาลได้ ดังนั้น ก็อาจมีคุณอีกคนหนึ่ง รูปร่างหน้าตาเหมือนคุณทุกอย่าง มีเลือดมีเนื้อเหมือนกันทุกประการ แต่มีประจุและแพริตี้ตรงข้ามกัน เวลาเดินตรงข้ามกัน ส่วนเหตุที่สิ่งเหล่านี้ต้องตรงข้ามกันนั้น เพราะว่าถ้าปฏิสสารที่เหมือนกันมาเจอกัน มันจะทำลายล้างกันเอง 
 
เมื่อทีมข่าวถาม รศ.ดร.บุรินทร์ ว่า หากมีนาย . อีกคนในโลกคู่ขนาน นาย . จะใช้ชีวิตเหมือนกันกับ นาย . บนโลกใบนี้หรือไม่?  รศ.ดร.บุรินทร์ ให้คำตอบว่า ทุกอย่างจะเหมือนกระจกเลย ถ้านาย . บนโลกดื่มกาแฟอยู่ นาย . บนโลกคู่ขนาน ที่หน้าตาเหมือนกันก็จะดื่มกาแฟอยู่ 
 
แต่ทั้งนี้ทั้งนั้น เรื่องนี้ก็เป็นเพียงทฤษฎีหนึ่งเท่านั้น ซึ่งทฤษฎีที่เกี่ยวข้องยังไม่มีข้อสรุปยืนยันได้ และคงเป็นเรื่องยากที่จะศึกษาจนเสร็จสิ้น เพราะจักรวาลกว้างใหญ่เป็นอนันต์ และความรู้ก็มีเป็นอนันต์ 
 
TERO HOT SCOOP : วิเคราะห์ลึก “โลกคู่ขนาน” คนที่
 
เวลานี้ ทฤษฎีโลกคู่ขนาน ยังเป็นเพียงแค่ไอเดียของทฤษฎีควอนตัมเท่านั้น ซึ่งมันเป็นไอเดียที่เกิดมานานมากแล้ว และผมเชื่อว่าทฤษฎีนี้มันยังต้องถูกปรับปรุงอีกมาก
 
 
ผมไม่เชื่อในกระแสข่าวที่ว่า นาซ่าพบหลักฐานการมีอยู่ของเอกภพคู่ขนานจากการทดลองบอลลูนที่ขั้วโลกใต้ เพราะถ้ามีอยู่จริงการตรวจจับควรเกิดขึ้นที่ระดับพลังงานหรืออุณหภูมิที่สูงมากๆ"  
 
 
"แม้จะจริงอยู่ที่ว่าผลการตรวจจับอนุภาคนิวทริโนที่บอลลูนที่ขั้วโลกใต้จะยังไม่มีคำอธิบายที่ชัดเจน แต่การทดลองอื่นๆ ภาคพื้นดินที่ขั้วโลกใต้ก็ไม่สามารถตรวจจับอนุภาคนิวทริโนนี้ได้ จึงแย้งกัน และคำอธิบายที่ว่าอนุภาคนิวทริโนที่มีคุณสมบัติพิเศษที่ตรวจจับได้นี้ มีเลขควอนตัมบางตัวตรงข้ามกับที่เรารู้จักมาจากเอกภพคู่ขนาน ก็เป็นเพียงคำอธิบายหนึ่งในหลายๆ คำอธิบายที่เป็นไปได้เท่านั้น รศ.ดร.บุรินทร์ ทิ้งท้าย.

ข่าวที่เกี่ยวข้อง