‘ศรีสุวรรณ’ เตรียมร้อง กกต. ส่งศาล รธน.ชี้ขาดสถานะ ส.ส. ‘ไพบูลย์’
logo ข่าวอัพเดท

‘ศรีสุวรรณ’ เตรียมร้อง กกต. ส่งศาล รธน.ชี้ขาดสถานะ ส.ส. ‘ไพบูลย์’

ข่าวอัพเดท : ศรีสุวรรณ เตรียมร้อง กกต. ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานะ ‘ไพบูลย์’ ขาดจากความเป็น ส.ส. หรือไม่ หลังยื่นเลิกกิจการพรรคประชาชนปฏิรูป ศรีสุวรรณ,ศรีสุวรรณ จรรยา,กกต,ไพบูลย์ นิติตะวัน,ไพบูลย์,ส.ส.,สส

2,394 ครั้ง
|
02 ก.ย. 2562
ศรีสุวรรณ เตรียมร้อง กกต. ส่งศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยสถานะ ‘ไพบูลย์’ ขาดจากความเป็น ส.ส. หรือไม่ หลังยื่นเลิกกิจการพรรคประชาชนปฏิรูป 
 
วันที่ 2 ก.ย. 62 นายศรีสุวรรณ จรรยา เลขาธิการสมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย เปิดเผยว่าตามที่ นายไพบูลย์ นิติตะวัน หัวหน้าพรรคประชาชนปฏิรูป (ปชช.) ได้ยื่นเรื่องขอเลิกกิจการพรรค และ กกต.มีมติเป็นเอกฉันท์ให้สิ้นสภาพพรรคการเมือง เมื่อวันที่ 26 สิงหาคมที่ผ่านมา 
 
ซึ่งการเลิกพรรคประชาชนปฏิรูปแม้จะเป็นไปตามข้อบังคับของพรรค ข้อ 122 แล้วประกอบ พรป.พรรคการเมือง 2560 ม.90(1) และ ม.92 (7) แต่เนื่องจากสถานะของนายไพบูลย์ นิติตะวัน ซึ่งเป็นสมาชิกสภาผู้แทนราษฎรแบบบัญชีรายชื่อหนึ่งเดียวของพรรคประชาชนปฏิรูป ซึ่งได้คะแนนเสียงจากการเลือกตั้งเมื่อวันที่ 24 มี.ค. 562 ที่ผ่านมาเพียงประมาณ 4.5 หมื่นคะแนน ซึ่งถือได้ว่าอยู่ต่ำกว่าเกณฑ์เฉลี่ยพึงมี/พึงได้รับเลือกตั้งของพรรคการเมืองตาม ม. 91 และ ม.93 ของรัฐธรรมนูญ 2560 ประกอบ ม.128 ของ พรป.เลือกตั้ง สส. 2561 ที่มีเกณฑ์เฉลี่ยประมาณ 7.1 หมื่นคะแนน 
 
ซึ่งหากนายไพบูลย์จะไปสมัครอยู่พรรคการเมืองอื่นพร้อมกับตำแหน่ง ส.ส.ด้วยนั้น อาจไม่ชอบด้วยกฎหมาย เพราะพรรคต่างๆ ก็ล้วนมีรายชื่อปาร์ตี้ลิสต์ของพรรคนั้นๆ อยู่แล้ว และคะแนนเลือกตั้งที่ผ่านมาเป็นคะแนนรวมของพรรคไม่ใช่ของนายไพบูลย์ที่เป็นปัจเจกจึงไม่อาจโอนไปที่ไหนๆ ได้ ซึ่งต้องสิ้นสุดไปตามการเลิกพรรคการเมือง และต้องทำให้การคิดคะแนนเฉลี่ยของพรรคการเมืองทั้งหมดเปลี่ยนไปด้วย หรืออาจเปลี่ยนไปตามกรอบระยะเวลา 1 ปีนับแต่วันเลือกตั้งตามรัฐธรรมนูญ 2560 ม.94 ประกอบ ม.131 ของ พรป.เลือกตั้ง 2561 ซึ่งสมาคมฯ สงสัยว่าสมาชิกสภาพของนายไพบูลย์น่าจะสิ้นสุดลงตามมาตรา 101(3) และ (10) แล้วหรือไม่
 
สมาคมองค์การพิทักษ์รัฐธรรมนูญไทย จึงจะเดินทางยื่นคำร้องต่อคณะกรรมการการเลือกตั้ง ในวันพุธที่ 4 ก.ย. 62 เวลา 10.00 น. ที่สำนักงาน กกต. ให้ส่งประเด็นปัญหาดังกล่าวไปให้ศาลรัฐธรรมนูญหรือศาลฎีกาวินิจฉัยสถานะความเป็น ส.ส.ในระบบปาร์ตี้ลิสต์เช่นนี้สิ้นสุดลงแล้วหรือไม่ อย่างไร เพื่อมิให้เรื่องดังกล่าวกลายเป็นโมเดลการยุบเลิกพรรคการเมืองอื่นๆ ในอนาคตที่อาจลอกเลียนแบบกันได้ อันเป็นการขัดต่อเจตนารมณ์ของผู้มีสิทธิเลือกตั้งที่ต้องการลงคะแนนให้กับพรรคการเมืองไปทำงานตามนโยบายที่หาเสียง ไม่ใช่เลือกไปให้ไปยุบเลิกพรรคเพื่อผลประโยชน์เฉพาะหน้าโดยไม่เห็นหัวประชาชน
 
 
 
 

 

ข่าวที่เกี่ยวข้อง