สถานการณ์การแพร่ระบาดเชื้อไวรัสโควิด-19 ส่งผลกระทบต่อประชาชนถ้วนหน้า ไม่เว้นแม้แต่มนุษย์เงินเดือนหาเช้ากินค่ำ บ้างต้องถูกพักงาน หักเงินเดือน หรือแม้กระทั่งถูกให้ออกจากงาน ดังนั้น หม่อมราชวงศ์จัตุมงคล โสณกุล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงแรงงาน ได้ออกมาตรการช่วยผู้ประกันตน แรงงานผู้ได้รับผลกระทบดังนี้
1. ลดอัตราเงินสมทบ นายจ้าง เหลือร้อยละ 4 ผู้ประกันตนมาตรา 33 เหลือร้อยละ 1 และผู้ประกันตนมาตรา 39 เหลือ 86 บาทต่อเดือน เป็นระยะเวลา 3 เดือน (มีนาคม – พฤษภาคม 2563)
2. ขยายระยะเวลานำส่งเงินสมทบ ของนายจ้าง และ ผู้ประกันตนมาตรา 33, 39
สำหรับงวดเดือน มีนาคม – พฤษภาคม ออกไปอีก 3 เดือน
ค่าจ้าง เดือน มีนาคม 2563 ให้นำส่งภายใน 15 กรกฎาคม 2563
ค่าจ้าง เดือน เมษายน 2563 ให้นำส่งภายใน 15 สิงหาคม 2563
ค่าจ้าง เดือน พฤษภาคม 2563 ให้นำส่งภายใน 15 กันยายน 2563
3. เพิ่มสิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเนื่องจากเหตุสุดวิสัย กรณีผู้ประกันตนไม่ได้ทำงาน หรือนายจ้างไม่ให้ทำงานกักตัว 14 วัน เนื่องจากสัมผัสหรือใกล้ชิดผู้ติดเชื้อโควิด-19 และกรณีหน่วยงานภาครัฐมีคำสั่งให้นายจ้างหยุดประกอบกิจการเพื่อป้องกันการแพร่ระบาดของโรคติดต่ออันตราย ให้ได้รับเงินว่างงานร้อยละ 62 ของค่าจ้างรายวัน ไม่เกิน 90 วัน
4. เพิ่มเงินทดแทนการขาดรายได้กรณีว่างงาน ให้ผู้ประกันตนที่ลาออก ให้รับเงินกรณีว่างงานร้อยละ 45 ของค่าจ้างไม่เกิน 90 วัน และผู้ประกันตนที่ถูกเลิกจ้างรับเงินกรณีว่างงานร้อยละ 70 ของค่าจ้าง ไม่เกิน 200 วัน ทั้งสองกรณีนั้น (บังคับใช้ 2 ปี)
สำหรับขั้นตอนการลงทะเบียนขอรับประโยชน์ทดแทน กรณีว่างงานและชราภาพ (*** สิทธิประโยชน์กรณีว่างงานเฉพาะผู้ประกันตนมาตรา 33 เท่านั้น ***) โดยจะแบ่งเป็น 3 กรณีดังนี้
1. กรณีว่างงาน (สำหรับผู้ประกันตน)
*หากท่านใส่ อีเมล ในช่องตอบกลับ ทางสำนักงานประกันสังคมจะส่งอีเมลยืนยันการได้รับคำร้องของท่านให้ในภายหลัง
** ในกรณีที่ท่านหยุดงานเนื่องจาก หน่วยงานภาครัฐ/นายจ้างสั่งปิดกิจการชั่วคราว หรือท่านหยุดเนื่องจากต้องกักตัวอันเกิดจากโรคระบาด ทางสำนักงานจะต้องรอเอกสารยืนยันจากนายจ้างเพื่อยืนยันความถูกต้องด้วย จึงอาจจะส่งผลให้การส่งเงินให้ผู้ประกันตน ล่าช้า ได้
2. กรณีชราภาพ (สำหรับผู้ประกันตน)
3. กรณีนายจ้างรับรองการหยุดงานของลูกจ้าง อันเนื่องจากเหตุสุดวิสัย (สำหรับนายจ้าง)