Bangkok Design Week 2020 กลับมาอีกครั้งสำหรับเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพ โดยในปีนี้จัดภายใต้ธีม 'Resilience: New potential for living ปรับตัว > อยู่รอด > เติบโต' ซึ่งเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2563 จัดขึ้นในพื้นที่แหล่งรวมนักสร้างสรรค์เช่น ย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย สามย่าน อารีย์-ประดิพัทธ์ และทองหล่อ-เอกมัย ผ่านการนำเสนอ 5 กิจกรรมหลัก และ 9 ไฮไลท์ที่ห้ามพลาด โดยมีแม่งานหลักคือ TCDC (ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ) ทั้งนี้ได้ความร่วมมือเป็นอย่างดีจากทางภาครัฐ ภาคเอกชน และภาคประชาชน ที่มาระเบิดไอเดียสร้างศักยภาพใหม่ๆ ให้กับกรุงเทพฯ อีกทั้งในปีนี้ ทางบริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด (มหาชน) หรือ GC ได้ร่วมเป็นส่วนหนึ่งในการเติมแรงบันดาลใจถึงการลดปริมาณขยะ ผ่านความคิดสร้างสรรค์และงานออกแบบในหลักการ ภายใต้แนวคิด Circular Living ผ่านพาวิลเลียน Everlasting Forest by GC
นายปฏิภาณ สุคนธมาน ผู้จัดการใหญ่ บริษัท พีทีที โกลบอล เคมิคอล จำกัด(มหาชน) หรือ GC กล่าวว่าในปีนี้นับเป็นปีที่ 3 แล้วที่ GC ได้เข้าร่วมจัดแสดงนิทรรศการในงาน Bangkok Design Week อย่างต่อเนื่อง เพื่อส่งต่อความรู้ความเข้าใจเกี่ยวกับการใช้ทรัพยากรอย่างมีประสิทธิภาพ เพื่อให้เกิดประโยชน์สูงสุดตามหลักเศรษฐกิจหมุนเวียน หรือ Circular Economy โดยในปีนี้ GC ได้จัดแสดงพาวิลเลียน Everlasting Forest by GC ภายใต้แนวคิด Circular Living เพื่อสร้างความเข้าใจ รวมถึงการมีส่วนร่วมในกระบวนการ Recycle และ Upcycle ตั้งแต่ต้นจนจบเพื่อให้เกิดการนำไปต่อยอดและสร้างเป็นธุรกิจใหม่ และ ทำให้เกิดเป็น ระบบนิเวศทางธุรกิจ (Business Ecosystem) ซึ่งจะผลักดันให้เกิดการอยู่ร่วมกันอย่างยั่งยืน ระหว่าง"คน" และ "พลาสติก"
ทั้งนี้ พาวิลเลียน Everlasting Forest by GC จะสร้างมุมมองใหม่ ที่แสดงให้ผู้บริโภค นักออกแบบ และแบรนด์ ต่างๆ เกิดความเข้าใจและตระหนักรู้ว่า หากเลือกใช้งานพลาสติกอย่างถูกต้อง รวมถึงบริหารจัดการขยะอย่างถูกวิธีแล้ว พลาสติกก็ถือเป็นวัสดุที่สามารถอยู่ร่วมกับมนุษย์และสิ่งแวดล้อมได้อย่างยั่งยืน โดยนำเสนอผ่านการใช้วัสดุทางเลือกต่างๆ เช่น พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) และพลาสติกชนิดอื่นๆ ที่มีความแข็งแรงทนทานเป็นทางเลือกที่ดีขึ้น ทั้งในด้านคุณสมบัติ สิ่งแวดล้อมและราคา รวมไปถึงการจัดการขยะอย่างถูกวิธี
ภายในพาวิลเลียนแบ่งออกเป็น 3 โซน ภายใต้ Concept "BCG" หรือ Bio- Circular – Green
โซน 1 : Green Economy นำเสนอ Fiber Rebar หรือ Grass Fiber Reinforced Polymer (GFRP) ใช้เป็นวัสดุก่อสร้างทดแทนเหล็ก มีน้ำหนักเบา แต่มีความแข็งแรงทนทานมากกว่าเหล็กถึง 3 เท่า อีกทั้งยังไม่เป็นสนิมและไม่เกิดการกัดกร่อนทำให้มีอายุการใช้งานที่ยืนยาว และด้วยน้ำหนักที่เบากว่าทำให้สามารถลดคาร์บอนฟุตพริ้นท์ หรือ ปริมาณก๊าซเรือนกระจกที่ปล่อยออกมา โดยลดการปลดปล่อยคาร์บอนไดออกไซด์ลง 43% ในขบวนการผลิต เมื่อเทียบกับเหล็ก และใช้พลังงานในการผลิตน้อยกว่าเหล็ก 50%
โซน 2 : Circular Economy จากผลิตภัณฑ์สู่ผลิตภัณฑ์ด้วยการอัพไซเคิลเพื่อเปลี่ยนขยะพลาสติกหรือพลาสติกเหลือใช้กลายเป็นผลิตภัณฑ์ใหม่ที่มีมูลค่าสูงขึ้น
โซน 3: Bio Economy นำเสนอการใช้พลาสติกชีวภาพ หรือไบโอพลาสติกที่สามารถสลายตัวได้ทางชีวภาพและเป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม
นอกจากพาวิลเลี่ยนแล้ว ในปีนี้ GC ยังได้นำเสนอ สถานี Smart Recycling Center ซึ่งเป็นความร่วมมือกับบริษัท Farm D จัดพื้นที่ให้ความรู้ในการคัดแยกและจัดการขยะที่เกิดขึ้นในงาน ต่อยอดความคิดการนำขยะไปสร้างมูลค่าเพิ่มผ่านกระบวนการอัพไซคลิง (Upcycling) ภายใน Customer Solution Center Shop by GC (CSC Shop by GC) ที่นำผลิตภัณฑ์ Upcycling มาจัดแสดงเพื่อสร้างการตระหนักรู้และให้เห็นว่าขยะจะไม่ใช่ขยะอีกต่อไป โดยผู้เยี่ยมชมนิทรรศการยังสามารถเลือกซื้อและเป็นเจ้าของผลิตภัณฑ์ Upcycling และผลิตภัณฑ์ทางเลือกในงานได้อีกด้วย
"ทั้งนี้ GC หวังเป็นอย่างยิ่งว่า ผู้เข้าชมนิทรรศการจะเกิดความตระหนักรู้และความเข้าใจดึงการเลือกใช้งานพลาสติกแต่ละประเภท ซึ่งมีคุณสมบัติที่หลากหลายและมีคุณประโยชน์ รวมไปถึงการใช้วัสดุทางเลือก เช่น พลาสติกชีวภาพ (Bioplastic) อย่างเหมาะสม ตลอดจนวิธีการการจัดการขยะที่ถูกต้อง เพื่อร่วมกันช่วยลดปริมาณขยะบนโลกซึ่งเกิดขึ้นได้จริง หากทุกภาคส่วนร่วมมือกัน" นายปฏิภาณ สุคนธมาน กล่าว
นอกจากพาวิลเลียน Everlasting Forest by GC แล้วนั้น ยังมีอีก 8 ไฮไลท์ที่ห้ามพลาดเช่นกัน อาทิ
-หลุมหลบภัยทางอากาศ: Bangkok #Safezone Shelter
พื้นที่ปลอดภัยพิบัติเพื่อทดลองสร้าง #เซฟโซน สำหรับทุกคน โดยมีธรรมชาติเป็นพระเอก ไม่ว่าจะเป็นพืชสีเขียว ลม และ น้ำ ร่วมกับเทคโนโลยี การออกแบบและความคิดสร้างสรรค์
- Solar Ventures
โครงการนวัตกรรมเพื่อการพัฒนาองค์ความรู้และส่งเสริมการใช้พลังงานแสงอาทิตย์ มุ่งเน้นการเพิ่มขีดความสามารถในการใช้ประโยชน์จากพลังงานแสงอาทิตย์ ซึ่งเป็นพลังงานสะอาดที่ทุกคนเข้าถึงได้
- E!CUBE
พบกับเทคโนโลยีที่ล้ำหน้าและเป็นมิตรต่อสิ่งแวดล้อมยิ่งกว่าในการผลิตกระแสไฟฟ้า เพื่อสร้างความตระหนักต่อทั้งด้านพลังงานและสิ่งแวดล้อมให้กับผู้เข้าร่วม
- WHY DO WE NEED ANOTHER CHAIR
การแก้ปัญหาการตอบพฤติกรรมที่เปลี่ยนไป ความจำเป็น ความอยู่รอดของธุรกิจ การสร้างโอกาสใหม่ให้สังคม ชุมชน เพื่อเป็นตัวอย่างไปสู่การออกแบบผลิตภัณฑ์แขนงอื่นๆ พร้อมขับเคลื่อนแวดวงงานออกแบบ
- บางกอกซีแลนเดีย
ดีไซน์รูปแบบชีวิตในอนาคตปี 2050 ซึ่งเป็นปีที่โลกเราจะไม่มีขั้วโลกเหนือ ทําให้ระดับนํ้าทะเลสูงขึ้นและท่วมพื้นที่ส่วนใหญ่ของประเทศรวมทั้งกรุงเทพฯ จนเป็นโจทย์ว่าคนกรุงเทพฯ จะอยู่อย่างไรเมื่อไม่มีขั้วโลกเหนือ
- DIVERSCITY
เทศกาลศิลปะติดตั้งผนวกพื้นที่ชุมชน (Site-specific installation art) ประกอบด้วยผลงานศิลปะแสงและมัลติมีเดีย เล่าเรื่องและสะท้อนคุณค่าของความหลากหลายในพื้นที่เจริญกรุง - ตลาดน้อย โดยมีพื้นที่, ผู้คน, ความคิด, ทักษะ, ภูมิปัญญา, วัสดุในท้องถิ่น ฯลฯ เป็นวัตถุดิบตั้งต้นในการออกแบบ
- DESIGNPLANT - สะดวกซื้อ
ต้นแบบร้านดีไซน์เชิงทดลองของนักออกแบบไทย ที่จะผสมผสานการนำเสนอกึ่ง Exhibition และ Concept Store ที่พูดถึง LIMIT หรือข้อจำกัด ซึ่งเป็นสิ่งที่เราต้องเผชิญอยู่เสมอ ในสภาพแวดล้อมในเมืองใหญ่ สภาพเศรษฐกิจที่มีการแข่งขันสูงในปัจจุบัน รวมไปถึง Lifestyle ของผู้ใช้
และสุดท้าย Made in Charoenkrung
โปรเจ็คต์นี้เกิดขึ้นมาเพื่อต่อยอดสินทรัพย์อันมีคุณค่าของย่านเจริญกรุง พัฒนาศักยภาพธุรกิจดั้งเดิมในย่าน โดยใช้ความคิดสร้างสรรค์และการออกแบบเป็นเครื่องมือสำคัญ ผ่านการร่วมมือกันระหว่างรุ่นเก๋าและรุ่นใหม่
Bangkok Design Week 2020 ทำหน้าที่เสมือนแหล่งรวมนักสร้างสรรค์และงานออกแบบที่ระเบิดความคิด ผ่านงานแสดงศักยภาพและสะท้อนภาพลักษณ์ของประเทศไทย ในรูปแบบกิจกรรมต่างๆ ที่ถูกจัดวางอย่างน่าสนใจ ทำให้การสร้างสรรค์ถูกผสานกลมกลืนกับวิถีชีวิตชุมชน ผ่านย่านเจริญกรุง-ตลาดน้อย สามย่าน อารีย์-ประดิพัทธ์ และทองหล่อ-เอกมัย ภายใต้ธีม 'Resilience: New potential for living ปรับตัว > อยู่รอด > เติบโต'
เจริญกรุง-ตลาดน้อย
ต้นแบบ 'ย่านสร้างสรรค์' ลำดับแรกของกรุงเทพฯ คือศูนย์กลางการผสมผสานทุกรูปแบบ ไม่ว่าจะเป็นอัตลักษณ์และต้นทุนทางวัฒนธรรมอันเก่าแก่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ผู้คนหลากเชื้อชาติ ความเชื่อ และความต้องการที่หลากหลาย การปรับตัวของพื้นที่ที่ค่อยเป็นค่อยไป และความร่วมมือของทั้งหน่วยงานภาครัฐและเอกชนที่พยายามขับดันให้เจริญกรุง ย่านอันเปี่ยมเสน่ห์แห่งนี้ ก้าวขึ้นสู่การเป็นย่านสร้างสรรค์
ในย่านนี้เราจะได้พบกับผลงานการร่วมพัฒนาผู้ประกอบการดั้งเดิมในพื้นที่ อาทิ บ้านเย็บหมอนเฮงเส็ง ยาดมเอี๊ยะแซ กะหรี่ปั๊บคุณปุ๊ ร้านอาหารนิวเฮงกี่ และบ้านครุฑ ซึ่งจะมาพร้อมกับสินค้าและบริการใหม่ ๆ อันเกิดจากการนำต้นทุนเก่าแก่ของย่านมาปรับใช้เพื่อตอบรับกับความเปลี่ยนแปลงของสังคม และการเป็นตัวแทนของย่านสร้างสรรค์สำหรับกรุงเทพมหานคร BANGKOK CITY OF DESIGN เมืองสร้างสรรค์ด้านการออกแบบระดับโลก
สามย่าน
ย่านชาวจีนเก่าแก่ที่เป็นแหล่งรวมร้านอาหารและงานช่างเหล็กและยานยนต์อย่างสามย่านกำลังถูกพัฒนาให้รวมส่วนผสมของความเก่าและความคิดสร้างสรรค์เข้าด้วยกันบนถนนพระราม 4 จึงค่อย ๆ ปรากฏพื้นที่สำหรับการเรียนรู้และนำเสนอผลงานสร้างสรรค์ ตั้งแต่ TCDCCOMMONS ณ IDEO Q Chula-Samyan, อาคารสามย่านมิตรทาวน์และสตูดิโอเปิดใหม่ล่าสุด The Shophouse 1527 ที่รีโนเวตจากตึกแถวไร้ผู้คน ให้เป็นพื้นที่ทดลองสำหรับโครงการพัฒนาพื้นที่ชุมชนเปิดโอกาสให้นักออกแบบหมุนเวียนกันมานำเสนอไอเดียและทำงานร่วมกันเพื่อนำไปสู่การใช้งานจริงในอนาคต
อารีย์-ประดิพัทธ์
จะกลายเป็นพื้นที่จัดแสดงผลงานสำคัญของเทศกาลงานออกแบบกรุงเทพฯ 2563 ทุกปัญหากำลังถูกบอกเล่าและแก้ไขด้วยกระบวนการคิดเชิงออกแบบ โดยกลุ่มนักสร้างสรรค์ที่รวมตัวกันมาสร้างผลงานเพื่อสร้างแรงบันดาลใจใหม่ ๆ และความเคลื่อนไหวที่จะคลี่คลายความเก่าและใหม่ในบรรยากาศย่านนี้ให้กับผู้มาเยือน
ทองหล่อ – เอกมัย
ทองหล่อ-เอกมัยไม่ได้มีเพียงสีสันยามวิกาล แต่จะผ่านกระบวนการคิดเชิงออกแบบที่พร้อมปลดล็อกจุดติดขัด ให้ทองหล่อ-เอกมัยยังคงฐานะย่านที่เต็มไปด้วยโอกาสใหม่ ๆ อันไม่รู้จบของกรุงเทพฯ และสะท้อนศักยภาพของการเป็นย่านสร้างสรรค์ที่พร้อมจะเติบโตเป็นแหล่งขับเคลื่อนเศรษฐกิจสร้างสรรค์ของประเทศไทยต่อไป
ทั้งนี้พาวิลเลียน Everlasting Forest by GC จัดแสดงในระหว่งวันที่ 1-9 กุมภาพันธ์ 256 ณ ศูนย์สร้างสรรค์งานออกแบบ (TCDC กรุงเทพฯ) อาคารไปรษณีย์กลาง บางรัก โดยเปิดให้ประชาชนเข้าชมได้โดยไม่มีค่าใช้จ่าย