งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ-ธรรมศาสตร์ เป็นงานการแข่งขันที่มาอย่างยาวนาน โดยถือกำเนิดครั้งแรกในปี พ.ศ. 2477 จากความคิดของนิสิตและนักศึกษากลุ่มหนึ่งที่ ต้องการสร้างสรรค์กิจกรรม เพื่อให้นักศึกษาทั้งสองมหาวิทยาลัย มีความสามัคคี รักใคร่กลมเกลียว ตลอดจนส่งเสริมความร่วมมือในการบำเพ็ญประโยชน์แก่ประเทศชาติ
ในทกุๆ ปี งานบอลประเพณีนี้ต่างถูกพูดถึงเป็นอย่างมาก ไม่ว่าจะเป็นการแข่งขันฟุตบอล กา รวมตัวกันของบรรดาศิษย์เก่าที่มีชื่อเสียง การเดินขบวนพาเหรดที่เป็นการหยิบยกเอาปัญหา ต่างๆ ที่เกิดขึ้นในสังคมสะท้อนออกมาผ่านการล้อเลียน รวมไปถึงการแปรอักษรที่เรียกได้ว่า เป็นสิ่งที่ทำให้สื่อหลายสำนักจับตามองไม่แพ้ขบวนล้อการเมืองของเลยทีเดียว และในปีนี้เรียกได้ว่ากระแสก็ยังแรงไม่ตก
งานแข่งขันฟุตบอลประเพณีจฬุาฯ- ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 74 ถูกจัดขึ้นภายใต้แนวคิด "Make a CHANGE เปลี่ยน ปรับ ขยับสังคม" เพื่อปลุกกระแสสังคมให้ตระหนักถึงปัญหาที่เกิดขึ้นในปัจจุบัน ซึ่งบรรยากาศภายในงานเต็มไปด้วยความคึกคัก มีทั้งขบวนพาเหรด การเชียร์ การแปรอักษร และกิจกรรมเพื่อสังคมอื่น ๆ ที่ร่วมสร้างสีสันภายในงาน ซึ่งทั้งสองสถาบันได้จัดขบวนพาเหรดเพื่อให้สอดล้องกับแนวคิดหลักของงาน
โดยจุฬาฯ มีขบวนพาเหรด 3 ขบวนได้แก่ ขบวนธง ขบวนสะท้อนสังคม และขบวนสื่อแนวคิดหลัก โดย "ขบวนธง" ในปีนี้มีการเปลี่ยนและปรับให้ทันสมัย เพื่อเป็นจุดเริ่มต้นในการเปลี่ยนแปลง ในยุคสมัยที่คุณค่าในสังคมไม่ได้มีเพียงรูปแบบเดียว ตามาด้วย “ขบวนสะท้อนสังคม" ที่เรียงร้อยเนื้อหาที่ต้องการจะส่งสารแก่สังคม เพื่อให้สังคมได้ เล็งเห็นและตระหนักถึงปัญหาต่าง ๆ อันได้แก่ปัญหาสิ่งแวดล้อม ปัญหาการใช้โซเชียลมีเดีย ปัญหาความคิดแบบ binay oppostin เป็นต้น จากนั้น "ขบวนสื่อแนวคิดหลัก" จะนำเสนอแนว ทางการแก้ไขปัญหาผ่าน 3 ขั้นตอนคือ 1) ทุกคนตระหนักถึงสิทธิและความเท่าเทียมกัน 2) ทุกคนคิดและถกเถียงถึงปัญหาที่มีอย่รู่วมกัน และ 3) ตั้งเป้าสังคมที่ทุกคนวาดฝันร่วมกัน
ขณะที่ทางธรรมศาสตร์นำเสนอ "ขบวนสื่อแนวคิดหลัก" ที่หยิบยกเรื่อง Social Bullying ขึ้นมาในปีนี้ โดยมีจุดมุ่งหมายปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้โซเชียลมีเดียในสังคม ให้เกิดความสร้างสรรค์ และไม่ทำให้ใครตกเป็นจำเลยสังคม และ "ขบวนล้อการเมือง" ที่เป็นไฮไลต์ที่น่าจับตามองในทุกปี ซึ่งในปีนี้ยังคงสื่อถึงประเด็นทางสังคมที่เกิดขึ้นในช่วงปีที่ผ่านมา เพื่อสะท้อนให้เห็นสภาพของสังคมและความเคลื่อนไหวในมิติต่าง ๆ อย่างหลากหลาย และสอดคล้องกับแนวคิดของการจัดงานในปีนี้
โดยภายในขบวนของทั้งสองสถาบันได้เลือกนำเอาวัสดุที่เป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อม ที่สามารถนำไปใช้ประโยชน์ในครั้งต่อไปได้
อีกทั้งภายในบริเวณงานยังมีการจัดตั้งจุดคัดแยกขยะ พร้อมมีจิตอาสาผู้มีความรู้คอยให้คำแนะนำในการแยกขยะก่อนทิ้งลงถังเพื่อที่สามารถนำเอาขยะเหล่านั้นไปปรับประยุกต์ Recycle หรือ Upcycle ได้ในครั้งต่อๆ ไป
ดร. คงกระพัน อินทรแจ้ง ประธานเจ้าหน้าที่บริหาร บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC กล่าวว่า GC ได้เข้าร่วมโครงการ Carbon Neutral Event ขององค์การบริหารจัดการก๊าซเรือนกระจก (องค์การมหาชน) หรือ อบก. ซึ่งเป็นการทำกิจกรรมชดเชยคาร์บอน จากการจัดงานฟุตบอลประเพณี จฬุาฯ - ธรรมศาสตร์ ครั้งที่ 74 ให้การปล่อยคาร์บอนเป็นศูนย์ โดยถือเป็นการแสดงความรับผิดชอบต่อการปล่อยก๊าซเรือนกระจก จากการจัดงานด้วยการ "ลด เปลี่ยน แยก"
ซึ่ง 'ลด' ในที่นี้คือ การลดการใช้ทรัพยากร 'เปลี่ยน' ในที่นี้หมายถึงการเปลี่ยนจากการใช้พลาสติก มาใช้วัสดุที่ย่อยสลายง่าย อาทิ จาน ถ้วย ช้อน ซ่อม จะถูกเปลี่ยนมาเป็นไบโอพลาสติกทั้งหมด และ 'แยก' เนื่องด้วยขยะมีหลายแบบบางอย่างย่อยสลายได้ บางอย่างนำไปผลติเป็นเสื้อผ้าอื่นๆ ได้
ซึ่งแสตนเชียร์งานฟุตบอลประเพณีจุฬาฯ - ธรรมศาสตร์ครั้งนี้ มีกล่องอาหารกลางวันที่ทำจากกระดาษเคลือบพลาสติกชีวภาพ แทนที่กล่องพลาสติกแบบเดิมๆ พร้อมการันตีด้วยฉลาก GC Compostable จึงมั่นใจได้ว่ากล่องนี้จะสลายตัวได้ทางชีวภาพในสภาวะที่เหมาะสม อีกทั้งยังมีพัดซึ่งมีเนื้อหาเรื่องการแยกขยะ พัดไปก็อ่านไปได้ รวมถึงถุงผ้าบรรจุอุปกรณ์เชียร์และเสื้อของน้องๆ สตาฟที่ผลิตจากขยะพลาสติก ซึ่งผ่านกระบวนการ Upcycle ให้นำกลบัมาใช้ให้เกิดประโยชน์อีกครั้ง
นอกจากนี้ทาง GC ได้เข้าไปช่วยในการสนับสนุนวัสดุทดแทน เช่น กระดาษ หรือผ้าที่ผ่านกระบวนการ Recycle หรือ Upcycle ซึ่งถูกนำมาใช้ประโยชน์ใหม่ได้อย่างคุ้มค่าในขบวนพาเหรด และมีผู้เชี่ยวชาญด้านวัสดุศาสตร์และการออกแบบคอยให้คำปรึกษาในทุกๆ ขั้นตอน รวมไปถึงการสนับสนุนถังแยกขยะพลาสติก ประเภท PET และ PE ซึ่งเป็นชนิดที่ง่ายต่อการนำมารีไซเคิล ซึ่งบนถังจะมีป้ายคำอธิบายการแยกขยะ และ GC จะรวบรวมขยะพลาสติกในงานเพื่อนำไปผลิตสินค้า Upcycle เช่น รองเท้ากีฬา สำหรับนำไปบริจาคให้กับให้กับสถานศึกษาใกล้เคียง เพื่อส่งเสริมให้เกิดการรับรู้คุณค่าของขยะพลาสติกต่อไป
ดร. คงกระพัน กล่าวอีกว่า ความคาดหวังที่สำคัญที่สุดของทาง GC นอกเหนือจากการลดขยะภายในงานนี้แล้ว คือการสร้างความตระหนักรู้เพราะในงานนี้มีผู้นำทางความคิดเข้ามาร่วมงานอย่างมากมาย อาทิ อาจารย์ - นิสิต - นักศึกษา - เยาวชนคนรุ่นใหม่กว่าหมื่นคน ซึ่งนับว่าถ้าได้ในหมื่นคนนี้ หรือสักครึ่งที่มีความเข้าใจกันในเรื่องของ Circular Living การบริหารจัดการพลาสติก การบริหารจัดการขยะแล้วสามารถไปกระจายความรู้ต่อยังที่อื่นๆ ซึ่ง GC ก็คาดหวังว่าจะเป็นส่วนเล็กๆ ที่คอยจุดประกาย แล้วทำให้ขยายวงกว้างขึ้นเรื่อยๆ
และสำหรับการแข่งขันฟุตบอลในครั้งนี้ ทั้งสองสถาบันต่างเดินหน้าเกมรุกชนิดที่ไม่มีใครยอมใคร โดยมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ได้ประตูออกนำไปก่อน 1-0 อย่างรวดเร็ว ก่อนที่จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย จะสามามรถตีเสมอได้ และไม่หยุดแค่นั้นเพราะเมื่อจบเกม จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สามารถเอาชนะ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไป 2 : 1 คว้าแชมป์ไปครองได้สำเร็จอีกปี